ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ข่าวเด่นประจำวัน

ปาทานหมู่ คืออะไร โรคติดต่อทางใจ ใช่ไสยศาสตร์

อุปาทานหมู่

          อุปาทานหมู่ คืออะไร รู้ไหมว่าเบื้องหลังอาการที่เหมือนจะลี้ลับ จริง ๆ แล้วมีคำอธิบายตามหลักจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์ซ่อนอยู่

          ได้เห็นจากข่าวกันก็บ่อยที่กลุ่มคน กลุ่มเด็กนักเรียน ทำพิธีอะไรบางอย่าง แล้วจู่ ๆ ก็เกิดอาการเหมือนผีเข้า กรีดร้อง ชักเกร็งกันยกคณะ ซึ่งลักษณะแบบนี้เราจะเรียกว่าอุปาทานหมู่ใช่ไหมคะ แต่รู้หรือเปล่าว่าอุปาทานหมู่เกิดขึ้นได้อย่างไร อุปาทานหมู่จะเป็นเรื่องลี้ลับไหม มาหาคำอธิบายตามหลักจิตวิทยากัน
 
อุปทานหมู่

อุปาทานหมู่ คืออะไร

          อุปาทานหมู่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Mass hysteria อุปาทานหมู่จัดเป็นโรคติดต่อทางจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดกับบุคคลตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยส่วนมากจะเกิดในกลุ่มคนที่มีความคิด ความเชื่อ หรือมีลักษณะแวดล้อมบางอย่างร่วมกัน มีการเผชิญปัญหา ความกดดันเดียวกัน จึงก่อให้เกิดอาการทางกายในลักษณะคล้ายกันขึ้นมา โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยทางกายมาเกี่ยวข้อง

อุปาทานหมู่ เกิดกับใครได้บ้าง

          ส่วนใหญ่แล้วอุปาทานหมู่มักจะเกิดกับเด็ก วัยรุ่น เพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักจะเกิดอาการอุปาทานหมู่กับคนที่มีสภาพจิตใจไม่ค่อยมั่นคงได้ง่ายกว่าคนที่มีสภาพจิตใจหนักแน่น 

อุปาทานหมู่ เกิดจากอะไร

          ทางจิตวิทยาอธิบายไว้ว่า การเกิดอุปาทานหมู่ เริ่มจากบุคคลหนึ่งเจ็บป่วยหรือมีภาวะเครียด แล้วแสดงอาการออกมา ซึ่งจะเป็นตัวเหนี่ยวนำให้คนอื่น ๆ แสดงอาการตาม ก่อให้เกิดอุปาทานหมู่ขึ้นมาได้

          อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นของการเกิดอุปาทาน ก็เป็นไปได้ว่าจะมีสาเหตุมาจากความกดดัน ความตื่นเต้น ความรู้สึกกลัวบางอย่าง จนทำให้เกิดอาการผิดปกติทางกายภาพ เช่น หายใจเร็วและแรง ร่างกายชักเกร็ง ตัวสั่น ซึ่งอาจเหนี่ยวนำให้คนอื่น ๆ ที่มีความกดดัน ความรู้สึกกลัว หรือตื่นเต้นในสถานการณ์เดียวกัน มีอาการแบบเดียวกันด้วยก็ได้

อุปาทานหมู่ อาการเป็นยังไง

          เมื่อเกิดอุปาทานหมู่ จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดท้อง เกร็งท้อง อ่อนเพลีย หายใจลำบาก หรือหายใจหอบเร็ว ชักเกร็ง เป็นลม หมดสติ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงแค่ชั่วคราว และมักจะตรวจหาสาเหตุของอาการทางกายไม่พบ

          ทว่าจิตแพทย์ก็ได้อธิบายว่า เมื่อคนเรารู้สึกตื่นเต้นหรือกลัวในบางสิ่ง ร่างกายจะเกิดภาวะไฮเปอร์ คือหายใจหอบเร็วผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเยอะเกินไป ซึ่งการที่ร่างกายมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าปกติ ก็อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อมีอาการชักเกร็ง มีอาการชา มึนงง และอาจหมดสติได้ในบางคน


อุปทานหมู่

อุปาทานหมู่ รักษาได้ไหม

          
แม้แพทย์จะตรวจหาสาเหตุของอาการอุปาทานหมู่ไม่ได้ แต่เอาเข้าจริงแล้วเรามีวิธีรักษาอาการอุปาทานหมู่ที่ทำได้ไม่ยาก ดังนี้เลยค่ะ

1. แยกผู้ป่วยออกจากกัน


          พยายามแยกผู้ป่วยคนแรกที่เกิดอาการออกมาจากกลุ่มเพื่อทำการรักษาด้วยการตรวจวิเคราะห์ร่างกายเบื้องต้น เมื่อผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ได้พักผ่อนสักพัก อาการก็จะกลับเป็นปกติได้ และหากเป็นไปได้ให้พยายามแยกผู้ป่วยที่มีอาการทั้งหมดออกจากกัน จัดให้ไปอยู่ในห้องที่เงียบสงบเพื่อระงับสติอารมณ์ด้วย

2. รักษาตามอาการที่เป็น

          หากสังเกตเห็นผู้ป่วยอุปาทานหมู่มีอาการหายใจแรงผิดปกติ ให้รักษาด้วยการใช้ถุงกระดาษครอบหน้า เพื่อให้เขาหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไป ไม่นานอาการหายใจหอบแรงก็จะบรรเทาลงได้เอง

3. รักษาด้วยจิตบำบัด

          ทั้งแบบบุคคลและแบบกลุ่ม เมื่ออาการทางกายหายแล้ว แต่สภาพจิตใจยังหวาดกลัว หรือฝังใจเชื่อในเรื่องเดิม ๆ อยู่ ก็อาจกลับมาเป็นอุปาทานหมู่ได้อีกครั้ง ดังนั้นควรมีหน่วยงานด้านจิตวิทยาเข้าไปบำบัด พูดคุยให้ผู้ป่วยเข้าใจสถานการณ์ และอาการที่เป็นอยู่ หรืออาจต้องอาศัยผู้นำชุมชน ผู้นำโรงเรียน เข้ามาแก้ไขความเชื่อนั้น ๆ หรือจัดทำพิธีขอขมาเพื่อลบล้างความผิด เพื่อให้ผู้ป่วยอุปาทานหมู่เกิดความรู้สึกสบายใจก็ได้

          อ่านมาถึงบรรทัดนี้คงเข้าใจกันแล้วนะคะว่าอาการอุปาทานหมู่มีที่มาที่สามารถอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งเราก็เชื่อว่าหากทุกคนมีความเข้าใจในอาการนี้ ก็จะมีสติ และลดโอกาสที่จะเกิดอุปาทานหมู่ในครั้งต่อ ๆ ไปได้เช่นกัน

ข่าวเด่นประจำวัน

โรคเกลียดเสียง

          ถ้ารู้สึกรำคาญเสียงเคี้ยวอาหาร เสียงกลืนน้ำลาย หรือเสียงจิ๊จ๊ะรอบ ๆ กายจนพูดได้เต็มปากว่ากลียด ได้ยินแล้วเหมือนจะบ้า นี่คุณอาจป่วยโรคเกลียดเสียง หรือ โรค Misophonia อยู่ก็ได้

          อ่านไม่ผิดหรอกค่ะว่าอาการหงุดหงิดเสียงเคี้ยวอาหาร เสียงกดคีย์บอร์ด หรือเสียงเคาะโต๊ะ อาจเป็นอาการของโรคเกลียดเสียงหรือโรคมีโซโฟเนีย (Misophonia) ได้ เพราะในโลกนี้ก็มีคนป่วยด้วยโรคเกลียดเสียงอยู่มากพอสมควร และหากคุณก็รู้สึกมีอาการผิดปกติทุกครั้งที่ได้ยินเสียงน่ารำคาญเหล่านี้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณอาจเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ปวยโรคเกลียดเสียงอยู่นะ เอาเป็นว่ามาทำความรู้จักโรคเกลียดเสียง (Misophonia) และเช็กอาการไปในตัวเลยดีกว่า

 
โรคเกลียดเสียง

โรคเกลียดเสียง (Misophonia) คืออะไร

          โรคเกลียดเสียงหรือโรคมีโซโฟเนีย (Misophonia) คำว่า Miso แปลว่า เกลียด ส่วน Phon แปลว่า เสียง จึงกลายเป็นโรคเกลียดเสียง เรียกอีกอย่างได้ว่า โรคไวต่อเสียงบางอย่าง นับเป็นโรคจิตเวชอย่างหนึ่ง ซึ่งมีเสียงเป็นตัวเร้า และโดยส่วนมากเป็นเสียงที่ออกมาจากปาก เช่น เสียงเคี้ยวอาหาร เสียงหาว เสียงผิวปาก ทำให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อเสียงเหล่านั้นด้วยอาการที่ไม่ปกติ บางคนอาจรู้สึกรำคาญหนักมาก บางคนรู้สึกโกรธเกลียด หงุดหงิดทุกครั้งที่ได้ยินเสียงอันก่อกวนจิตใจ ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรงทั้งทางร่างกายและอารมณ์

โรคเกลียดเสียง

โรคเกลียดเสียง (Misophonia) เกิดจากอะไร

          โรคมีโซโฟเนียถูกสันนิษฐานว่าเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง โดย ดร.Sukhbinder Kumar นักวิทยาศาสตร์แห่ง U.K.'s Newcastle University ระบุว่า เป็นเพราะสมองของบางคนผลิตอารมณ์ตอบสนองที่มากเกินไป ยืนยันจากการวิจัยที่พบว่าสมองของผู้ป่วยโรคเกลียดเสียงมีการสั่งการสมองส่วนที่แสดงความรู้สึกนึกคิดอย่างไวเกินเหตุ ก่อให้ผู้ป่วยรู้สึกรุนแรงเมื่อได้ยินเสียงเร้าบางเสียง

          ทั้งนี้นักวิจัยพบว่า การตอบสนองของผู้ป่วยโรคเกลียดเสียงส่วนมาก มักจะมาในรูปอารมณ์โกรธซึ่งมักจะเป็นความรู้สึกโกรธที่ยากจะควบคุมซะด้วย


โรคเกลียดเสียง (Misophonia) เกิดกับใครได้บ้าง 

          จากสถิติแล้ว ผู้ป่วยโรคเกลียดเสียง จะเริ่มมีอาการในช่วงอายุระหว่าง 9-13 ปี และมักจะเกิดกับเด็กผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ โดยส่วนมากอาการจะค่อย ๆ เป็นทีละน้อย เกิดขึ้นไม่เร็ว จนอาจจับสังเกตอาการไม่ค่อยได้ในระยะแรก ๆ ทว่าต่อมาอาการจะเกิดถี่ขึ้น เป็นบ่อยขึ้นกับสถานการณ์ประจำวัน เมื่อนั้นถึงจะรู้ว่าป่วย

โรคเกลียดเสียง

โรคเกลียดเสียง (Misophonia) มีเสียงอะไรที่กระตุ้นได้บ้าง

          แม้ผู้ป่วยโรคเกลียดเสียงจะเกิดอาการกับเสียงที่ออกมาจากปากซะส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ แล้วเสียงที่กระตุ้นให้เกิดอาการโรคเกลียดเสียงได้ ก็มีอยู่หลายเสียงพอสมควร ซึ่งก็มีคร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ

          - เสียงที่มาจากปาก ทั้งเสียงรับประทานอาหาร เสียงบดเคี้ยว เสียงกัดอาหารกรอบ ๆ เสียงเรอ เสียงจูบ เสียงกัดเล็บ เสียงกระดกลิ้น ผิวปาก เสียงกัดฟัน เสียงฟันกระทบช้อน เสียงดูดไอศกรีม เสียงดูดน้ำ เสียงกลืนอาหาร เสียงกลืนน้ำลาย เป็นต้น

          - เสียงลมหายใจ เสียงฟืดฟาดจากจมูก 

          - เสียงจากลำคอ เช่น เสียงคนกระซิบกันเบา ๆ เสียงแหบ ๆ ใหญ่ ๆ เสียงคนร้องเพลงไม่เพราะ 

          - เสียงจากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงฝน เสียงน้ำไหล เสียงพิมพ์คีย์บอร์ด เสียงจากแป้นสมาร์ทโฟน เสียงคลิกเมาส์ เสียงเปิดหนังสือ เสียงพลิกหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่เสียงโทรศัพท์

          - เสียงเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เสียงเอี๊ยดจากจาน เสียงช้อน-ส้อมกระทบกัน เป็นต้น

          - เสียงพลาสติก เช่น เสียงจากการบีบขวดน้ำพลาสติก เสียงกรอบแกรบจากถุงพลาสติก เป็นต้น

          - เสียงจากการเปิดภาชนะอะไรก็ตาม

          - เสียงรถ เช่น เสียงสัญญาณกันขโมย เสียงปิดประตูรถ เสียงแตร เป็นต้น

โรคเกลียดเสียง

          - เสียงดังกระหึ่มจากแอร์คอนดิชั่นเนอร์ เสียงเครื่องตัดหญ้า เสียงจากเครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น

          - เสียงของบางคน หรือเสียงทุ้ม ๆ ของเบส เสียงทุ่มบาสเกตบอล หรือเสียงกระแทกประตู-หน้าต่าง

          - เสียงสัตว์ เช่น เสียงสุนัขเห่า เสียงนก เสียงตุ๊กแก เสียงกบร้อง เสียงแมวฝนเล็บ เป็นต้น

          - เสียงเด็กร้องไห้ เสียงเด็กตะโกน แม้กระทั่งเสียงผู้ใหญ่ดัดเสียงเป็นเด็ก

          - เสียงดังจากทีวีหรือวิทยุ

          - เสียงจากการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เสียงเคาะเท้า เสียงเดินลากเท้า เสียงดีดนิ้ว เสียงรองเท้าแตะ เป็นต้น

โรคเกลียดเสียง

โรคเกลียดเสียง (Misophonia) อาการเป็นยังไง

          ผู้ป่วยโรคเกลียดเสียง เมื่อได้ยินเสียงบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดอาการก็มักจะแสดงออกทางร่างกายหรือจิตใจดังนี้

          - อารมณ์เสีย หงุดหงิดอย่างมาก

          - รู้สึกไม่สบายทั้งทางกายและจิตใจ

          - รู้สึกอยากเผ่นหนี

          - รู้สึกรังเกียจ ขยะแขยง

โรคเกลียดเสียง

          ทว่าสำหรับคนที่อาการค่อนข้างหนัก อาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

          - รู้สึกโกรธ

          - รู้สึกเกลียดเสียงเหล่านี้มาก ๆ

          - เกิดอาการแพนิค (Panic) ใจสั่น เหงื่อแตก หายใจไม่ออก

          - รู้สึกกลัวอย่างรุนแรง

          - รู้สึกเหมือนจะตาย รู้สึกตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก

          - อยากทำลายหรือฆ่าคนที่ทำให้เกิดเสียงเพียงเพื่อจะหยุดเสียงอันน่ารำคาญนั้นไปซะ

          - มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ให้พ้นจากเสียงที่ได้ยิน

          อย่างไรก็ดี อาการของโรคเกลียดเสียงก็ขึ้นกับระดับความป่วยที่เป็น ดังนั้นหากคุณมีอาการรำคาญเสียงบางอย่างขั้นสุด ก็อย่าวางใจในความรำคาญนั้นนะคะ ทางที่ดีลองปรึกษาจิตแพทย์สักหน่อยดีกว่า

โรคเกลียดเสียง

โรคเกลียดเสียง (Misophonia) รักษาได้ไหม

          โรคเกลียดเสียงเป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

1. รักษาด้วยการบำบัดจิต

          วิธีรักษาโรคเกลียดเสียงด้วยการบำบัดทางจิต อาจใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก สามารถรักษาโดยการพูดคุย ปรับทัศนคติ และการฝึกฟังอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ ซึ่งการรักษาจะมุ่งฝึกฝนให้ผู้ป่วยรับมือกับเสียงที่ได้ยิน และฝึกควบคุมอารมณ์ของตัวเองเมื่อได้ยินเสียงเร้า 

2. รักษาด้วยยา


          ยาที่ใช้รักษาอาการโรคเกลียดเสียงจะเป็นกลุ่มยาต้านเศร้า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ลดความเครียด ความวิตกกังวลเมื่อได้ยินเสียงที่ไม่พึงประสงค์

          อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยโรคเกลียดเสียงก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์หรือนักจิตวิทยา ซึ่งอาจจะเลือกการรักษาวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้ทั้ง 2 วิธีควบคู่กันไปก็ได้

          สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองมีอาการที่เข้าข่ายโรคเกลียดเสียงอยู่ แต่คิดว่าอาการยังไม่หนักมาก จริง ๆ แล้วการพักผ่อนให้เพียงพอ และการออกกำลังกาย ก็สามารถช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล และช่วยให้คุณควบคุมอาการของโรคได้เช่นกัน หรือบางคนอาจใช้วิธีเลี่ยงอื่น ๆ เช่น หาเพลงมาฟัง หรือหลบไปสงบสติอารมณ์ในที่เงียบ สงบ เมื่อได้ยินเสียงที่รู้สึกรำคาญก็ได้เช่นกันนะคะ 

ข่าวเด่นประจำวัน

l600

10 นิสัยที่ควรละทิ้ง ถ้าไม่อยากให้ความสุขในชีวิตดิ่ง

 
          ถ้าเราติดกับความคิดว่าสิ่งนั้นก็เป็นไปได้ยาก สิ่งนี้ก็ทำไม่ได้ ชีวิตก็คงจมอยู่กับความเครียดและหาทางออกไม่เจอ แล้วอย่างนี้เราจะมีความสุขได้ยังไงถูกไหมคะ ดังนั้นอย่าไปคิดว่าชีวิตมันยาก ทำทุกอย่างให้เป็นเรื่องง่าย และคิดเสมอว่าทุกปัญหาย่อมมีทางออก และแม้ว่าปัญหาจะแก้ไม่ได้ในตอนนั้น ก็ลองทบทวนนิ่ง ๆ กับตัวเองสักพัก เพราะบางครั้งเราก็ต้องอาศัยจังหวะและเวลาที่เหมาะเจาะ เพื่อแก้อุปสรรคที่มีอยู่ไปได้อย่างฉลุย

2. ไม่ไว้ใจใคร
      
          คนที่ไม่ไว้ใจใครเลยย่อมต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ต้องเหนื่อยกับการทำทุกอย่างด้วยตัวเอง และต้องแบกทุกความรู้สึก ทุกความรับผิดชอบเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเขาคนนั้นก็คงมีชีวิตที่ไม่แฮปปี้เท่าไร ฉะนั้นหากเราอยากหลุดพ้นจากความทุกข์ตรมเหล่านั้น ลองเปิดใจและไว้ใจคนรอบข้างให้มากขึ้นสิคะ และลองเชื่อใจในความดีที่แต่ละคนมี วางความเชื่อใจของเราให้ถูกคน เพราะอย่าลืมว่ามนุษย์เรานั้นมีทั้งด้านที่ดีและด้านที่ด้อย ดังนั้นเราก็เลือกได้ว่าจะคบเขาในส่วนไหน จะพึ่งพาเขาในเรื่องใดได้บ้าง ขอแค่เพียงคุณเปิดใจให้กว้างขึ้น คุณก็จะจัดการชีวิตตัวเองเมื่ออยู่กับคนรอบข้างได้ดีขึ้นเช่นกัน

3. จับผิดไปซะทุกเรื่อง

นิสัยที่ควรละทิ้ง

          ถ้ารู้สึกตัวว่ามองอะไรก็ขัดหูขัดตา มีแต่คำตำหนิที่ติดปากอยู่ตลอด ให้เปลี่ยนนิสัยนี้เสียเถอะค่ะ เพราะนั่นแปลว่าคุณโฟกัสอยู่แต่ความผิดพลาด ซ้ำยังไม่ปล่อยวางและมองให้มันเป็นเรื่องธรรมดาซะด้วย วัน ๆ เลยมีแต่คำพูดว่า “ก็ดีนะ...แต่” หรือ “แบบนี้ไม่ถูกต้อง” อยู่ร่ำไป ซึ่งเชื่อเถอะว่าติไป หงุดหงิดใจกับความไม่ถูกต้องไปก็เครียดเปล่า ๆ ฉะนั้นปล่อยผ่านกับเรื่องที่เราไม่สามารถไปแก้ไขได้ และมองความผิดพลาดที่มีอยู่เกลื่อนกลาดให้เป็นเรื่องขำ ๆ บ้าง

4. เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
     
          ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบในแบบที่เราด้อยกว่าเขา หรือเขาด้อยกว่าเรา ก็ไม่ได้สร้างความสุขให้ใครได้เลย เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดการคิดเปรียบเทียบ มันหมายถึงเรายังไม่พอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ เรายังคาดหวัง เรายังอิจฉา หรือปรารถนาจะมี จะได้เหมือนคนอื่นเขา ซึ่งเมื่อไม่สมใจ ความทุกข์ก็มาเยือนแทนความสุขแน่นอนล่ะค่ะ งั้นเอาเป็นว่า หยุดคิดเปรียบเทียบตัวเองกับใคร แล้วมาโฟกัสแต่เรื่องของเรากันดีกว่า จะได้ไม่ทุกข์เนอะ

นิสัยที่ควรละทิ้ง

5. ตึงกับชีวิตมากเกินไป

      
          เป็นคนจริงจังกับชีวิตมันก็ดีค่ะ แต่ถ้าจริงจังมากเกินไป ควบคุมตัวเองจนแทบกระดิกไปไหนไม่ได้ ก็เป็นเราเองนี่แหละที่จะติดกับดักตัวเองจนไร้ซึ่งความสุข ฉะนั้นปล่อยไก่บ้าง ให้โอกาสตัวเองได้ผิดพลาดบ้าง หัวเราะให้กับการผิดแผนที่วางไว้บ้าง ตัวและใจเราก็จะเบาขึ้นเยอะ

6. กลัวอนาคต

          อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ฉะนั้นถ้าเรามัวแต่กังวลกับช่วงเวลาที่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น จะหมู่หรือจ่าก็ยังไม่รู้ ก็เหมือนเรากังวลทิ้งไปฟรี ๆ เครียดไปเปล่า ๆ ปลี้ ๆ ซึ่งมันไม่ได้ช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงไหมคะ เอาเป็นว่าเรื่องที่ยังไม่เกิด ยังไม่มาถึง ก็อย่าไปคิดถึงมัน ใช้ชีวิตในขณะปัจจุบันให้ดีที่สุดก็พอ

7. ขี้นินทา แถมยังขี้บ่น !
 
นิสัยที่ควรละทิ้ง

          สำหรับบางคนการนินทาไม่ใช่กิจกรรมที่ทำเพื่อความสนุกปากเท่านั้น แต่ยังเก็บรายละเอียดของเรื่องที่เม้าท์มาคิดต่อ มาเพิ่มความเครียดและน้ำหนักในใจให้ตัวเองอีก ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วเรื่องที่เรานินทา คนที่เราพูดถึง ก็ไม่ใช่เรื่องของเราสักนิด เลิกนิสัยที่ทำให้เสียเวลาชีวิตแบบนี้ซะเถอะค่ะ

          อ้อ ! กับคนที่เอาแต่บ่นคนอื่นก็เช่นกัน ถ้าเราไม่โฟกัสเรื่องของคนรอบข้างมากเกินไปนัก เราก็จะไม่มีเรื่องให้หงุดหงิดใจ ไม่มีประเด็นให้ได้บ่นออกไปหรอกนะคะ ดังนั้นมองผ่านไปบ้าง ปล่อยวางบ้าง เพื่อให้ใจเราสงบขึ้นกันดีกว่า

8. ดูถูกตัวเอง
      

          มีคนไม่น้อยที่พร่ำบ่นกับตัวเองได้ตลอดเวลา ทั้งพูดกับตัวเองว่าเรานี่มันช่างไม่เอาไหน เรามันไม่เก่ง เรามันอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งก็เหมือนเราส่งพลังลบไปทำลายพลังบวกในตัวเอง เผลอ ๆ จะคิดไปได้ว่านิสัยเราเป็นอย่างนี้ พัฒนายังไงก็ไม่ดีขึ้นหรอกซะอีก ซึ่งอยากจะบอกให้ทุกคนรู้ไว้เลยค่ะว่า การที่เราไม่เก่งในบางเรื่อง ไม่ได้เรื่องในบางอย่าง มันคือความธรรมดาของมนุษย์ทุกคนเลย เพราะเราไม่จำเป็นต้องเก่งไปซะทุกอย่าง ขอแค่รู้ว่าตัวเองมีดีด้านไหน ถนัดอะไรมากที่สุด เราก็เป็นคนเก่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ แค่หาตัวเองให้เจอก็พอ

นิสัยที่ควรละทิ้ง

9. จมอยู่กับความเคยชิน

          การจมอยู่กับสิ่งเดิม ๆ ไม่อาจทำให้เรารู้ว่าเรามีสิ่งที่ดีกว่าให้ไป หลายคนเลยทนย่ำอยู่ที่เดิม อยู่อย่างซังกะตาย และเริ่มจะหาความสุขในชีวิตได้ยากยิ่ง ซึ่งวิธีขจัดความทุกข์เพิ่มความสุขง่าย ๆ ในเคสนี้ ก็แค่ลองออกไปหาประสบการณ์ใหม่ เลิกกลัวกับความไม่รู้ของตัวเอง และฝึกตัวเองให้พร้อมลุยกับทุกการเปลี่ยนแปลงเท่านั้นเอง

10. พูดทุกอย่างที่คิด ยึดติดอารมณ์ตัวเองมากเกินไป
       
          สังเกตง่าย ๆ ว่าคนที่มีนิสัยยึดติดกับอารมณ์ของตัวเอง มักจะต้องนึกเสียใจกับคำพูดที่โพล่งออกไปยามโกรธ คำพูดที่ปล่อยออกไปตอนผิดหวัง หรือรู้สึกพลาดที่ได้ทำบางสิ่งลงไปในขณะที่อารมณ์ไม่ปกติ ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดเลยว่า ทุกกรณีไม่ได้ทำให้เรามีความสุขในชีวิตได้เลย หนำซ้ำยังอาจสร้างความผิดหวังให้ตัวเราเองและคนรอบข้างอีกด้วยนะคะ ดังนั้นขณะที่โกรธอย่าพูด ที่สำคัญควรไตร่ตรองและทบทวนทั้งคำพูดและการกระทำของตัวเองทุกครั้งก่อนจะทำอะไรลงไป และทางที่ดีอย่ายึดติดกับอารมณ์ตัวเอง ชนิดที่โกรธก็ต้องแสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจก็ต้องชักสีหน้าให้รู้ นิสัยแบบนี้ขอเถอะให้เลิกทำ
     
          ความสุขในชีวิตหาไม่ยากเลยจริง ๆ ค่ะ เพียงแค่เลี่ยงทำนิสัยไม่ดีต่อใจเหล่านี้ไปซะ ยิ้มให้ตัวเองบ่อย ๆ พร้อมทั้งดูแลสุขภาพให้ดี อารมณ์และร่างกายเราก็จะดีไปด้วยง่าย ๆ แล้ว

ข่าวเด่นประจำวัน

 

t640 2
          ตอนนี้ใครกำลังงอแงไม่อยากกลับไปทำงานหลังจากหยุดยาวมาหลายวัน หรือเบื่อมากที่ต้องตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อไปเรียนหลังจากไปเที่ยวกลับมา ยกมือแสดงตัวกันหน่อยค่ะ เพื่อเป็นสัญญาณบอกเราสักนิดว่าคุณก็ตกอยู่ในสภาวะ Post-Vacation Blues ด้วยเหมือนกัน และตอนนี้สภาวะอารมณ์ก็เหี่ยวเฉา เพลียจิตเพลียใจไม่คิดอยากทำอะไรเลยสักอย่าง ทว่าจะปล่อยให้ตัวเองจมกับความเศร้าหลังวันหยุดยาวคงไม่ดีต่อใจนัก งั้นเอาเป็นว่ามาทำความรู้จักภาวะ Post-Vacation Blues ไปพร้อมกับวิธีฟื้นฟูจิตใจตัวเองจากอาการซึม ๆ กันดีกว่า
 
ซึมเศร้าหลังหยุดยาว

Post-Vacation Blues คืออะไร
    
          ในทางจิตวิทยาแล้วสภาวะ Post-Vacation Blues คือ ห้วงอารมณ์ซึม เศร้า เหงา หงอย หลังจากได้ใช้ชีวิตสนุกสนานไปกับวันหยุดยาว บางคนมีความคิดถึงความสุขในช่วงวันหยุดนั้น คิดถึงคนที่บ้าน คิดถึงบรรยากาศสบาย ๆ ไม่มีเรื่องงาน ไม่มีเรื่องเรียนมากวนใจ ทำให้ไม่อยากกลับไปทำงาน ไม่อยากกลับไปเรียน ก่อเป็นความเซ็งระดับสิบจนทำให้โลกไม่สดใสไปชั่วขณะหนึ่งเลย

          ทว่าจริง ๆ แล้ว Post-Vacation Blues ก็ไม่จัดอยู่ในโรคจิตเวชนะคะ เพราะส่วนมากแล้วอารมณ์ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาวจะค่อย ๆ หายไปตามวันเวลา พอถึงจุดหนึ่งเราก็จะเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงได้ว่าชีวิตต้องไปต่อ แต่กระนั้นก็มีบางเคสเหมือนกันที่ความเศร้าครอบงำจนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งหากคุณมีอาการซึมเศร้าจนอะไรก็ห่อเหี่ยวไปหมดในลักษณะนี้ ลองวิธีปราบความซึมเศร้าหลังวันหยุดยาวตามนี้ดูสักตั้งไหมล่ะ


อารมณ์ดี

วิธีเอาชนะความซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว

1. วางแผนเที่ยวครั้งต่อไป
    
          ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Applied Research in Quality Of Life ปี 2010 เผยว่า เพียงเราวางแผนเที่ยวก็สามารถสร้างความสุขให้เราได้ และความสนุกจะยิ่งทวีคูณมากขึ้น หากเราหาที่พัก หาทริปเที่ยวในเวลางาน ซึ่งนักวิจัยก็อธิบายว่าเป็นการดึงตัวเองออกจากความเครียดและความกดดันที่เป็นอยู่ โดยการหันเหความสนใจไปที่ทริปเที่ยวทริปต่อไปของเรานั่นเอง

ซึมเศร้าหลังหยุดยาว

2. ตั้งเป้าหมายระยะสั้น
    
          การใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมายจะทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมาได้ง่าย ๆ ดูอย่างตอนที่เราจองทริปเที่ยวไปแล้วสิคะ เรายังมีไฟอยากเร่งให้ถึงวันออกเดินทางเร็ว ๆ เลย ดังนั้นก็เช่นกัน หากเราตั้งเป้าหมายระยะสั้น ๆ ในชีวิตตัวเองทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นตั้งเป้าหมายพิชิตงาน พิชิตความอ้วน ท้าตัวเองกินคลีน 1 สัปดาห์ หรือนัดไปดูหนังกับเพื่อนสุดสัปดาห์ที่กำลังจะมาถึง ชีวิตเราก็คงจะมีแต่เรื่องที่น่าสนุกและมีสีสันขึ้นแล้วล่ะ

3. กินอาหารเหมือนตอนไปเที่ยว
    
          หนึ่งในความสุขของมนุษย์เราคือการกินค่ะ ยิ่งในตอนไปเที่ยว ก็ต้องมีร้านเด็ดต้องไปโดน มีเมนู Don’t miss ที่ต้องไปลองให้ได้ ซึ่งความสุขเหล่านี้เราก็นำกลับมาสร้างสีสันให้ชีวิตประจำวันได้ด้วยนะคะ อย่างการพาตัวเองไปกินซีฟู้ดปิ้งย่าง อาหารทะเลตามร้านใกล้บ้าน หรือถ้าคิดถึงอาหารญี่ปุ่นจากทริปเจแปนเมื่อเดือนที่แล้ว เราก็ไปหาราเม็งในร้านอาหารญี่ปุ่นแท้ ๆ กินก็ได้นี่ คงช่วยลดความคิดถึงลงไปได้ไม่มากก็น้อยล่ะเนอะ

จัดบ้าน

4. จัดบ้านใหม่ ทำความสะอาดบ้านให้น่าอยู่
    
          มัวนั่งซึมเศร้าไม่เกิดประโยชน์หรอกค่ะ ลุกมาทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านให้น่าอยู่ขึ้นกันดีกว่า เปลี่ยนมุมสักหน่อย ย้ายเฟอร์นิเจอร์สักนิด แค่นี้เราก็เหมือนได้เปลี่ยนบรรยากาศให้ตัวเองแล้ว อีกทั้งการทำงานบ้าน ออกแบบการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ยังเป็นวิธีผ่อนคลายอย่างหนึ่งด้วยนะ

5. ย้อนความทรงจำ
    
          ในบางห้วงที่รู้สึกซึมกะทือมาก ๆ การได้ย้อนกลับไปถึงช่วงเวลาแห่งความสุขจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกดีให้เราได้ โดยคุณอาจเปิดดูภาพ ดูคลิปวิดีโอที่ถ่ายตอนไปเที่ยวก็ได้ หรือจะอัดภาพมาติดประดับบ้านก็แล้วแต่สะดวกเลย

ซึมเศร้าหลังหยุดยาว

6. รีแลกซ์บ้าง

          ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Applied Research in Quality Of Life ปี 2010 เผยว่า การผ่อนคลายให้ตัวเองไม่ได้แปลว่าเราต้องออกเดินทางเสมอไป เพียงนอนแช่น้ำอุ่นผสมน้ำมันหอมระเหย แค่นี้ก็ช่วยผ่อนคลายอารมณ์เหงา ๆ ให้เราได้แล้ว หรือจะลองไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ หรือเดินชมสถานที่ที่เคยผ่านแต่ไม่เคยแวะ นักวิจัยก็บอกว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นความรู้สึกดี ๆ ได้ไม่น้อยเลยเหมือนกัน

7. ออกกำลังกาย

          ถ้ารู้สึกซึม ๆ เศร้า ๆ ไปออกกำลังกายเรียกเหงื่อบ้างก็ดีนะคะ เพราะการมีกิจกรรมให้ทำก็ดีกว่านั่งจมกับความรู้สึกดาวน์เป็นไหน ๆ และการออกกำลังกายจะช่วยให้คุณโฟกัสในเรื่องอื่นรอบ ๆ ตัวได้มากขึ้น แถมยังได้สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง นี่แหละที่เขาว่ากันว่า กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ

          - 10 วิธีออกกำลังกายสลายโรคซึมเศร้า !  

ซึมเศร้าหลังหยุดยาว

8. พักผ่อนให้เพียงพอ 

          ถ้าวันหยุดยาวที่ผ่านมาคุณตื่นเช้า นอนดึกทุกวัน ต้องรีบจัดตารางชีวิตให้ลงตัวโดยเร็วค่ะ เริ่มจากการนอนให้เพียงพอก่อนเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ก็เพื่อขจัดความรู้สึกอ่อนล้า หมดแรงออกไปก่อน จะได้เริ่มต้นวันใหม่ด้วยพลังกายที่สดชื่นเต็มเปี่ยม

          ถึงแม้วันหยุดจะผ่านไปไวแค่ไหน แต่ความสุขเราก็สร้างเองได้ทุกวินาทีนะคะ ฉะนั้นเรียกตัวเองกลับคืนจากความซึมความเศร้ากันดีกว่า แล้วกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไปทุกวันกันเถอะ !

ข่าวเด่นประจำวัน

j640 4

          โรคหลายบุคลิกมีอยู่จริงไหม แล้วอาการของคนที่ป่วยเป็นโรคดิสโซสิเอทีฟ เหมือนมีหลายคนอยู่ในร่างเดียวกันจะรักษาให้หายได้ไหม มาหาคำตอบกัน

          การที่เราจะมีหลายบุคลิกในตัวเองไม่ใช่เรื่องแปลกค่ะ อย่างถ้าอยู่กับเพื่อนเราจะเป็นคนอีกอย่าง อยู่กับแฟนก็ปฏิบัติตัวอีกอย่าง ทว่าสำหรับบางคนที่มีบุคลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนมีคนอีกหลายคน หลายนิสัยที่ต่างกันมาก ๆ อยู่ในร่างกายเดียวกัน ลักษณะนี้เราจะสันนิษฐานว่าเขาอาจเป็นโรคหลายบุคลิก หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Dissociative Identity Disorder และวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักโรคหลายบุคลิกกันค่ะ

โรคหลายบุคลิก Dissociative Identity Disorder คืออะไร

          โรคหลายบุคลิกจัดเป็นกลุ่มโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง หรือเรียกได้ว่าเป็นภาวะความผิดปกติของพฤติกรรมแสดงออกอย่างหนึ่ง โดยมีลักษณะสูญเสียความเป็นตัวตน ความจำในอดีต การรับรู้ในเอกลักษณ์ และประสาทสัมผัส รวมทั้งการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย 

          กล่าวคือ ผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกจะเหมือนมีคนหลายคนในร่างคนคนเดียวกัน และผู้ป่วยอาจมีลักษณะนิสัยและบุคลิกแต่ละบุคลิกแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกมักจะมี 2-4 บุคลิกภาพในคนคนเดียวกัน แต่บางเคสก็มีมากกว่านั้น ซึ่งอาจมีได้มากถึง 150 บุคลิกภาพในคนคนเดียวกัน และแต่ละบุคลิกภาพก็มีความแตกต่างด้านมุมมอง เพศ นิสัยใจคอ การรับรู้ต่อสิ่งรอบตัว หรือแม้กระทั่งอาจมีความแตกต่างทางด้านศาสนาด้วย

          ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ในผู้ป่วยโรคหลายบุคลิก อาจมีลักษณะนิสัยและการแสดงออกถึง 4 แบบ เช่น มีนิสัยที่เป็นเด็ก มีนิสัยเงียบเฉย มีนิสัยก้าวร้าวรุนแรง และมีนิสัยเรียบร้อย หรืออาจจะมีนิสัยที่แตกต่างไปมากกว่านี้ก็เป็นได้ ซึ่งในช่วงที่ผู้ป่วยกลายเป็นอีกคน ตัวผู้ป่วยเองนั้นก็จะไม่รู้ตัว ไม่สามารถควบคุมตัวเองและการแสดงพฤติกรรมบางอย่างได้ รวมทั้งไม่ทราบว่าช่วงเวลาไหนนิสัยไหนจะแสดงพฤติกรรมออกมาด้วย
 
โรคไบโพลาร์

โรคหลายบุคลิก เกิดจากอะไร

          ตามหลักจิตวิทยาระบุว่า สาเหตุของโรคหลายบุคลิกภาพอาจเกิดจากความทรงจำที่เลวร้ายในวัยเด็ก (โดยมากเป็นการทารุณกรรมทางเพศ) อาจจะเป็นความกดดันจากการถูกข่มเหงรังแกหรือโดนทำร้ายจิตใจและร่างกายตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งก่อนอายุ 9 ขวบ ซึ่งในช่วงอายุดังกล่าวเด็กยังไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะจัดการความรู้สึกแย่ ๆ เหล่านั้น จึงอาจสร้างอีกหนึ่งบุคลิกหรืออีกหนึ่งบุคคลขึ้นมาเพื่อหลบเลี่ยงความเจ็บปวดที่ได้รับ

โรคหลายบุคลิก เกิดกับใครได้บ้าง

          อย่างที่บอกว่าสาเหตุของโรคหลายบุคลิกมักจะเกิดกับความรุนแรงที่ได้รับในวัยเด็กจนทำให้ต้องจินตนาการสร้างอีกคนขึ้นมาในชีวิต ซึ่งจากสถิติแล้วพบว่า อาการจะเริ่มแสดงออกในช่วงอายุ 21-30 ปี และโดยปกติจะพบโรคหลายบุคลิกได้บ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศตะวันตกมากกว่าในบ้านเรา ทั้งนี้ อัตราการเกิดโรคหลายบุคลิกยังจัดว่าน้อยมาก เพียง 0.01% ของประชากรทั่วไปเท่านั้นเองค่ะ

โรคหลายบุคลิกภาพ อาการเป็นอย่างไร

          อาการของผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกจะสามารถสังเกตได้จากลักษณะต่อไปนี้

          - มีหลายบุคลิกในคนเดียวกัน ซึ่งแต่ละบุคลิกนั้นดูแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

          - เมื่อเปลี่ยนเป็นอีกคนแล้ว จะเปลี่ยนไปทั้งความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมการพูดจา ตรรกะความคิด ความทรงจำ การเรียนรู้และเข้าใจ การปฏิบัติตัวต่อสิ่งรอบข้าง รวมทั้งสูญเสียการควบคุมตนเอง 

          - ผู้ป่วยมักสูญเสียความทรงจำในระหว่างที่เปลี่ยนไปเป็นอีกบุคลิก ไม่รู้ตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง จำไม่ได้ว่าติดต่อกับใคร จำไม่ได้ว่าไปไหน เรียกว่าจำเหตุการณ์อะไรไม่ได้เลย จึงมักจะมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ อยู่เสมอด้วย

          - ช่วงเวลาเปลี่ยนบุคลิกอาจเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ และอาจเกิดขึ้นเพียงนาที ชั่วโมง หรืออาจเป็นวัน ๆ 

โรคไบโพลาร์

โรคหลายบุคลิกภาพ อันตรายไหม    

          โรคหลายบุคลิกอันตรายไหม คำถามนี้ค่อนข้างตอบยากค่ะ เพราะในช่วงที่เปลี่ยนบุคลิก ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวว่าจะคิด จะทำอะไรลงไปได้บ้าง โดยอาจจะแค่พูดเยอะขึ้น เงียบขรึมลง หรืออาจมีอาการก้าวร้าวจนสามารถทำร้ายตัวเองและผู้อื่นได้โดยไม่มีความรู้สึกผิดบาปในใจ ดังนั้นในช่วงที่ไม่มีความทรงจำในระหว่างที่เปลี่ยนบุคลิกนั้น ก็ถือว่าเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงมาก จัดว่าอันตรายทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง


โรคหลายบุคลิก รักษาได้ไหม

          โรคหลายบุคลิกสามารถรักษาได้ด้วยวิธีทางจิตวิทยา โดยเริ่มแรกจิตแพทย์อาจจำแนกบุคลิกทั้งหมดที่ซ่อนอยู่ในตัวคนไข้ออกมา และพยายามหาตัวตนที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียวของคนไข้ให้ได้ ซึ่งในกระบวนการนี้ จิตแพทย์อาจเลือกใช้วิธีปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive and Creative Therapies) และใช้ยาในกลุ่มต้านเศร้า และยาคลายกังวลร่วมด้วย ทั้งนี้ในการรักษาโรคหลายบุคลิก อาจต้องใช้เวลารักษายาวนานและตัวผู้ป่วยเองก็ควรต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยนะคะ

          อย่างไรก็ตาม การจะรักษาผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกภาพให้หายดีได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคนรอบข้างด้วยที่ต้องสังเกตอาการของผู้ป่วยและเมื่อพบว่าผู้ป่วยดูเปลี่ยนไปเป็นคนละคน มีพฤติกรรมแปลกไปจากเดิมค่อนข้างมาก ต้องรีบพาเขาไปพบจิตแพทย์โดยด่วน เพราะอย่าลืมว่าผู้ป่วยโรคนี้มักจะไม่รู้ตัวเองว่ามีพฤติกรรมและความคิดผิดไปจากปกตินะคะ ซึ่งก็หมายความว่าเขาอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเป็นผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกอยู่

Subcategories

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

    ความเครียด!!!

    วามเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ

    ลกระทบที่ได้จากความเครียด
       
    -
    ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
        - ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
        - ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น

    าเหตุของความเครียด
        1.จากตัวเอง
           อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
        2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
           ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี

  • ข่าวเด่นประจำวัน

    วามเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ

    ลกระทบที่ได้จากความเครียด
       
    -ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
        - ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
        - ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น

    าเหตุของความเครียด
        1.จากตัวเอง
           อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
        2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
           ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page