ระวังใช้โซเชียลมีเดีย กระทบสัมพันธภาพใน”ครอบครัว”
ระวังใช้โซเชียลมีเดีย กระทบสัมพันธภาพใน”ครอบครัว”
จิตแพทย์เตือนอย่าโพสต์รูปส่วนตัวคนอื่น- ระบายอารมณ์ในโซเชียลฯ อาจกระทบสัมพันธภาพในครอบครัว
พญ.ทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า การใช้โซเชียลมีเดียทั่วไปในครอบครัว มักจะเป็นการแบ่งปันเรื่องราว ความรู้สึก เรื่องเล่าประสบการณ์ที่ประทับใจ มีรูปภาพที่แท็กถึงกันเวลาไปร่วมกิจกรรมภายในครอบครัว งานสังสรรค์ กิจกรรมร่วมกันของสมาชิก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพที่แบ่งปันได้
แต่ควรระมัดระวังในเรื่องของการโพสต์หยอกล้อกัน หรือเผยแพร่ภาพที่เป็นส่วนตัวที่เจ้าตัวเองไม่อยากเปิดเผย ตรงนี้เป็นจุดเปราะบางที่อาจจะกลายเป็นความไม่พอใจ ไม่ชอบ ไม่เข้าใจ และเกิดผลกระทบกับสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในภายหลังได้
พญ.ทิพาวรรณ กล่าวด้วยว่า ปัญหาและผลกระทบในเชิงลบที่ตามมา ขึ้นอยู่กับ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ผู้ใช้ และ การใช้สื่อโซเชียลมีเดียโดย “ขาดความระมัดระวัง” ผู้ใช้ ในกรณีที่ผู้ใช้ที่เป็นเด็ก วัยรุ่น และเยาวชน การใช้สื่อโซเชียลมีเดียโดยลำพัง จะนำมาซึ่งปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ปัญหาพฤติกรรมเสพติด (เกม แชท โซเชียล), ปัญหาเลียนแบบพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น พฤติกรรมทางเพศ, ภาษาหยาบคาย, ความรุนแรง และ ปัญหาถูกล่อลวง เป็นต้น
อีกทั้ง การใช้เวลากับโซเชียลมีเดียที่มากเกินไป ไม่ควรเกิน 2 ชม. ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ และสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ควรเกิน 1 ชม.ต่อวัน มีผลเสียต่อสุขภาพกาย อาทิ สายตาสั้น, อ้วน, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง และ ผลเสียต่อสุขภาพจิต อาทิ วิตกกังวล ซึมเศร้า, มีอาการเสพติด อาการอยากและอาการถอน เช่น หงุดหงิดเวลาที่ขาดสมาร์ทโฟน หรือ ต้องก้มหน้าดูโซเชียลบ่อยๆ ปัญหาเหล่านี้ถ้าเกิดในวัยเรียน วัยรุ่น ย่อมส่งผลกระทบต่อ สมาธิ ความจำ ความตั้งใจอุตสาหะพยายาม การควบคุมตนเอง และมีผลการเรียนที่แย่ลง
และส่วนที่สอง คือ ผลกระทบต่อบุคคลอื่น/และสังคม เป็นผลกระทบในวงกว้าง และสุดท้ายผลกระเทบนั้นมักจะย้อนกลับมาทำร้ายตนเองในที่สุด อาทิ การรังแกกันในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น โพสต์รูปของคนอื่นๆ โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ยินยอม, การหยอกล้อ ต่อว่า ด่าทอ ประจาน สืบค้นประวัติผู้อื่นแล้วนำลงสื่อสังคมออนไลน์ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น และละเมิดกฎหมาย
พญ.ทิพาวรรณ กล่าวอีกว่า การใช้โซเชียลมีเดียสำหรับครอบครัว ในส่วนของเด็ก วัยรุ่น และเยาวชน ควรใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติ และควบคุมตนเองได้ ต้องคิดทบทวนข้อดี - ข้อเสียอย่างรอบคอบ ระมัดระวังก่อนที่จะโพสต์แสดงความคิดเห็นลงไปในสื่อออนไลน์
สิ่งที่ไม่ควรทำ คือ การเขียนระบายอารมณ์ลงในโซเชียลมีเดีย, การรังแกกันลงในโซเชียลมีเดีย และสิ่งที่ควรทำคือ ใช้เวลากับสมาร์ทโฟน แทบเบลต โน้ตบุ๊ค ให้น้อยที่สุดจะดีกว่า และใช้เวลานี้ทดแทนด้วยการทำกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรค์ อาทิ การอ่านตำราหนังสือ ฝึกทักษะการอ่าน - จับใจความ, การฝึกทักษะภาษา, การทำงานอดิเรก การฝึกเล่นกีฬา, การทำงานศิลปะ, การเล่นดนตรี, การท่องเที่ยวกับครอบครัว เป็นต้น
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ควรดูแลเอาใจใส่ในการใช้โซเชียลมีเดียของลูกๆ อย่างใกล้ชิด ควรคำนึงถึงความปลอดภัยจากการใช้โซเชียลมีเดีย เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก, ควรชี้แนะข้อดี - ข้อเสียด้วยเหตุผล, พูดคุยและเเลกเปลี่ยนเรื่องราว ข้อคิดเห็นของลูกๆ, รับฟังเรื่องเล่าของลูกๆ ในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ และเป็นต้นแบบที่ดีของการใช้โซเชียลมีเดียภายในบ้าน เช่น ไม่ควรใช้สมาร์ทโฟนขณะรับประทานอาหาร, ขณะการเดินทาง, ควรมีกฎ กติกา มารยาทในการใช้สมาร์ทโฟนภายในบ้าน
“โซเชียลมีเดีย เป็นสิ่งที่ดี เป็นช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว ทันสมัย ถ้าใช้ให้มันเกิดประโยชน์มันก็จะเกิดประโยชน์มาก แต่ก็ยังมีข้อจำกัด คือ เป็นการสื่อสารทางเดียว ซึ่งไม่สมารถคาดเดาความเข้าใจของคนอื่นได้ จึงควรระมัดระวังในจุดนี้ให้มาก “สติ และ ความยับยั้งชั่งใจในการโพสท์เป็นสิ่งที่สำคัญ คล้ายกับ การที่เราทิ้งรอยเท้าเอาไว้ให้คนคอยตาม(Digital Foot Print)ถ้าเป็นรอยเท้าที่ดีก็คงไม่มีปัญหาหรือผลกระทบอะไร แต่ถ้าเราทิ้งรอยเท้าที่ไม่ดี เราก็จะต้องตามแก้ไขปัญหาแบบไม่จบสิ้น ทางที่ดีที่สุดคือ Cyber Safety ปลอดภัยไว้ก่อน และ คิดก่อนโพสท์ทุกครั้ง” พญ.ทิพาวรรณกล่าว
ข้อมูลข่าวโดย หนังสือพิมพ์คม-ชัด-ลึกออนไลน์ ฉบับวันที 28 เมษายน 2560
จิตแพทย์แนะ 9 วิธี ต้านซึมเศร้า
นอกจากภาวะความเครียดแล้ว ปัญหาโรคซึมเศร้า ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพจิตของคนไทยที่มีความน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะในสังคมแต่ละวันเรามักจะเห็นข่าวปัญหาการฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกาย เกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าสลดใจ สังคมอาจตั้งข้อสงสัยว่าเป็นเพราะปัญหาที่ชีวิต ครอบครัว เศรษฐกิจที่รุมเร้า แต่แท้จริงแล้วหลายกรณีสาเหตุเกิดจากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งถูกมองข้ามไป
นพ.พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์ อธิบายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้ฟังว่า โรคซึมเศร้าถือเป็นโรคทางด้านจิตเวชที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของเคมีในสมอง เช่นความผันผวนของระดับฮอร์โมนที่สำคัญ สืบทอดจากพ่อแม่สู่ลูก และเกิดจากปัจจัยด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าปัจจัยทางอารมณ์ เป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดทางอารมณ์ เช่นหากเป็นภาวะซึมเศร้าในวัยเด็ก (Childhood Depression) อาจมีสาเหตุจากความตึงเครียดในครอบครัว เหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง หรือความคาดหวังทางการศึกษาเล่าเรียนที่สูงส่งเกินความสามารถของตน ภาวะซึมเศร้าในโรคประสาท (Neurotic depression) ซึ่งอาจพบร่องรอยว่าถูกบีบคั้นอย่างมากในวัยเด็ก แล้วปะทุออกมาในช่วงชีวิตภายหลัง ภาวะซึมเศร้าเพราะความชรา (Depression of age) เกิดเพราะความสามารถในการปรับตัวลดน้อยลง มีชีวิตโดดเดี่ยว ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยหรือปัญหาที่เรียกกันว่า ภาวะสะเทือนใจหลังเกษียณ (สูญเสียคุณค่าในตนไม่มีงาน ความรู้สึกว่าไร้สมรรถภาพ)
จิตแพทย์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังรวมไปถึงภาวะซึมเศร้าจากปฏิกิริยาทางใจ (Reactive depression) เช่น อาการซึมเศร้าภายหลังจากคู่แต่งงานเสียชีวิต ตกงาน หย่าร้าง ภาวะซึมเศร้าเพราะสภาพจิตใจอ่อนล้า (Depression of fatigue) เป็นการตอบสนองทางใจต่อสภาวะความเครียดเรื้อรัง เช่น ชีวิตสมรสมีปัญหาขัดแย้งไม่รู้จบ ความกดดันจากงานที่ต้องรับผิดชอบ การเปลี่ยนงาน ภาระมากเกินไป ภาวะซึมเศร้าชนิดนี้มักเกิดในหญิงซึ่งต้องรับภาระทั้งในครอบครัวและทำงานนอกบ้าน และในชายที่อยู่ในช่วงอายุ 50 – 60 ปี ซึ่งถูกกดดันจากการไม่อาจขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพการงานของตนได้
นพ.พิชัย ให้ข้อสังเกตว่าเมื่อคนในครอบครัวหรือใกล้ชิดเข้าข่ายซึมเศร้า หลักการสังเกตง่ายๆ ควรจะสังเกตถึงพฤติกรรมดังต่อไปนี้
จิตแพทย์ระบุว่า นอกจากนี้ต้องลองตรวจสอบตัวเองและคนใกล้ชิด ว่ามีใครเป็นโรคซึมเศร้าบ้าง ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หากพบว่ามีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 4 ข้อ ต้องพยายามระมัดระวังความคิด และพยายามดึงตัวเองออกมาจากภาวะนั้นให้ได้ ต้องพยายามเตือนตัวเองให้มีสติอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ที่ทำให้รู้สึกไม่ดีหรือเปล่า หากรู้ตัวว่าไม่สามารถหยุดความคิดได้ หรือยิ่งรู้สึกสิ้นหวังแบบรุนแรงจนรู้สึกหมดซึ่งหนทางที่อยากจะใช้ชีวิตต่อไป ต้องรวบรวมกำลังเพื่อให้โอกาสตัวเอง โดยการหาทางระบายความคิดและความรู้สึกของตัวเองออกมา แต่การให้โอกาสที่ดีกับตัวเองต้องพยายามเปิดใจหาผู้ที่ท่านมั่นใจว่าช่วยเหลือท่านได้จริงๆ หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อความปลอดภัยจากภาวะซึมเศร้าที่เป็นอยู่ ณ ขณะนั้นให้ได้
นพ.พิชัยแนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยมีหลัก 9 ข้อดังต่อไปนี้
นพ.พิชัย กล่าวว่า ปัจจุบันนี้โรคซึมเศร้ามีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย หากเราสังเกตเห็นคนใกล้ชิด มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปและเข้าข่ายของภาวะซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว อย่ามองว่าเป็นความคิดแง่ลบที่สร้างขึ้นมาเอง มองโลกในแง่ร้ายเอง แต่ควรเปิดใจรับฟังและพยายามหาทางช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ เพราะโรคนี้ส่งผลรุนแรงแต่อาการอาจจะดูเหมือนคนมีอารมณ์วิตกกังวลเพียงเท่านั้น ซึ่งคนใกล้ชิดควรจะช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าดังต่อไปนี้
