Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel

คลิกที่ชื่อหัวข้อบรรยาย เพื่อดาวน์โหลดเอกสารประกอบการเรียน ปีการศึกษา 2555

        คลิกเสียง spot การเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2
 
          Plasmodium knowlesi
       
         
Rabies Ver.2 

หลักสูตร

 1.รายวิชาอิมมูโนวิทยา (พพ 223)  2  หน่วยกิต
      ศึกษาหน้าที่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์และโมเลกุลที่ร่างกายใช้ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี การทำงานของระบบคอมพลีเมนต์ เภสัชวิทยาภูมิคุ้มกัน รวมถึงพยาธิวิทยาของโรคหรือความผิดปกติที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน

 2.รายวิชาการติดเชื้อ (พพ 224) 4  หน่วยกิต
      ศึกษาโครงสร้าง รูปร่างลักษณะ สรีรวิทยา การเพิ่มจำนวน การแพร่พันธุ์และพันธุกรรมของจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ แบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต รวมทั้งเทคนิคการทำให้ปราศจากเชื้อทางห้องปฏิบัติการ พยาธิสภาพและพยาธิกำเนิดของการติดเชื้อในร่างกาย วิธีการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจและการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

 3.รายวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์พื้นฐาน (จช 221)  3 หน่วยกิต
      เป็นการศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ก่อโรคในมนุษย์ โดยศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ และคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ของจุลชีพ รวมทั้งการก่อโรค ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค การรุกรานของจุลชีพเข้าสู่ร่างกาย พยาธิสภาพและอาการที่เกิดจากจุลชีพ ได้แก่ แบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต ตลอดจนความรู้พื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันในสภาวะปกติและผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อ

 4.รายวิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกัน (ชวพ 503) 4  หน่วยกิต
      ศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ก่อโรคในมนุษย์ โดยศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ และความรู้พื้นฐานของจุลชีพชนิดต่าง ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส รา และปรสิต ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคและการรุกรานของจุลชีพเข้าสู่ร่างกาย การติดต่อ การตรวจแยกชนิดของจุลชีพ และแนวทางการป้องกันโรค รวมทั้งศึกษาความรู้พื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและกลไกต่าง ๆ ที่ใช้ในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม และการป้องกันโรคตลอดจนการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการทางอิมมูโนวิทยา

 5.รายวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์ (จช 601)  2  หน่วยกิต
      ศึกษาเชื้อจุลชีพก่อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส รา และปรสิต เพื่อให้ทราบรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติพื้นฐานของเชื้อที่มีความสำคัญทางการแพทย์

6.รายวิชาปรสิตวิทยาการแพทย์ (จช 602)   1  หน่วยกิต
      ศึกษาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยกล่าวถึงหลักการ และหน้าที่การทำงานที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์และโมเลกุลต่าง ๆ ที่ร่างกายใช้ในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี รวมทั้งการป้องกันโรคด้วยวิธีทางอิมมูโนวิทยา

7.รายวิชาอิมมูโนวิทยาการแพทย์ (จช 603)  2  หน่วยกิต
      เป็นการนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาภูมิคุ้มกันมาช่วยอธิบายถึงพยาธิสภาพ การดำเนินของโรคต่าง ๆ ที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเข้าไปเกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาวะภูมิไวเกิน ภาวะที่ร่างกายไม่ยอมรับอวัยวะที่นำมาปลูกถ่าย การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อเนื้องอกหรือมะเร็ง ภาวะความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเนื้อเยื่อของตนเอง

8.รายวิชาวิทยาภูมิคุ้มกันพื้นฐาน (จช 604)  1  หน่วยกิต
      ศึกษากลไกต่าง ๆ ในการก่อโรคของเชื้อจุลชีพ และการต่อต้านจากโฮสต์ในระดับเซลล์และโมเลกุล โดยมีเชื้อก่อโรคชนิดต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย รา โปรโตซัว และไวรัส เป็นต้นแบบในการศึกษา

9.รายวิชาภูมิคุ้มกันคลินิก (จช 605)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาการนำความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ระบาดวิทยา การพัฒนายา วัคซีน เทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงจุลินทรีย์ด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และอุตสาหกรรม

10.รายวิชากลไกการเกิดโรคของจุลชีพ (จช 606)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคในมนุษย์ เพื่อให้ทราบรูปร่าง ลักษณะ และองค์ประกอบที่สำคัญ กลไกการก่อโรค การติดต่อ การตรวจแยกชนิดของเชื้อ และแนวทางการป้องกันโรค

11.รายวิชาแบคทีเรียวิทยาการแพทย์ (จช 607)  1  หน่วยกิต
     ศึกษาไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคในมนุษย์ เพื่อให้ทราบกลไกการเพิ่มจำนวนของไวรัส รูปร่าง ลักษณะ และองค์ประกอบที่สำคัญ กลไกการก่อโรค การติดต่อ การตรวจวินิจฉัย และแนวทางการป้องกันโรค

12.รายวิชาไวรัสวิทยาการแพทย์ (จช 608)  1  หน่วยกิต
     ศึกษาลักษณะพื้นฐานและคุณสมบัติต่าง ๆ ของเชื้อรา การจำแนกโรคติดเชื้อราในมนุษย์ออกตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โรคที่ก่อโดยเชื้อรา เชื้อราตัวก่อโรค กลไกการเกิดโรค รวมทั้งเห็ดพิษ และพิษที่เกิดจากเชื้อราชนิดต่าง ๆ

13.รายวิชากิณวิทยาการแพทย์ (จช 609)  1  หน่วยกิต
     ศึกษาโปรโตซัว และ หนอนพยาธิที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคในมนุษย์ เพื่อให้ทราบรูปร่าง ลักษณะของเชื้อที่สำคัญ วงจรชีวิต วิธีการติดต่อมาสู่คน การตรวจวินิจฉัยโรค และทราบแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค

14.รายวิชาเทคนิคทางจุลชีววิทยา (จช 621)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาเทคนิคทางจุลชีววิทยาที่ใช้ในงานด้านแบคทีเรีย รา และไวรัส เช่น การเพาะเลี้ยงเชื้อ การทำให้เชื้อบริสุทธิ์ การจำแนกชนิดของเชื้อจากสิ่งส่งตรวจ และการแยกเชื้อจากเซลล์เพาะเลี้ยง รวมถึงวิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

15.รายวิชาเทคนิคทางอิมมูโนวิทยา (จช 622)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาเทคนิคพื้นฐานทางอิมมูโนวิทยาที่ใช้ในการตรวจสอบปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี การทำงานของลิมโฟไซท์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคและงานวิจัย  

16.รายวิชาจุลชีววิทยาขั้นสูง (จช 701)  3  หน่วยกิต
     ศึกษาหลักการทางจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาขั้นสูง ได้แก่ กลไกการก่อให้เกิดโรคโดยแบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต รวมทั้งความรู้ในด้านพันธุกรรม และเทคนิคทางอณูชีววิทยานิสิตจะได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอและอภิปรายบทความที่มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ได้ศึกษาในรายวิชานี้

17.รายวิชาอิมมูโนวิทยาขั้นสูง (จช 702)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาหลักการทางอิมมูโนวิทยาขั้นสูง โดยมุ่งเน้นกลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การเจริญเติบโตของลิมโฟไซท์ ยีนที่ควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกัน บทบาทของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อต้านโรคติดเชื้อชนิดต่าง ๆ เป็นต้น โดยนิสิตจะมีส่วนร่วมในการนำเสนอและอภิปรายบทความและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ได้ศึกษา

18.รายวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์ (จช 703)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาการนำความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ระบาดวิทยา การพัฒนายา วัคซีน เทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงจุลินทรีย์ด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และอุตสาหกรรม

19.รายวิชาพันธุศาสตร์จุลินทรีย์ (จช 704)   2  หน่วยกิต
     ศึกษาลักษณะพันธุกรรมของจุลชีพชนิดต่าง ๆ โดยเน้นถึงวิธีการวิเคราะห์ การควบคุมการแสดงออกของยีนในจุลชีพ โดยนิสิตจะมีส่วนร่วมในการนำเสนอและอภิปรายบทความที่มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ได้ศึกษาในรายวิชานี้

20.รายวิชาวิทยาการปัจจุบันทางจุลชีววิทยา (จช 801)  2  หน่วยกิต
     ศึกษางานวิจัยที่น่าสนใจและเป็นวิทยาการก้าวหน้าทางจุลชีววิทยาในปัจจุบัน โดยเน้นแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและทำวิจัยต่อไปในอนาคต

21.รายวิชาวิทยาการปัจจุบันทางอิมมูโนวิทยา (จช 802)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาวิทยาการก้าวหน้าทางงานวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีทางอิมมูโนวิทยาที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ในการศึกษาและพัฒนาปรับปรุงงานวิจัยต่อไปในอนาคต

              Department of Microbiology, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University, has established in 1985 for preclinical students. We organized and managed the medical microbiology courses, including parasitology and immunology. In the past, the Department of Microbiology has been located at the Faculty of Science, Mahidol University, and supervised by Assoc.Prof.Dr. Kajorn Charoensiri, the Acting Head of the Department. Since 1995, our department has moved permanently to locate on the 9th floor of the Preclinical and Science Building at Srinakharinwirot University.

                      Assoc. Prof. Dr.Benjamas Wongsatayanon   1995-2003

                    Assoc. Prof. Dr. Chanthana Mekseepralard  2003-2007

                    Assoc. Prof. Dr. Supinya Pongsunk              2007-2015

                    Asst. Prof. Dr. Wanna Pumeechockchai      2015-2019

                    Assoc. Prof. Dr. Malai Taweechotipatr        2019-2023

                    Asst. Prof. Dr. Kruawan Chotelersak          2023-Present

 


               

             ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 เพื่อรับผิดชอบการเรียนการสอนรายวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์ ปรสิตวิทยาการแพทย์ และอิมมูโนวิทยา ให้แก่นิสิตแพทย์ในระดับพรีคลินิก ระยะแรกมีสถานที่ทำการอยู่ที่ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.ดร.ขจร เจริญศิริ ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 ภาควิชาฯ ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ ชั้น 9 ณ อาคารเรียนรวมพรีคลินิกและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นที่ตั้งของภาควิชาฯ ในปัจจุบัน

          หัวหน้าภาควิชาผู้บริหารงานภายใน ตามรายนามต่อไปนี้

รศ.ดร.เบญจมาส วงศ์สัตยนนท์      พ.ศ. 2538-2546 

รศ.ดร.จันทนา เมฆสีประหลาด       พ.ศ. 2546-2550 

รศ.ดร.สุภิญญา พงษ์สังข์              พ.ศ. 2550-2558

ผศ.ดร.วรรณา ผู้มีโชคชัย             พ.ศ. 2558-2562

รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์              พ.ศ. 2562-2566

ผศ.ดร.เครือวัลย์ โชติเลอศักดิ์      พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน