Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel

หลักสูตร course

Vote it
(0 votes)
Posted by  in: home1

หลักสูตร

 1.รายวิชาอิมมูโนวิทยา (พพ 223)  2  หน่วยกิต
      ศึกษาหน้าที่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์และโมเลกุลที่ร่างกายใช้ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี การทำงานของระบบคอมพลีเมนต์ เภสัชวิทยาภูมิคุ้มกัน รวมถึงพยาธิวิทยาของโรคหรือความผิดปกติที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน

 2.รายวิชาการติดเชื้อ (พพ 224) 4  หน่วยกิต
      ศึกษาโครงสร้าง รูปร่างลักษณะ สรีรวิทยา การเพิ่มจำนวน การแพร่พันธุ์และพันธุกรรมของจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ แบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต รวมทั้งเทคนิคการทำให้ปราศจากเชื้อทางห้องปฏิบัติการ พยาธิสภาพและพยาธิกำเนิดของการติดเชื้อในร่างกาย วิธีการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจและการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

 3.รายวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์พื้นฐาน (จช 221)  3 หน่วยกิต
      เป็นการศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ก่อโรคในมนุษย์ โดยศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ และคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ของจุลชีพ รวมทั้งการก่อโรค ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค การรุกรานของจุลชีพเข้าสู่ร่างกาย พยาธิสภาพและอาการที่เกิดจากจุลชีพ ได้แก่ แบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต ตลอดจนความรู้พื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันในสภาวะปกติและผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อ

 4.รายวิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกัน (ชวพ 503) 4  หน่วยกิต
      ศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ก่อโรคในมนุษย์ โดยศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ และความรู้พื้นฐานของจุลชีพชนิดต่าง ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส รา และปรสิต ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคและการรุกรานของจุลชีพเข้าสู่ร่างกาย การติดต่อ การตรวจแยกชนิดของจุลชีพ และแนวทางการป้องกันโรค รวมทั้งศึกษาความรู้พื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและกลไกต่าง ๆ ที่ใช้ในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม และการป้องกันโรคตลอดจนการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการทางอิมมูโนวิทยา

 5.รายวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์ (จช 601)  2  หน่วยกิต
      ศึกษาเชื้อจุลชีพก่อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส รา และปรสิต เพื่อให้ทราบรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติพื้นฐานของเชื้อที่มีความสำคัญทางการแพทย์

6.รายวิชาปรสิตวิทยาการแพทย์ (จช 602)   1  หน่วยกิต
      ศึกษาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยกล่าวถึงหลักการ และหน้าที่การทำงานที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์และโมเลกุลต่าง ๆ ที่ร่างกายใช้ในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี รวมทั้งการป้องกันโรคด้วยวิธีทางอิมมูโนวิทยา

7.รายวิชาอิมมูโนวิทยาการแพทย์ (จช 603)  2  หน่วยกิต
      เป็นการนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาภูมิคุ้มกันมาช่วยอธิบายถึงพยาธิสภาพ การดำเนินของโรคต่าง ๆ ที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเข้าไปเกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาวะภูมิไวเกิน ภาวะที่ร่างกายไม่ยอมรับอวัยวะที่นำมาปลูกถ่าย การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อเนื้องอกหรือมะเร็ง ภาวะความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเนื้อเยื่อของตนเอง

8.รายวิชาวิทยาภูมิคุ้มกันพื้นฐาน (จช 604)  1  หน่วยกิต
      ศึกษากลไกต่าง ๆ ในการก่อโรคของเชื้อจุลชีพ และการต่อต้านจากโฮสต์ในระดับเซลล์และโมเลกุล โดยมีเชื้อก่อโรคชนิดต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย รา โปรโตซัว และไวรัส เป็นต้นแบบในการศึกษา

9.รายวิชาภูมิคุ้มกันคลินิก (จช 605)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาการนำความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ระบาดวิทยา การพัฒนายา วัคซีน เทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงจุลินทรีย์ด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และอุตสาหกรรม

10.รายวิชากลไกการเกิดโรคของจุลชีพ (จช 606)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคในมนุษย์ เพื่อให้ทราบรูปร่าง ลักษณะ และองค์ประกอบที่สำคัญ กลไกการก่อโรค การติดต่อ การตรวจแยกชนิดของเชื้อ และแนวทางการป้องกันโรค