โรคขี้ลืม
ขี้ลืม” หรืออาการหลงลืม ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆก็เป็นกันได้ แต่ถ้าขี้ลืมบ่อยครั้ง กลายเป็นคนป้ำๆ เป๋อๆ จนเสียงานเสียการ เช่นนี้ถือว่าต้องรีบแก้ไขอาการที่เป็นอยู่โดยด่วน ผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาสำหรับคนขี้หลงขี้ลืม ดังนี้
แฟ้มภาพ
1. วางข้าวของให้เป็นที่เป็นทาง จะสังเกตได้ว่าคนที่มีระเบียบในชีวิตมักจะเป็นคนไม่ค่อยขี้ลืมเท่าไรนัก ดังนั้น เราจึงควรจัดระเบียบชีวิตให้ง่ายขึ้นโดยการเก็บสิ่งของให้อยู่ในที่ที่ควรจะอยู่เสมอ จะช่วยให้เราไม่ต้องมาคิดว่าเราวางของต่างๆ ไว้ที่ตรงไหนบ้าง เช่น เก็บสมุดบัญชีไว้ในลิ้นชักชั้นบน เก็บกุญแจต่างๆ เช่น กุญแจบ้าน กุญแจรถ กุญแจลิ้นชักไว้ในโต๊ะข้างเตียง นอน เก็บเอกสารต่างๆ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบแจ้งชำระหนี้เอาไว้ในซองใส่เอกสารที่แขวนอยู่ในห้องนั่งเล่น หรือมีตู้สำหรับเก็บยาทุกชนิด ถ้าเราทำให้เป็นนิสัย รับรองว่าจะไม่มีปัญหาว่าหาของไม่เจอหรือจะไม่รู้ว่าเอาของไปวางไว้ที่ไหนอย่างแน่นอน
2. จดบันทึก แท้จริงแล้วทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนขี้ลืมหรือไม่ก็ตาม ควรที่จะต้องมีสมุดบันทึกประจำวันเพื่อจดบันทึกถึงสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันเอาไว้ (หรือสมัยนี้อาจจะจดไว้ในโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต) รวมทั้งสมุดจดที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนและบุคคลสำคัญ อีกทั้งการจดบันทึกแผนการที่ต้องทำในแต่ละสัปดาห์หรือในเดือนถัดไป การมีสมุดบันทึกเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยเตือนความจำได้อย่างง่ายๆ อีกวิธีหนึ่ง เพียงแต่ว่าอย่าลืมจดแค่นั้นก็พอ
3. เขียนโน้ต เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเตือนความจำได้เป็นอย่างดี เป็นต้นว่าเขียนข้อความลงในกระดาษโน้ตแล้วติดไว้ในสถานที่ที่เราต้องผ่านบ่อยๆ เช่น ตู้เย็นกระจกที่โต๊ะเครื่องแป้ง กระจกในห้องน้ำ โต๊ะทำงาน ประตูทางออก หรือเราจะใช้บอร์ดเล็กๆ เขียนเตือนความจำไว้ในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น การเขียนโน๊ตเป็นวิธีการเตือนความจำง่ายๆ ที่ช่วยคนขี้ลืมได้ดีทีเดียว
4. ไม่ควรทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน จุดอ่อนของคนขี้ลืมโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นคนไม่ค่อยมีสมาธิ ดังนั้น ถ้าเรารู้ตัวว่าเราเป็นคนขี้ลืม สิ่งที่สำคัญก็คืออย่าทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เช่น รดน้ำต้นไม้ในเวลาเดียวกับที่เปิดเตาแก๊สอุ่นอาหารเอาไว้ เพราะอาจจะทำให้อาหารไหม้ได้ถ้าเราลืมไปว่าเราอุ่นอาหารทิ้งเอาไว้ พูดโทรศัพท์หลายสายในเวลาเดียวกัน บางคนมีโทรศัพท์เรียกเข้าพร้อมๆ กัน แล้วก็เลือกจะรับสายพร้อมๆ กัน แต่เมื่อคุยกับสายหนึ่งอยู่แล้วปล่อยให้อีกสายหนึ่งถือสายรอ สายที่รออยู่นั้นอาจจะรอเก้ออยู่หลายนาทีโดยเราลืมไปแล้วว่ามีอีกสายหนึ่งนั้นรออยู่ก็ได้ ดังนั้น สำหรับคนขี้ลืมแล้ว ควรจะเลือกทำกิจกรรมเพียงอย่างเดียวในเวลาเดียว โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมๆกันเพราะจะทำให้สมาธิในการจำลดลงหรือทำให้จำอะไรไม่ได้เลย
5. อาหารบำรุงสมองช่วยคนขี้ลืม ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้มีการวิจัยว่ามีอาหารเสริมบางชนิดที่ช่วยให้ความจำดีขึ้นและช่วยป้องกันความจำเสื่อม เช่น สารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่สมอง ซึ่งช่วยให้ความจำดีขึ้นแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาหารเสริมก็ไม่สำคัญเท่ากับการที่รับประทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่อีกทั้งนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ เพื่อที่สมองจะแจ่มใสและมีความจำที่ดีนั่นเอง
6. ฝึกสมองอยู่เสมอ สมองเป็นอวัยวะหนึ่งที่ต้องได้รับการฝึกฝนอยู่เป็นประจำ มิฉะนั้นเมื่อถึงเวลาเสื่อมแล้วก็จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากคนที่มีนิสัยไม่ค่อยใส่ใจสิ่งแวดล้อมและใช้ชีวิตเรื่อยเฉื่อยมักจะขี้หลงขี้ลืมมากกว่าคนที่ใช้สมองอยู่เป็นประจำ กิจกรรมในการฝึกสมองไม่ให้เป็นคนลืมง่าย เช่น เล่นเกม เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้สมองได้ออกกำลัง เพิ่มความคิดที่รวดเร็วฉับไวขึ้น ส่งผลให้มีอาการหลงลืมน้อยลง
ผู้เขียนเองก็เป็นคนหนึ่งที่มีนิสัยขี้ลืมและได้ค้นพบว่าวิธีแก้อาการขี้ลืมทั้ง 6 ข้อที่ได้กล่าวไปนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาอาการหลงลืมได้จริงๆ แถมเป็นวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนก็สามารถนำไปใช้ได้ไม่ยากแต่อย่างใด
ประโยชน์และความหมายของการฝึกจิต
โดยการฝึกจิตวันละนิดทุก ๆ วัน ไม่นานจะกลายเป็นธรรมชาติ และนิสัยได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างความเพียรพยายามที่เข้มข้น
ขั้นตอนการฝึกจิตพื้นฐาน:
ความเครียด!!!
ความเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ
ผลกระทบที่ได้จากความเครียด
-ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
- ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
- ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น
สาเหตุของความเครียด
1.จากตัวเอง
อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี
ความเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ
ผลกระทบที่ได้จากความเครียด
-ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
- ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
- ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น
สาเหตุของความเครียด
1.จากตัวเอง
อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี