admin
Administrator
มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)
รศ.ดร.ธีรพร ชินชัย
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มศว
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ตรวจพบบ่อยเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีอัตราการตรวจพบโรคมะเร็งชนิดนี้ในผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 9,999 รายใน 1 ปี (1) มะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Human Papillomavirus (HPV) โดยสามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสนี้ได้ใน 99.7% ของผู้ป่วยมะเร็ง ไวรัสชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทนทานต่อความร้อนและความแห้งได้ดี ติดต่อโดยการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุ เชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูกทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์และเนื้อเยื่อจนกลายเป็นมะเร็งขึ้นได้ โดยระยะเวลาในการเกิดเป็นมะเร็งนั้นจะใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี
ไวรัส HPV มีอยู่มากกว่า 100 สายพันธุ์ (genotype) แต่สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มีประมาณ 40 สายพันธุ์ และในจำนวนนี้มีประมาณ 15 สายพันธุ์ที่คาดว่าจะก่อให้เกิดมะเร็งขึ้นได้ โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งก็ยังสามารถแบ่งได้อีก 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการก่อมะเร็ง (high-risk) และกลุ่มความเสี่ยงต่ำในการก่อมะเร็ง (low-risk) ซึ่งกลุ่มนี้จะทำให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ
การลดความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกทำได้โดยวิธีการตรวจกรองที่เรียกว่าแพปสเมียร์ (Pap smear) เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง โดยผู้หญิงทุกคนควรเริ่มทำการตรวจเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป วิธีการตรวจนี้สามารถลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันมะเร็งปากมดลูกขึ้น โดยวัคซีนนั้นมี 2 ชนิด ชนิดแรกเป็น bivalent สร้างจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวจัดเป็นสายพันธุ์ความเสี่ยงสูงในการก่อมะเร็ง ชนิดที่ 2 เป็น tetravalent สร้างจากเชื้อ HPV 4 สายพันธุ์ คือ 6, 11, 16 และ 18 โดยสายพันธุ์ 6 และ 11 ใช้ในการป้องกันหูดหงอนไก่
จากผลการศึกษาเกี่ยวกับสายพันธุ์ของเชื้อ HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย (2) พบว่าหญิงไทยที่เป็นมะเร็งปากมดลูก 155 คนติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ต่างๆเรียงจากมากไปน้อย 5 อันดับแรกคือ สายพันธุ์ 16 (51%) , สายพันธุ์ 18 (20%), สายพันธุ์ 52 (10.3%), สายพันธุ์ 58 (5.8%) และสายพันธุ์ 33 (4.5%) ถ้าพิจารณาการที่จะนำวัคซีนที่มีอยู่มาใช้ป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประชากรไทยอาจจะประสบผลสำเร็จเพียง 70% เท่านั้น และความจริงอีกข้อที่ควรนำมาพิจารณาก็คือสายพันธุ์ของ HPV แต่ละแหล่งทั่วโลกก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นในอนาคตถ้าจะนำวัคซีนมาใช้ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกควรจะมีการเพิ่มสายพันธุ์ของ HPV ที่เป็นสาเหตุของการก่อมะเร็งปากมดลูกในแต่ละพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมการติดเชื้อ HPV ในประชากรทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. WHO.2010. WHO/ICO Information Centre on HPV and Cervical Cancer (HPV Information Centre). Human Papillomavirus and Related Cancers in Thailand. Summary Report 2010.
2. Chinchai T, Chansaenroj J, Swangvaree S, Junyangdikul P, Poovorawan Y. Prevalence of Human Papillomavirus Genotypes in Cervical Cancer. Int J Gynecol Cancer 2012;22:1063-1068.