11.รายวิชาแบคทีเรียวิทยาการแพทย์ (จช 607)  1  หน่วยกิต
     ศึกษาไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคในมนุษย์ เพื่อให้ทราบกลไกการเพิ่มจำนวนของไวรัส รูปร่าง ลักษณะ และองค์ประกอบที่สำคัญ กลไกการก่อโรค การติดต่อ การตรวจวินิจฉัย และแนวทางการป้องกันโรค

12.รายวิชาไวรัสวิทยาการแพทย์ (จช 608)  1  หน่วยกิต
     ศึกษาลักษณะพื้นฐานและคุณสมบัติต่าง ๆ ของเชื้อรา การจำแนกโรคติดเชื้อราในมนุษย์ออกตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โรคที่ก่อโดยเชื้อรา เชื้อราตัวก่อโรค กลไกการเกิดโรค รวมทั้งเห็ดพิษ และพิษที่เกิดจากเชื้อราชนิดต่าง ๆ

13.รายวิชากิณวิทยาการแพทย์ (จช 609)  1  หน่วยกิต
     ศึกษาโปรโตซัว และ หนอนพยาธิที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคในมนุษย์ เพื่อให้ทราบรูปร่าง ลักษณะของเชื้อที่สำคัญ วงจรชีวิต วิธีการติดต่อมาสู่คน การตรวจวินิจฉัยโรค และทราบแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค

14.รายวิชาเทคนิคทางจุลชีววิทยา (จช 621)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาเทคนิคทางจุลชีววิทยาที่ใช้ในงานด้านแบคทีเรีย รา และไวรัส เช่น การเพาะเลี้ยงเชื้อ การทำให้เชื้อบริสุทธิ์ การจำแนกชนิดของเชื้อจากสิ่งส่งตรวจ และการแยกเชื้อจากเซลล์เพาะเลี้ยง รวมถึงวิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

15.รายวิชาเทคนิคทางอิมมูโนวิทยา (จช 622)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาเทคนิคพื้นฐานทางอิมมูโนวิทยาที่ใช้ในการตรวจสอบปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี การทำงานของลิมโฟไซท์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคและงานวิจัย  

16.รายวิชาจุลชีววิทยาขั้นสูง (จช 701)  3  หน่วยกิต
     ศึกษาหลักการทางจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาขั้นสูง ได้แก่ กลไกการก่อให้เกิดโรคโดยแบคทีเรีย รา ไวรัส และปรสิต รวมทั้งความรู้ในด้านพันธุกรรม และเทคนิคทางอณูชีววิทยานิสิตจะได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอและอภิปรายบทความที่มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ได้ศึกษาในรายวิชานี้

17.รายวิชาอิมมูโนวิทยาขั้นสูง (จช 702)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาหลักการทางอิมมูโนวิทยาขั้นสูง โดยมุ่งเน้นกลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การเจริญเติบโตของลิมโฟไซท์ ยีนที่ควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกัน บทบาทของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อต้านโรคติดเชื้อชนิดต่าง ๆ เป็นต้น โดยนิสิตจะมีส่วนร่วมในการนำเสนอและอภิปรายบทความและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ได้ศึกษา

18.รายวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์ (จช 703)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาการนำความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ระบาดวิทยา การพัฒนายา วัคซีน เทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงจุลินทรีย์ด้านสิ่งแวดล้อม อาหาร และอุตสาหกรรม

19.รายวิชาพันธุศาสตร์จุลินทรีย์ (จช 704)   2  หน่วยกิต
     ศึกษาลักษณะพันธุกรรมของจุลชีพชนิดต่าง ๆ โดยเน้นถึงวิธีการวิเคราะห์ การควบคุมการแสดงออกของยีนในจุลชีพ โดยนิสิตจะมีส่วนร่วมในการนำเสนอและอภิปรายบทความที่มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ได้ศึกษาในรายวิชานี้

20.รายวิชาวิทยาการปัจจุบันทางจุลชีววิทยา (จช 801)  2  หน่วยกิต
     ศึกษางานวิจัยที่น่าสนใจและเป็นวิทยาการก้าวหน้าทางจุลชีววิทยาในปัจจุบัน โดยเน้นแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและทำวิจัยต่อไปในอนาคต

21.รายวิชาวิทยาการปัจจุบันทางอิมมูโนวิทยา (จช 802)  2  หน่วยกิต
     ศึกษาวิทยาการก้าวหน้าทางงานวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีทางอิมมูโนวิทยาที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ในการศึกษาและพัฒนาปรับปรุงงานวิจัยต่อไปในอนาคต

Last modified on วันพฤหัสบดี, 20 เมษายน 2566 02:06
admin

Administrator