ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ข่าวเด่นประจำวัน

a

ปัจจุบันการเจ็บป่วยจากภาวะเครียดในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องใกล้ตัวที่พบได้บ่อย สามารถแสดงอาการได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ยังมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์อีกชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่ยากนัก โดยที่ผู้คนในสังคมจำนวนมากยังไม่รู้จักหรือคุ้นเคย แม้แต่คนที่ป่วยเองก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองป่วยและไม่ยอมรับ ทำให้ขาดการดูแลรักษาที่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหา หรือความเสียหายได้มากมาย ทั้งกับตนเอง และความทุกข์ใจแก่คนในครอบครัวหรือคนรอบข้างได้ โรคที่กำลังกล่าวถึงนี้ ก็คือ โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือ โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว การมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ช่วยให้สามารถเข้าใจและให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีอาการได้อย่างถูกวิธี รวมทั้งสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากอาการของโรคนี้ได้

 

ไบโพลาร์คืออะไร

 

โรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่มีความผิดปกติของอารมณ์เป็นหลัก มีอาการแสดงออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการแมเนีย (Mania) คือ อารมณ์ดี หรือคึกคัก สนุกสนาน และกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depress) จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (ขั้วบวก = แมเนีย และ ขั้วลบ = ซึมเศร้า)

 

โดยปกติคนเราในแต่ละวัน มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในระดับหนึ่งแล้วกลับมาเป็นปกติ ดำเนินชีวิต รับผิดชอบหน้าที่การงาน ครอบครัว สังคมได้ แต่คนที่มีอารมณ์ผิดปกติ คือ เกิดอารมณ์บวกหรืออารมณ์ลบเป็นเวลา 1 – 2 สัปดาห์ขึ้นไป ไม่สามารถกลับเข้าสู่อารมณ์ปกติได้ จนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงาน ครอบครัว หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้

 

ลักษณะอาการ

กลุ่มอาการแมเนีย เป็นช่วงเวลาที่อารมณดี ครึกครื้น แสดงออกอย่างเต็มที่ พูดมาก พูดเร็ว พูดไม่ยอมหยุด ความคิด พรั่งพรู มีโครงการมากมายเป็นร้อยเป็นพันล้าน รู้สึกว่าตนเองเก่ง มีความสามารถมาก มีความสำคัญมาก ความมั่นใจในตนเองสูง เรี่ยวแรงเพิ่ม นอนน้อยกว่าปกติ บางรายนอนเพียงวันละ 1 – 2 ชั่วโมงเท่านั้น โดยไม่มีอาการอ่อนเพลีย สมาธิไม่ดี วอกแวก สนใจไปทุกสิ่งทุกอย่าง หุนหันพลันแล่น การตัดสินใจไม่เหมาะสม เช่น ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ซื้อของแพง มากมายเกินจำเป็น ซื้อทีละเยอะๆ แจกคน เล่นการพนัน ก่อหนี้สินมากมาย ทำเรื่องเสี่ยงอันตราย ผิดกฎหมาย ชอบเที่ยวกลางคืน ความต้องการทางเพศสูง มีพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม บางคนหงุดหงิดก้าวร้าวได้ง่ายเมื่อถูกขัดใจ คนที่มีอาการแมเนียจะไม่รู้สึกว่าตัวเองผิดปกติ คิดว่าช่วงนี้ตนเองอารมณ์ดี สบายใจ รู้สึกขยัน อยากทำงาน มักปฏิเสธการรักษา ซึ่งอาการเกิดขึ้นตลอดเวลาเกือบทั้งวัน ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์

 

ข่าวเด่นประจำวัน

1547261221131

กรมสุขภาพจิต เผยจากผลสำรวจอาชีพในฝันของเด็กไทยล่าสุด 2 อันดับแรก คือ หมอ และ ครู บ่งชี้ว่าเด็กรุ่นใหม่ มีความคิดเรื่องการช่วยเหลือสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ขณะเดียวกันก็พบว่าอาชีพที่มาแรงติด 5 อันดับแรกอาชีพในฝันของเด็กไทยเป็นปีแรก  คือ นักกีฬาอีสปอร์ต และนักแคสเกม  ทำให้มีข้อกังวลว่า แม้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้จากสิ่งที่ชอบ แต่มีคนเพียงส่วนน้อยที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ แนะจะดีกว่าถ้าเลือกทำงานที่มั่นคง ไปพร้อมๆกับทำงานที่ชอบ

 นายแพทย์เกียรติภูมิ  วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า จากผลสำรวจอาชีพในฝันของเด็กไทย ครั้งที่ 10 ปี 2562 โดยกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ได้ทำการสำรวจเด็กไทยที่มีอายุ 7-14 ปี จำนวน 2,684 คน พบว่า อันดับ 1 คือ หมอ ซึ่งเป็นอาชีพที่เด็กไทยใฝ่ฝันอยากทำมากที่สุด เนื่องจากเป็นอาชีพที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้บุญ และมีรายได้ดี อันดับ 2 คือ ครู ด้วยเหตุผลอยากสอนเด็กไทยให้เป็นคนดีมีความรู้ อันดับ 3 คือ นักกีฬา โดยส่วนใหญ่อยากเป็นนักฟุตบอล เพราะรักในการเล่นฟุตบอล อันดับ 4 คือ ทหาร และอันดับ 5 ที่น่าสนใจ คือ อาชีพนักกีฬาอีสปอร์ตและนักแคสเกม เพราะเป็นอาชีพในฝันของเด็กไทยรุ่นใหม่ที่มาแรงติด 5 อันดับแรก โดยปีนี้เป็นปีแรก ซึ่งจากผลการสำรวจดังกล่าว เป็นที่น่าชื่นชมว่า เด็กรุ่นใหม่มีความคิดต้องการมีอาชีพช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือประชาชน อย่างหมอ  ครู ทหาร ที่ล้วนเป็นอาชีพฐานรากในการสร้างอนาคตของชาติ  ลดความกังวลของหลายฝ่ายที่มองว่า  หากในอนาคตเด็กรุ่นใหม่ไม่สนใจอาชีพรับราชการประเทศอาจพัฒนาไปข้างหน้า โดยขาดพื้นฐานที่แข็งแรงได้  

             อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ อาชีพในฝันของเด็กไทยที่มาแรงในอันดับที่ 5 ของปีนี้ คือ นักกีฬาอีสปอร์ตและนักแคสเกม ซึ่งเป็นการดีที่เด็กเล็งเห็นว่า สามารถสร้างรายได้จากสิ่งที่ชอบ และอาจนำไปสู่ชื่อเสียงในอนาคตได้  แต่ความจริงที่ต้องคำนึงถึงไปพร้อมกัน คือ อาชีพดังกล่าวมีเพียงคนส่วนน้อยมาก ที่จะประสบความสำเร็จ มีรายได้เลี้ยงชีพ   หากเด็กรุ่นใหม่มุ่งหวังแต่จะทำงานที่ตัวเองชอบเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีแผนสำรองของชีวิต หากเกิดเหตุที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพที่ตัวเองชอบดังกล่าว ก็อาจพลาดทางเลือกอาชีพอื่นๆ ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้  การตั้งเป้าหมายอาชีพในอนาคต จึงควรมองทั้งความมั่นคงและความชอบ  เพราะหากเลือกอาชีพในอนาคตที่มั่นคงเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ชอบก็อาจทำได้ไม่นาน ตรงข้ามหากชอบอย่างเดียวแต่ไม่มั่นคง ก็อาจทำให้ชีวิตในอนาคตเดือดร้อนได้ จึงควรมองปัจจัยทั้ง 2 ด้าน โดยอาจทำงานที่ชอบ และงานที่มั่นคงไปพร้อมๆกัน ก็ย่อมเป็นการดีกว่าการทุ่มเทเพื่อเป้าหมายอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

ข่าวเด่นประจำวัน

132477


            วันนี้ (6 มีนาคม 2562) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร กรมสุขภาพจิตได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมสุขภาพจิตโดยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมควบคุมโรค สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่องการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติด ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบของผู้ใช้ยาเสพติดบางรายที่มีอาการทางจิตและส่งผลกระทบต่อสังคม โดยมีแนวทางการบูรณาการร่วมกันในการเฝ้าระวังและเผชิญเหตุความรุนแรง ภายใต้ภารกิจตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพจิต พ.ศ.2551
            ตามความร่วมมือครั้งนี้ มีข้อตกลงดำเนินการ 5 มาตรการหลัก ได้แก่ 1. จัดตั้งกลไกการอำนวยการและติดตามเครือข่ายการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติด 2. กำหนดและสื่อสารแนวทางการดำเนินงานการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติด 3. พัฒนาศักยภาพบุคลากรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการตามระบบการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติด 4. ให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติด และ 5. สนับสนุน ประสาน กำกับ ติดตาม และให้การดูแลช่วยเหลือในภาวะวิกฤตฉุกเฉิน โดยการบำบัดฟื้นฟูและรับส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติด เพื่อลดการก่อเหตุรุนแรงในสังคม ตามแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551
            อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันได้ปรากฎข่าวผ่านสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลกระทบของปัญหายาเสพติดจากผู้ใช้ยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ซึ่งสถานการณ์ผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย พบ ผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง ใน 1 ปี จำนวน 1.4 ล้านคน เป็นผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวน 1.1 ล้านคน และเป็นผู้ติดสารเสพติด จำนวน 3.2 แสนคน ในจำนวนนี้เข้าสู่ระบบการบำบัดของกรมสุขภาพจิต จำนวน 24,196 คน โดยพบว่าเป็นผู้ป่วยจิตเวชติดสารเสพติดรุนแรง จำนวน 5,757 คน และเป็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) จำนวน 577 คน นอกจากนี้ ยังพบสถิติผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุรุนแรงในสังคมเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น 3.92 เท่า ในปี 2561 ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุรุนแรง จำนวน 267 ราย แบ่งเป็นชายจำนวน 259 ราย และเป็นหญิงจำนวน 7 ราย สำหรับลักษณะของการก่อความรุนแรงในสังคม พบมีการทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่นมากที่สุด จำนวน 90 คน รองลงมาเป็นการทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย จำนวน 58 คน และทำลายข้าวของ จำนวน 44 คน ตามลำดับ ทั้งนี้ จากรายงานพบว่า ผู้ที่ก่อเหตุรุนแรงในข่าวเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่เคยเข้ารับการบำบัด จำนวน 104 คน ซึ่งการสังเกตเฝ้าระวังพฤติกรรมและอาการที่เข้าข่ายเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา ได้แก่ หูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวงไร้เหตุผล อยากฆ่าตัวตาย ทำร้ายตนเอง ทำร้ายคนอื่น พูดจาก้าวร้าว พูดจาเพ้อเจ้อ หลงผิด และแต่งกายแปลกกว่าคนปกติ
            อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า คนในครอบครัว ชุมชน และสังคมสามารถมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังดูแลได้ ดังนี้ 1. ครอบครัว/ญาติ/อสม./บุคคลที่พบเหตุ สามารถประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีอาการกำเริบ เฝ้าระวัง สังเกตสัญญาณเตือนในการก่อความรุนแรง เช่น ขีดข่วนหรือกรีดตัวเองเป็นรอยแผล ตะโกนด่าผู้อื่นด้วยคำหยาบคายรุนแรง ข่มขู่จะทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ พกพาหรือสะสมอาวุธโดยไม่สมเหตุสมผล รื้อหรือขว้างปาข้าวของกระจัดกระจาย ทำลายสิ่งของจนแตกหัก เป็นต้น ควรควบคุมพฤติกรรม หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ประสานและส่งต่อข้อมูล 2. แกนนำ/ผู้นำชุมชน/เจ้าหน้าที่/ตำรวจ รับแจ้งเหตุ และช่วยประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วยเจรจาต่อรอง หลังจากผู้ป่วยหายป่วยแล้วลงเยี่ยมบ้านให้กำลังใจ 3. เทศบาลและองค์กรบริหารส่วนตำบล/หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนรถและสวัสดิการต่างๆ ในการประสานและนำส่งต่อ และ 4. ประชาชนทั่วไป ร่วมเฝ้าระวัง สังเกตอาการผิดปกติ และสัญญาณเตือนต่างๆ หากพบเห็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในสังคม สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งเหตุฉุกเฉิน โทร. 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อนำตัวเข้ารักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลจิตเวชต่อไป

 

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page