โพรไบโอติก : จุลินทรีย์เพื่อสุขภาพ
อาจารย์ ดร. มาลัย ทวีโชติภัทร์: ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มนุษย์รู้จักและคุ้นเคยกับการบริโภคจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในรูปของนมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรืออาหารหมักดองมาแล้วกว่าศตวรรษ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้เรียกว่าโพรไบโอติก (probiotics) ซึ่งเป็น จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้านและช่วยปรับสมดุลย์ของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่างกาย โพรไบโอติกหลายชนิดเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นในทางเดินอาหารของมนุษย์ ซึ่งการมีจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ดีในร่างกายอย่างสมดุลย์หรือมีปริมาณมากพอจะช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ โดยเบื้องต้นจะช่วยลดการเน่าเสีย ลดสารที่เป็นพิษจากอาหาร และสารพิษที่เกิดจากจุลินทรีย์ก่อโรค หรือจุลินทรีย์ที่ไม่ดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้ผลิตออกมา
ในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่า จุลินทรีย์โพรไบโอติกสามารถป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อ หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย ช่วยลดความรุนแรงหรือลดระยะเวลาของการเป็นโรคได้ โดยอาศัยคุณสมบัติหรือกลไกต่างๆ อย่างจำเพาะ เช่น การสร้างสารต้านจุลินทรีย์ก่อโรค ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร การส่งสัญญานหรือการสร้างสารที่มีผลในการกระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีการปรับภูมิคุ้มกันให้เหมาะสมมากขึ้น โดยเฉพาะช่วยลดการอักเสบและลดอาการของโรคภูมิแพ้บางอย่าง นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ เป็นต้น คุณสมบัติของจุลินทรีย์โพรไบโอติกเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งอาจจะมีความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่าง การนำจุลินทรีย์มาใช้เป็นโพรไบโอติกอาจจะมีสายพันธุ์เดียวหรืออาจจะประกอบด้วยหลายสายพันธุ์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในหลายด้าน จุลินทรีย์โพรไบโอติกส่วนใหญ่จะเป็นแบคทีเรียกลุ่มแลคโตบาซิลลัส รองลงมาได้แก่ไบฟิโดแบคทีเรียม นอกจากนี้กยังมีสเตร็บโตคอคคัส เชื้อราชนิดแซคคาโรมัยซีส และยีสต์ชนิดแคนดิดา
โพรไบโอติกได้เข้ามามีบทบาทและได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และบางประเทศในเอเชีย ทั้งทางด้านการแพทย์ หรืออาหารเพื่อสุขภาพ โดยอยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ผสมในนมสำหรับทารก ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรืออาหารเสริมในรูปแคปซูล โดยมีจุลินทรีย์โพรไบโอติกจำนวนหนึ่งหรือหลายสายพันธุ์ นอกจากนี้จะพบอยู่ในรูปแบบซินไบโอติก (synbiotics) คือการนำมารวมกันระหว่างโพรไบโอติกกับพรีไบโอติก (prebiotics) เช่น โอลิโกแซคคาไรด์ อินนูลิน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ แต่จุลินทรีย์โพรไบโอติกสามารถย่อยสลายได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติก และช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วย ในการบริโภคผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก ควรจะคำนึงถึง ปริมาณ ชนิด และคุณสมบัติของสายพันธุ์ด้วย ซึ่งจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ดีนอกจากจะมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ขององค์การอาหารและยา องค์การอนามัยโลก และเกณฑ์ของแต่ละประเทศแล้ว ควรจะสามารถมีชีวิตรอดและทนต่อกรดและน้ำดีในทางเดินอาหาร สามารถยึดเกาะกับเซลล์เยื่อบุลำไส้ และมีชีวิตรอดในขั้นตอนการผลิตและตามสภาพการวางจำหน่ายด้วย
โครงการบูรณาการความรู้โรคติดเชื้อกับการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ ร่วมกับการเรียนการสอนรายวิชา พพ224
Posted by admin in: โครงการบริการวิชาการ
โครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อ ในโรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก ในการออกให้บริการครั้งนี้เราออกไปให้บริการด้วยสื่อแผ่นพับและการบรรยายที่โรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรักสำหรับเด็กกำพร้าและยากจน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการตอบรับที่ดี เป็นที่ต้องการของผู้รับบริการซึ่งทางโรงเรียนฯ ได้แจ้งความประสงค์ต้องการได้รับบริการรูปแบบนี้อีก
|
||
|
||
|
โครงการบริการวิชาการ โดยภาควิชาจุลชีววิทยา
ปีการศึกษา 2566
โรคซิฟิลิส - NEW -
ปีการศึกษา 2565
จริงหรือไม่ ! นมแม่แก้ตาอักเสบ ?
เชื้อประจำถิ่นสามารถช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้นได้ !!!
ยาอมแก้เจ็บคอช่วยลดอาการได้ จริงหรือ ?
จริงหรือไม่ ! เนื้อจะดีด้วยยาปฏิชีวนะ
ปีการศึกษา 2564
How the gut bacteria make you fat ?
กลิ่นจากแบคทีเรียที่คุณคาดไม่ถึง
Did you know HIV รู้เร็วยับยั้งได้
แปรงสีฟัน...แหล่งรวมเชื้อโรคที่ถูกมองข้าม
Lactobacillus casei ต้านทาน COLON CANCER ได้จริง !!
ปีการศึกษา 2563
มาลาเรียเดือดฆ่าซิฟิลิส ดับอนาถ !!!
Essential oil can replace antibiotic ?
ปีการศึกษา 2562
How gut bacteria affect our mood
ปีการศึกษา 2561
จ่อน้้าหมักป้าเช็ง น้้าสวรรค์หรือบั่นทอนสุขภาพ
เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งวงการแพทย์ Magneto-Aerotatic Bacteria
ปีการศึกษา 2560
ปลาหมึก เรืองแสง ได้จริงหรือ ??
พลาสติกสลดพบแบคทีเรียสลายพลาสติก
เชื่อหรือไม่ว่า "เครื่องเป่าลมสามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์บนมือได้"
ความเชื่อของคนอินเดียเกี่ยวกับแม่น้ำคงคา
สนิมทำให้เกิดโรคบาดทะยักได้จริงหรือ ?
เชื่อหรือไม่ ผู้หญิงที่ติดเชื้อพยาธิไส้เดือนจะมีการตั้งครรภ์สูงขึ้น??
สร้างทองคำบริสุทธิ์จากแบคทีเรีย
ปีการศึกษา 2559
คนอ้วนกับคนผอมจะมีแบคทีเรียนในลำไส้ตางกันไหม
จริงหรือมั่ว.....? นมแม่แก้ตาอักเสบ
ปีการศึกษา 2557
มารู้จัก ไวรัสซิก้า (Zika virus)
กิจกรรมการบริการวิชาการของภาควิชา
ปีการศึกษา 2555
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโปรไบโอติก
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
ตารางเดินรถ รับ - ส่ง มศว ประสานมิตร - องครักษ์ ประจำปี 2565-2566
หลักสูตร
1.รายวิชาอิมมูโนวิทยา (พพ 223) 2 หน่วยกิต
ศึกษาหน้าที่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์และโมเลกุลที่ร่างกายใช้ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี การทำงานของระบบคอมพลีเมนต์ เภสัชวิทยาภูมิคุ้มกัน รวมถึงพยาธิวิทยาของโรคหรือความผิดปกติที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน
2.รายวิชาการติดเชื้อ (พพ 224) 4 หน่วยกิต
ศึกษาโครงสร้าง รูปร่างลักษณะ สรีรวิทยา การเพิ่มจำนวน การแพร่พันธุ์และพันธุกรรมของจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ แบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต รวมทั้งเทคนิคการทำให้ปราศจากเชื้อทางห้องปฏิบัติการ พยาธิสภาพและพยาธิกำเนิดของการติดเชื้อในร่างกาย วิธีการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจและการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.รายวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์พื้นฐาน (จช 221) 3 หน่วยกิต
เป็นการศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ก่อโรคในมนุษย์ โดยศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ และคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ของจุลชีพ รวมทั้งการก่อโรค ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค การรุกรานของจุลชีพเข้าสู่ร่างกาย พยาธิสภาพและอาการที่เกิดจากจุลชีพ ได้แก่ แบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต ตลอดจนความรู้พื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันในสภาวะปกติและผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อ
4.รายวิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกัน (ชวพ 503) 4 หน่วยกิต
ศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ก่อโรคในมนุษย์ โดยศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ และความรู้พื้นฐานของจุลชีพชนิดต่าง ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส รา และปรสิต ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคและการรุกรานของจุลชีพเข้าสู่ร่างกาย การติดต่อ การตรวจแยกชนิดของจุลชีพ และแนวทางการป้องกันโรค รวมทั้งศึกษาความรู้พื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและกลไกต่าง ๆ ที่ใช้ในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม และการป้องกันโรคตลอดจนการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการทางอิมมูโนวิทยา
5.รายวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์ (จช 601) 2 หน่วยกิต
