ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ข่าวเด่นประจำวัน

 

โรคซึมเศร้า

          สัญญาณเตือนก่อนฆ่าตัวตาย หากคนข้างกายจับสังเกตได้ ก็มีโอกาสช่วยชีวิตและเยียวยาจิตใจคนกำลังจะคิดสั้นได้มาก มาเช็กลางบอกเหตุกันค่ะ

          ใครต่างก็ทราบกันดีว่าการฆ่าตัวตายไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดของปัญหา ทว่าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางครั้งด้วยอาการ “ป่วย” ก็ผลักดันให้เขามีแนวโน้มเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายสูง ยืนยันจากสถิติที่ระบุว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และยิ่งสภาพสังคมในปัจจุบันที่ถูกกดดันด้วยสภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม หรือแม้การกลั่นแกล้งกันในโลกโซเชียลอย่างที่เห็นกันบ่อย ๆ ทำให้อัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง พร้อมกันนั้นก็ทำให้อัตราความเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นคนข้างกายจึงเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้สถานการณ์คิดสั้นเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ โดยสังเกตสัญญาณฆ่าตัวตายต่อไปนี้
 
โรคซึมเศร้า

1. ประสบปัญหาชีวิตบางอย่าง


          โดยเฉพาะคนที่เจอกับความพลิกผันหนัก ๆ หรือเหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ล้มละลาย สิ้นเนื้อประดาตัว สูญเสียคนรักกะทันหัน ผิดหวังกับการงาน การเรียน หรือต้องตกอยู่ในสถานะคนพิการจากอุบัติเหตุ เป็นต้น คนในกลุ่มนี้มีแนวโน้มค่อนข้างสูงที่จะรู้สึกท้อแท้กับชีวิต รู้สึกเครียดสะสม หรือไม่สามารถปรับตัวต่อการแก้ไขปัญหาในชีวิตได้ จนอาจนำไปสู่การคิดสั้นด้วยอารมณ์ชั่ววูบ

2. ใช้สุราหรือยาเสพติด

          ถ้าพบว่าคนใกล้ตัวหรือตัวเราเองมีพฤติกรรมดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติดทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคย หรืออาจจะเคยแต่ช่วงหลังมานี้เริ่มดื่มหนักขึ้น หรือเสพมากขึ้น นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเขากำลังเครียดหนัก และไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร จึงอาจใช้เหล้าและสารเสพติดเพื่อคลายกลุ้ม

3. มีประวัติคนในครอบครัวฆ่าตัวตาย

          หากมีประวัติคนในครอบครัวฆ่าตัวตาย ก็เป็นไปได้สูงว่าสมาชิกในครอบครัวคนอื่นอาจคิดสั้นและทำร้ายตัวเองได้ ฉะนั้นต้องเฝ้าระวังให้ดีค่ะ

โรคซึมเศร้า

4. แยกตัว ไม่พูดกับใคร

          บางคนอาจไม่โวยวาย ไม่ตัดพ้อ แต่กลับมีพฤติกรรมเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียวมากขึ้น พูดจาประหยัดคำกว่าเดิม และดูไม่ค่อยอยากสุงสิงกับใครแม้กระทั่งเพื่อนและคนในครอบครัว 

5. นอนไม่หลับ

          ภาวะนอนไม่หลับเป็นเวลานาน ๆ อาจเข้าข่ายอาการโรคซึมเศร้า หรือโรคเครียด ซึ่งความเครียดและความรุนแรงของโรคซึมเศร้านั้นรบกวนจนร่างกายไม่สามารถหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเคสแบบนี้ก็ควรต้องเฝ้าระวังใจให้ดีเช่นกัน

โรคซึมเศร้า

6. หน้าตาเศร้าหมอง พูดจาด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล

          นี่ก็จัดเป็นสัญญาณความเครียดและความไม่สบายใจที่สังเกตเห็นได้เด่นชัด โดยคนที่มีความกังวล หรืออาจมีสติสัมปชัญญะที่ไม่เต็มร้อยนัก อาจมีอาการแสดงออกด้วยน้ำเสียงที่มีความกังวลปนอยู่ หรือใบหน้าที่เศร้าหมองอย่างหนัก