ศึกษาเชื้อจุลชีพก่อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส รา และปรสิต เพื่อให้ทราบรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติพื้นฐานของเชื้อที่มีความสำคัญทางการแพทย์
6.รายวิชาปรสิตวิทยาการแพทย์ (จช 602) 1 หน่วยกิต
ศึกษาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยกล่าวถึงหลักการ และหน้าที่การทำงานที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์และโมเลกุลต่าง ๆ ที่ร่างกายใช้ในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี รวมทั้งการป้องกันโรคด้วยวิธีทางอิมมูโนวิทยา
7.รายวิชาอิมมูโนวิทยาการแพทย์ (จช 603) 2 หน่วยกิต
เป็นการนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาภูมิคุ้มกันมาช่วยอธิบายถึงพยาธิสภาพ การดำเนินของโรคต่าง ๆ ที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเข้าไปเกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาวะภูมิไวเกิน ภาวะที่ร่างกายไม่ยอมรับอวัยวะที่นำมาปลูกถ่าย การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อเนื้องอกหรือมะเร็ง ภาวะความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเนื้อเยื่อของตนเอง
8.รายวิชาวิทยาภูมิคุ้มกันพื้นฐาน (จช 604) 1 หน่วยกิต
ศึกษากลไกต่าง ๆ ในการก่อโรคของเชื้อจุลชีพ และการต่อต้านจากโฮสต์ในระดับเซลล์และโมเลกุล โดยมีเชื้อก่อโรคชนิดต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย รา โปรโตซัว และไวรัส เป็นต้นแบบในการศึกษา
9.รายวิชาภูมิคุ้มกันคลินิก (จช 605) 2 หน่วยกิต
ศึกษาการนำความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ระบาดวิทยา การพัฒนายา วัคซีน เทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงจุลินทรีย์ด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และอุตสาหกรรม
10.รายวิชากลไกการเกิดโรคของจุลชีพ (จช 606) 2 หน่วยกิต
ศึกษาแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคในมนุษย์ เพื่อให้ทราบรูปร่าง ลักษณะ และองค์ประกอบที่สำคัญ กลไกการก่อโรค การติดต่อ การตรวจแยกชนิดของเชื้อ และแนวทางการป้องกันโรค
11.รายวิชาแบคทีเรียวิทยาการแพทย์ (จช 607) 1 หน่วยกิต
ศึกษาไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคในมนุษย์ เพื่อให้ทราบกลไกการเพิ่มจำนวนของไวรัส รูปร่าง ลักษณะ และองค์ประกอบที่สำคัญ กลไกการก่อโรค การติดต่อ การตรวจวินิจฉัย และแนวทางการป้องกันโรค
12.รายวิชาไวรัสวิทยาการแพทย์ (จช 608) 1 หน่วยกิต
ศึกษาลักษณะพื้นฐานและคุณสมบัติต่าง ๆ ของเชื้อรา การจำแนกโรคติดเชื้อราในมนุษย์ออกตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โรคที่ก่อโดยเชื้อรา เชื้อราตัวก่อโรค กลไกการเกิดโรค รวมทั้งเห็ดพิษ และพิษที่เกิดจากเชื้อราชนิดต่าง ๆ
13.รายวิชากิณวิทยาการแพทย์ (จช 609) 1 หน่วยกิต
ศึกษาโปรโตซัว และ หนอนพยาธิที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคในมนุษย์ เพื่อให้ทราบรูปร่าง ลักษณะของเชื้อที่สำคัญ วงจรชีวิต วิธีการติดต่อมาสู่คน การตรวจวินิจฉัยโรค และทราบแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค
14.รายวิชาเทคนิคทางจุลชีววิทยา (จช 621) 2 หน่วยกิต
ศึกษาเทคนิคทางจุลชีววิทยาที่ใช้ในงานด้านแบคทีเรีย รา และไวรัส เช่น การเพาะเลี้ยงเชื้อ การทำให้เชื้อบริสุทธิ์ การจำแนกชนิดของเชื้อจากสิ่งส่งตรวจ และการแยกเชื้อจากเซลล์เพาะเลี้ยง รวมถึงวิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
15.รายวิชาเทคนิคทางอิมมูโนวิทยา (จช 622) 2 หน่วยกิต
ศึกษาเทคนิคพื้นฐานทางอิมมูโนวิทยาที่ใช้ในการตรวจสอบปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี การทำงานของลิมโฟไซท์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคและงานวิจัย
16.รายวิชาจุลชีววิทยาขั้นสูง (จช 701) 3 หน่วยกิต
ศึกษาหลักการทางจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาขั้นสูง ได้แก่ กลไกการก่อให้เกิดโรคโดยแบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต รวมทั้งความรู้ในด้านพันธุกรรม และเทคนิคทางอณูชีววิทยานิสิตจะได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอและอภิปรายบทความที่มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ได้ศึกษาในรายวิชานี้