7. ชอบพูดว่าอยากตาย

          ไม่ว่าจะเป็นการบ่นตัดพ้อ โพสต์โซเชียล หรือเขียนข้อความทิ้งไว้ที่ไหนในทำนองว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ขอไม่ตื่นอีกเลยได้ไหม ไม่มีใครรัก ชีวิตไม่มีค่า ไม่มีใครสนใจ ลาก่อน หรือพูดทำนองว่าทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่าง รู้สึกตัวเองเป็นภาระของผู้อื่น ถ้าปรากฏข้อความแนว ๆ นี้บ่อยครั้ง ก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจฆ่าตัวตายสูง

8. มีอารมณ์แปรปรวน

          อารมณ์แปรปรวนเกิดขึ้นได้กับบางคน ทว่าหากเป็นกรณีที่อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เหวี่ยงบ่อย ซึมบ้าง รวมทั้งรู้สึกหงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่บอกให้ทราบว่า คนผู้นั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ไม่น้อย

โรคซึมเศร้า

9. เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน

          ไม่ว่าจะเป็นการพยายามฆ่าตัวตายด้วยวิธีไหน หรืออาจจะแค่เคยลองหาวิธีฆ่าตัวตายมาก่อน ต้องเฝ้าระวังให้ดีเลยค่ะ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยได้

10. มีการวางแผนการฆ่าตัวตายไว้ล่วงหน้า

          หากมีการจัดการงานเรียบร้อย หรือมีพูดฝากฝังอะไรกับคนรอบข้าง รวมทั้งเอาของใช้ ของสะสมของตัวเองมาแจกจ่ายคนอื่น อาจเป็นไปได้ว่าบุคคลผู้นั้นกำลังวางแผนจะลาโลกนี้ไป ให้เอะใจไว้บ้างก็ดีค่ะ

          อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายสัญญาณหรือแม้แต่หนึ่งสัญญาณดังกล่าว คนรอบข้างก็ควรให้ความสนใจและเฝ้าดูความเคลื่อนไหว พร้อมทั้งรับฟังเค้าอย่างเข้าใจ ไม่ต่อว่า ไม่ท้าทายให้ทำร้ายตัวเอง หรือไล่ให้ไปตายจริง ๆ เพราะความเข้าใจ และการรับฟัง จะช่วยเยียวยาจิตใจของคนที่คิดอยากฆ่าตัวตายได้มาก หรือทางที่ดี จะพาเขาไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการซึมเศร้าและคลายปัญหาที่มีอยู่ก็ได้นะคะ

          นอกจากนี้ หากพบสัญญาณฆ่าตัวตายจากคนรอบข้างขึ้นมาจริง ๆ ทางกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ก็มีคำแนะนำดี ๆ มาเป็นแนวทางปฏิบัติ มาดูกันค่ะว่า เมื่อพบเห็นสัญญาณฆ่าตัวตายจากคนข้างกาย เราจะทำยังไงกันดี

โรคซึมเศร้า

8 สิ่งที่ควรรีบทำ เมื่อเห็นสัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตายในโลกโซเชียล

          1. แสดงความช่วยเหลืออย่างเต็มใจ รับฟังปัญหาของเขาอย่างตั้งใจ หรือให้คำแนะนำอย่างจริงใจ

          2. ยอมรับว่าสิ่งที่เขาโพสต์นั้นเป็นปัญหาของเขาจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

          3. ให้กำลังใจ คอยอยู่เคียงข้างเขา และทำให้เขาเห็นว่าปัญหานั้นสามารถแก้ไขและผ่านไปได้
          
          4. พิมพ์ข้อความให้คำปรึกษา ปลอบใจให้เขามีสติ ค่อย ๆ คิดหาทางแก้ไขปัญหา

          5. ชักชวนให้เขาออกมาทำกิจกรรมข้างนอก พยายามอย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว

          6. ถ้าไม่ใช่คนในครอบครัว ให้บอกญาติเขาให้ดูแลอย่างใกล้ชิด และพยายามให้เขาอยู่ห่างจากอุปกรณ์ที่เขาอาจเตรียมไว้ทำร้ายตัวเอง

          7. แนะนำช่องทางการขอรับคำปรึกษา เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือคลินิกให้การปรึกษา 

          8. ติดต่อหาแหล่งช่วยเหลือในพื้นที่เท่าที่จะทำได้ เช่น ผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์

ข่าวเด่นประจำวัน

 u640 1

  โรคซึมเศร้า เราเป็นหรือไม่เป็น ? เช็กเบื้องต้นได้ง่าย ๆ จากแบบทดสอบของกรมสุขภาพจิต 

          โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ เกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พันธุกรรม สารเสพติด หรือโรคทางกาย และปัจจัยด้านจิตสังคมและลักษณะนิสัย เช่น ความเครียด ความผิดหวัง การมองโลกในแง่ร้าย  ส่งผลให้เกิดอาการท้อแท้ ง่วง ซึม หงุดหงิดง่าย รู้สึกเบื่อหน่าย มีอารมณ์เศร้า นอนหลับยาก ไม่ค่อยมีแรง ทำอะไรช้าลง อยู่ไม่นิ่ง รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่สามารถทำงานปกติได้ บางคนอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายตัวเองหรืออยากฆ่าตัวตายได้เลย โดยอาการต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นอยู่นานถึงประมาณ 2 สัปดาห์  

          รู้ไหมว่า กรมสุขภาพจิตได้เคยสำรวจพบว่า ปัจจุบันมีคนไทยถึง 1.5 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ส่วนมากเป็นวัยทำงานอายุ 25-59 ปี และผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 1.7 เท่า ที่น่ากังวลก็คือ มีผู้ป่วยหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ หรือบางคนที่รู้ก็ไม่ยอมเข้ารับการรักษา จากผลการสำรวจบอกว่ามีผู้ได้รับการตรวจรักษาแค่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่โรคนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ 

 

          ดังนั้นเพื่อตรวจสอบตัวเองว่ามีอาการเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า เราเลยมีแบบทดสอบจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มาให้ลองทำกันดู เพื่อให้ทุกคนได้เช็กตัวเอง และหาแนวทางป้องกันกันต่อไป ลองทำได้จากภาพข้างล่างเลยค่ะ

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า



          หากทำแบบทดสอบแล้วพบว่าตัวเองไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า เราอยากให้ลองช่วยกันสังเกตคนอื่น ๆ แล้วเช็กว่าเขามีอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า หรือถ้าใครมีคนใกล้ตัวเป็นโรคนี้ โปรดเข้าใจ ช่วยเหลือ รับฟัง และให้กำลังใจเขา เพื่อให้เขามีความหวังและสู้ต่อไป

          แต่หากทำแบบทดสอบแล้วพบว่าคุณมีภาวะซึมเศร้า หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ ควรหาเวลาไปพบเพื่อนหรือครอบครัวบ่อย ๆ ระบายความเศร้าหรือเรื่องราวต่าง ๆ กับคนที่ไว้ใจ ทำกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข ลองปรับเปลี่ยนความคิดตัวเองให้ดีขึ้น อย่ากลัวโรคซึมเศร้า ยอมรับและพยายามหาทางรักษา งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคซึมเศร้าค่ะ 

โรคซึมเศร้า

          แต่ถ้าหากคุณเริ่มมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเองเมื่อไหร่ ควรรีบพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อขอความช่วยเหลืออย่างเร็วที่สุด เพราะคุณอาจทำร้ายตัวเอง และมีแนวโน้มในการฆ่าตัวตายสูง  

          สุดท้ายนี้อย่าลืมนะคะว่าโรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ โดยมีวิธีการรักษามากมาย ทั้งการใช้ยา พบแพทย์ ทำจิตบำบัด ปรับเปลี่ยนมุมมอง ดังนั้นควรยอมรับให้ได้ รีบหาทางรักษา เข้ารักษาอย่างต่อเนื่อง อย่าสิ้นหวัง และควรบอกคนใกล้ตัวเพื่อให้เข้าใจและช่วยเหลือกันต่อไปด้วยนะคะ 

ข่าวเด่นประจำวัน

e adfkoqsuwz38

 

วิธีสังเกตอาการ “โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง”

โดย MGR Online 27 เมษายน 2560 14:08 น. (แก้ไขล่าสุด 27 เมษายน 2560 14:21 น.)

กรมการแพทย์แนะวิธีสังเกตอาการ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชี้มีอาการเตือนกล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และ ลีบเล็กลงเรื่อยๆ พูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจติดขัด และหอบเหนื่อยจากการหายใจไม่เพียงพอ หากพบสัญญาณเตือนดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยรักษาให้เร็วที่สุด

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis) จัดเป็นโรคที่พบมากที่สุดในกลุ่มโรคเสื่อมของเซลล์ควบคุมกล้ามเนื้อ ทั้งในส่วนของสมอง และไขสันหลัง โดยมีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และลีบเล็กลงเรื่อยๆ บริเวณมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน และจะค่อยๆ เป็นมากขึ้น จนลามไปทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับมีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง หรือกล้ามเนื้อกระตุก ต่อมาจะมีอาการพูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจติดขัด และหอบเหนื่อยจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง จนกระทั่งเสียชีวิต ส่วนใหญ่ร้อยละ75 จะพบอาการเริ่มแรกที่แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่งก่อน ร้อยละ 25 ผู้ป่วยที่แสดงอาการครั้งแรกด้วยการกลืนหรือพูดลำบาก ส่วนสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดจากพันธุกรรม โรคดังกล่าวมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่เกิดในช่วงอายุ 40 - 60 ปี

วิธีการสังเกตอาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ แขน หรือ ขา หรือมีอาการกลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน ร่วมกับอาการกล้ามเนื้อลีบและกล้ามเนื้อเต้นกระตุก โดยอาการอ่อนแรงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยรักษา โดยแพทย์อายุรกรรมสาขาประสาทวิทยาที่มีประสบการณ์ จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยการตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้า

ทั้งนี้ การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ส่วนยาในปัจจุบันที่มีการยอมรับในวงการแพทย์ ช่วยชะลอการดำเนินของโรคได้มีเพียงยา Riluzole โดยมีฤทธิ์ในการยับยั้งสารกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ชนิดหนึ่งซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดการตายของเซลล์ นอกเหนือจากการใช้ยาแล้ว การให้กำลังใจผู้ป่วยไม่ให้เกิดการท้อแท้และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมและทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรง เพื่อป้องกันการลีบที่เกิดจากภาวะที่กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งานนานๆ และป้องกันการติดของข้อ การรับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีปัญหานอนราบไม่ได้หรือเหนื่อย เนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจที่บ้าน จะทำให้ผู้ป่วยนอนได้ไม่เหนื่อย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ข้อมูลข่าวโดย หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ฉบับวันที 28 เมษายน 2560

 

ข่าวเด่นประจำวัน

บทความด้านสุขภาพจิต

 แรงเสริมที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิต คำชมจากพ่อแม่คือยาชูกำลัง

แรงเสริมที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิต คำชมจากพ่อแม่คือยาชูกำลังความมั่นใจแก่เด็ก

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 27 เม.ย. 2560 05:15

คำชมนับเป็นยาชูใจของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำชื่นชมจากพ่อแม่ ถือเป็นแรงเสริมทางบวกที่จะช่วยให้ลูกๆประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เพื่อเสริมสร้างการเลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์ในยุคปัจจุบัน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดย พญ.ถิรพร ตั้งจิตติพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้เผยเทคนิคการเลี้ยงลูกเพื่อให้เกิดความภูมิใจในตัวเอง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปประยุกต์ใช้ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของลูกๆ ในครอบครัวไทยยุค 4.0

คุณหมอถิรพรกล่าวว่า ในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต เป็นช่วงเวลาที่เด็กอยู่ใกล้ชิดกับพ่อแม่มากที่สุด ซึ่งเด็กจะมีวิวัฒนาการและการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เด็กในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้จากพฤติกรรม และดูว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ดังนั้น การที่พ่อแม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง และลองผิดลองถูกในการแก้ปัญหา จะยิ่งเพิ่มความสามารถและความภาคภูมิใจให้กับลูกได้ ซึ่งพ่อแม่เปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนให้ลูกรู้ว่า สิ่งที่ลูกทำเป็นสิ่งที่ดี ผ่านการชมเชย แต่จุดอ่อนทีพบเจอได้บ่อยๆ จนทำให้ลูกไม่มีการพัฒนาความมั่นใจในตนเอง คือ การไม่ให้โอกาสแก่ลูกได้ช่วยเหลือตนเอง และไม่ค่อยได้ชื่นชมลูก จะคอยแต่ตำหนิติเตียน หรือเรียกว่าการจับผิดมากกว่าจับถูก ซึ่งสิ่งสำคัญเหล่านี้พ่อแม่ควรทราบและนำมาปฏิบัติให้ถูกวิธีก่อน

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นอธิบายต่อว่า การสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกๆ ควรอยู่ในอัตราส่วน คำชม 5 ครั้งต่อการดุ 1 ครั้ง คือพ่อแม่จะต้องคอยมองว่า ลูกสามารถทำสิ่งที่พ่อแม่ชอบได้ เมื่อทำถูกต้องก็ต้องกล่าวชมลูก เพื่อทำให้ลูกสุขใจและเรียนรู้ที่จะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 หลักใหญ่เข้าด้วยกันคือ ชมถึงพฤติกรรม พฤติกรรมนั้นเรียกว่าคุณสมบัติอะไร และความรู้สึกของพ่อแม่ อาทิ “ลูกเก่งมากที่ทำการบ้านเสร็จ หนูเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ แม่ภูมิใจในตัวหนูนะ” สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พ่อแม่ต้องรู้สึกอย่างนั้นกับลูกจริงๆ อย่าแกล้งชม การเจาะจงชมเมื่อมีพฤติกรรมอันเหมาะสม หรือชื่นชมในความพยายาม จะทำให้เด็กๆ พร้อมเผชิญความท้าทายต่างๆ ในอนาคตได้ดีกว่าเด็กๆ ที่พ่อแม่ชมแบบกว้างๆ อย่างคำว่า “ดีจัง หรือเก่งจัง” การชมโดยเจาะจงที่พฤติกรรมทำให้เด็กๆรู้ว่า เขามีศักยภาพและความสามารถอย่างไร ทำให้เด็กๆ เรียนรู้ว่า ความพยายามเป็นทักษะที่จำเป็นในชีวิต แต่ในขณะเดียวกันการชมลูกด้วยประโยคว่า เช่น เก่งที่สุดในโลก หรือดีที่สุดในโลก หากพูดติดปากเป็นประจำก็อาจทำให้เด็กหลงคิดว่าตนเองนั้นเก่งและดีที่สุดในโลกจริงๆ จนยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง หรืออาจคิดเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นเสมอ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านทักษะการเข้าสังคมในอนาคตได้

ท้ายสุดการชมของพ่อแม่ที่ไม่ได้ฝึกพูดบ่อยๆ จะทำให้ดูขัดเขินซึ่งไม่เป็นผลดี ดังนั้น พ่อแม่ควรเริ่มต้นในการชมกันเองก่อน เพื่อให้พร้อมในการชมลูกได้ติดปาก โดยไม่ต้องกลัวว่า จะชมลูกมากเกินไปแล้วลูกจะเหลิง เพราะการชมนอกจากจะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองแล้ว ยังเป็นการช่วยสร้างสัมพันธภาพของลูกกับพ่อแม่ ได้เรียนรู้ว่าพ่อแม่ยอมรับตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นเด็กที่เก่ง ดี และมีความสุขต่อไป.

ข้อมูลข่าวโดย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ออนไลน์ ฉบับวันที 27 เมษายน 2560

 

ข่าวเด่นประจำวัน

aHR0cDovL3BlMS5pc2Fub29rLmNvbS9ucy8wL3VkLzE2Ni84MzQyMDQvZ29sZC5qcGc

 

บทความด้านสุขภาพจิต

 ยืนยันรัฐบาลไม่ล้มเลิกบัตรทอง 30 บาท

ยืนยันรัฐบาลไม่ล้มเลิกบัตรทอง 30 บาท

"รมว.สธ." ยืนยันรัฐบาลไม่ล้มเลิกบัตรทอง 30 บาท และจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อประชาชนรับประโยชน์สูงสุด

จากกรณีข่าวรัฐบาลจะพยายามยกเลิกโครงการบัตรทอง ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวยืนยันว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงประชาชนไม่ต้องกังวล รัฐบาลไม่มีนโยบายล้มเลิกโครงการนี้อย่างแน่นอน มีแต่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกันพัฒนาระบบบริหารจัดการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการดูแลและปรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดประโยชน์สูงสุด ได้รับการบริการที่ดียิ่งขึ้นและระบบสุขภาพมีความยั่งยืน

“ระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย สามารถเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ และได้รับเชิญให้นำเสนอประสบการณ์ดำเนินงานในการประชุมเวทีระดับโลก เป็นต้นแบบให้หลายประเทศเข้ามาศึกษา ดูงาน นอกจากนี้ในปีนี้คณะรัฐมนตรียังอนุมัติงบกลาง 5,000 ล้านบาท ให้กระทรวงสาธารณสุขใช้ในการพัฒนาระบบบริการ อาทิ การดูแลรักษาผู้ป่วยใน และผู้ป่วยทารกวิกฤต” ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าว

ด้านนพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทองยังเดินหน้าต่อไปรัฐบาลไม่เคยยกเลิกโครงการ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพิ่งอนุมัติงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2561 ซึ่งได้รับเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2560 ถึงร้อยละ 4.28 คิดเป็นเงิน 7,088.29 ล้านบาท ขณะที่งบเหมาจ่ายรายหัวก็ได้รับ 3,197.32 บาทต่อประชากร โดยได้รับเพิ่มขึ้นหัวละ 87.45 บาท จากปี 2560 ที่ได้รับ 3,109.87 บาทต่อประชากร ขณะเดียวกันคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังได้พัฒนาสิทธิประโยชน์ และคุณภาพบริการเพิ่มขึ้นตลอดเวลาเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีที่สุด

“สปสช. ขอยืนยันว่าข่าวที่มีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์ว่ารัฐบาลจะยกเลิกโครงการ 30 บาทหรือระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น เป็นข่าวที่ไม่มีมูลความจริง สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือรัฐบาลกำลังพัฒนาให้ระบบดีขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

ข้อมูลข่าวโดย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ฉบับวันที 28 เมษายน 2560

 

Subcategories

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

    ความเครียด!!!

    วามเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ

    ลกระทบที่ได้จากความเครียด
       
    -
    ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
        - ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
        - ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น

    าเหตุของความเครียด
        1.จากตัวเอง
           อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
        2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
           ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี

  • ข่าวเด่นประจำวัน

    วามเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ

    ลกระทบที่ได้จากความเครียด
       
    -ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
        - ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
        - ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น

    าเหตุของความเครียด
        1.จากตัวเอง
           อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
        2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
           ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page