17.รายวิชาอิมมูโนวิทยาขั้นสูง (จช 702) 2 หน่วยกิต
ศึกษาหลักการทางอิมมูโนวิทยาขั้นสูง โดยมุ่งเน้นกลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การเจริญเติบโตของลิมโฟไซท์ ยีนที่ควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกัน บทบาทของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อต้านโรคติดเชื้อชนิดต่าง ๆ เป็นต้น โดยนิสิตจะมีส่วนร่วมในการนำเสนอและอภิปรายบทความและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ได้ศึกษา
18.รายวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์ (จช 703) 2 หน่วยกิต
ศึกษาการนำความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ระบาดวิทยา การพัฒนายา วัคซีน เทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงจุลินทรีย์ด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และอุตสาหกรรม
19.รายวิชาพันธุศาสตร์จุลินทรีย์ (จช 704) 2 หน่วยกิต
ศึกษาลักษณะพันธุกรรมของจุลชีพชนิดต่าง ๆ โดยเน้นถึงวิธีการวิเคราะห์ การควบคุมการแสดงออกของยีนในจุลชีพ โดยนิสิตจะมีส่วนร่วมในการนำเสนอและอภิปรายบทความที่มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ได้ศึกษาในรายวิชานี้
20.รายวิชาวิทยาการปัจจุบันทางจุลชีววิทยา (จช 801) 2 หน่วยกิต
ศึกษางานวิจัยที่น่าสนใจและเป็นวิทยาการก้าวหน้าทางจุลชีววิทยาในปัจจุบัน โดยเน้นแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและทำวิจัยต่อไปในอนาคต
21.รายวิชาวิทยาการปัจจุบันทางอิมมูโนวิทยา (จช 802) 2 หน่วยกิต
ศึกษาวิทยาการก้าวหน้าทางงานวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีทางอิมมูโนวิทยาที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ในการศึกษาและพัฒนาปรับปรุงงานวิจัยต่อไปในอนาคต
Department of Microbiology, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University, has established in 1985 for preclinical students. We organized and managed the medical microbiology courses, including parasitology and immunology. In the past, the Department of Microbiology has been located at the Faculty of Science, Mahidol University, and supervised by Assoc.Prof.Dr. Kajorn Charoensiri, the Acting Head of the Department. Since 1995, our department has moved permanently to locate on the 9th floor of the Preclinical and Science Building at Srinakharinwirot University.
Assoc. Prof. Dr.Benjamas Wongsatayanon 1995-2003
Assoc. Prof. Dr. Chanthana Mekseepralard 2003-2007
Assoc. Prof. Dr. Supinya Pongsunk 2007-2015
Asst. Prof. Dr. Wanna Pumeechockchai 2015-2019
Assoc. Prof. Dr. Malai Taweechotipatr 2019-2023
Asst. Prof. Dr. Kruawan Chotelersak 2023-Present
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 เพื่อรับผิดชอบการเรียนการสอนรายวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์ ปรสิตวิทยาการแพทย์ และอิมมูโนวิทยา ให้แก่นิสิตแพทย์ในระดับพรีคลินิก ระยะแรกมีสถานที่ทำการอยู่ที่ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.ดร.ขจร เจริญศิริ ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 ภาควิชาฯ ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ ชั้น 9 ณ อาคารเรียนรวมพรีคลินิกและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นที่ตั้งของภาควิชาฯ ในปัจจุบัน
หัวหน้าภาควิชาผู้บริหารงานภายใน ตามรายนามต่อไปนี้
รศ.ดร.เบญจมาส วงศ์สัตยนนท์ พ.ศ. 2538-2546
รศ.ดร.จันทนา เมฆสีประหลาด พ.ศ. 2546-2550
รศ.ดร.สุภิญญา พงษ์สังข์ พ.ศ. 2550-2558
ผศ.ดร.วรรณา ผู้มีโชคชัย พ.ศ. 2558-2562
รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ พ.ศ. 2562-2566
ผศ.ดร.เครือวัลย์ โชติเลอศักดิ์ พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน