โรคเครียด....
ในบรรดาโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยนั้น โรคเครียดเป็นโรคที่จัดได้ว่าเกิดได้ง่ายที่สุด แทบทุกคนจะเคยมีประสบการณ์ของความเครียดไม่มากก็น้อย ความเครียดอาจจะเป็นความรู้สึกที่คู่กับมนุษย์ เนื่องจากสมองที่มีขนาดใหญ่ ทำให้มีการใช้ความคิดมากกว่าสัตว์อื่นๆ มีการคิดล่วงหน้า ซึ่งถ้ามองในด้านดีก็จะเห็นประโยชน์มากมายในการป้องกันปัญหาต่างๆ แต่ความคิดที่สลับซับซ้อนมากๆก็ทำให้คิดกังวลล่วงหน้าได้มาก คิดในแง่ร้ายได้มากเช่นกัน คนที่มีความทุกข์มากๆมักจะปล่อยใจให้หลงคิดและกังวลอยู่ในอดีตที่ผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้ หรือกังวลล่วงหน้าในเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ลืมอยู่กับปัจจุบัน ลืมชื่นชมปัจจุบันซึ่งจะทำให้ใจสงบและมีความสุขได้มากนะครับ
ในคนปกติความเครียดที่เกิดจะสัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือ สิ่งแวดล้อม เช่น ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนจะรู้สึกเครียด เพราะการสอบนั้นอาจไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ ความกังวลล่วงหน้าคือการคาดว่าผลที่จะเกิดขึ้นอาจไม่เป็นไปตามความต้องการหรือจะทำให้เกิดอันตราย นักเรียนก็จะเกิดความเครียด ความวิตกกังวล ในสัตว์ชั้นต่ำกว่าคนจะไม่มีความวิตกกังวลล่วงหน้าเช่นนั้น ความเครียดของสัตว์มักจะเกิดจากการถูกคุกคาม ต่อชีวิต ที่อยู่อาศัย เรื่องเพศ เรื่องอาหารซึ่งล้วนแล้วแต่จะเป็นการตอบสนองตามสันชาตญาน เพื่อให้ตนเองอยู่รอด ปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมเท่านั้นเพราะสัตว์ไม่มีปัญญาที่จะคิดไกลกว่านั้น
คำศัพท์ที่อาจมีความหมายคล้ายกัน คือคำว่าความเครียด และความวิตกกังวล
ความเครียดเป็นผลรวมของความคิด ความรู้สึก การกระทำและปฏิกิริยาทางร่างกายที่เกิดขึ้น
ความวิตกกังวลเป็นภาวะทางอารมณ์ ขึ้นอยู่กับการคาดคะเนเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
ความเครียดจึงเกิดขึ้นได้ง่ายๆแม้ในคนธรรมดา คนที่ไม่เครียดเลยอาจแสดงว่าไม่ใส่ใจต่อการแก้ไขปัญหา ทำให้ไม่รู้สึกเครียด คนปกติทุกคนจึงมีความเครียดเป็นสิ่งกระตุ้นให้คิด แก้ไข ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อปัญหามีทางออก ความเครียดก็จะลดลง
ความเครียดในคนที่เป็นโรคเครียด จะแตกต่างจากความเครียดปกติที่เกิดในคนทั่วๆไป คือจะเกิดอาการทางร่างกายซึ่งรบกวนหน้าที่การทำงานในชีวิตประจำวัน อาการที่พบบ่อยๆได้แก่ อาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดท้อง
อาการ
อาการของความเครียดจะเกิดขึ้นในอวัยวะที่ถูกกำกับควบคุมโดยประสาทอัตโนมัติ ทำให้ประสาทอัตโนมัติเหล่านั้นทำงานมากขึ้นจนเกิดอาการต่างๆ เช่น
ในระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เกิดการหลั่งกรดมากผิดปกติ ทำให้กระอาหารเป็นแผล ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน ลำไส้ เกิดการหดตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายบ่อย
ในระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบลง มีไขมันมาเกาะ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง
ระบบกล้ามเนื้อ มีการหดตัว เกร็งแข็ง เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อต่างๆทั่วตัว
ประสาทอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำงานโดยไม่สามารถบังคับหรือสั่งการได้ หล่อเลี้ยงอวัยวะภายในทั้งหมด ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้ หลอดเลือด
ประสาทอัตโนมัติมีความเกี่ยวข้องกับสมอง และไขสันหลังเป็นอย่างยิ่ง ความเครียดจะกระตุ้นอารมณ์ในสมอง ซึ่งจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติให้ทำงานผ่านแนวเชื่อมโยงกับไขสันหลัง การทำงานนั้นอยู่นอกการควบคุมของจิตใจ
ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคเครียดหรือไม่
โรคเครียดสามารถวินิจฉัยได้ง่าย เราทุกคนก็สามารถวินิจฉัยตัวเองได้ คือ เมื่อ มีอาการทางกายเกิดขึ้นสัมพันธ์กับความเครียด แต่ปัญหาใหญ่มักอยู่ที่ตัวเราเองไม่ค่อยยอมรับว่าเครียด ผมมีคนไข้โรคเครียดหลายรายที่ปฏิเสธอย่างแข็งขันในตอนแรกว่าไม่เครียด แต่เมื่อได้สัมภาษณ์ลงลึกก็มักจะพบว่ามีความเครียดจำนวนมากแฝงอยู่ เช่น ทำงานวันละ12-16 ชั่วโมง
การดำเนินของโรค
โรคนี้มักเป็นในวัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ อาการเกิดสัมพันธ์กับความเครียดในการดำเนินชีวิต คนที่มีปัญหาบุคลิกภาพจะเกิดอาการได้มากกว่าคนทั่วไป ทำให้มีปัญหาในการทำงาน เกิดความเจ็บป่วยทางร่างกายมากๆจนไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เมื่อชีวิตไม่มีปัญหา อาการจะสงบลง
การรักษา
การรักษาใช้หลายๆวิธีรวมกัน ได้แก่
1. การรักษาโรคทางกายให้สงบ ตามอาการที่เกิด เช่น ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ยาลดความดันโลหิตรักษาโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การรักษานี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็จำเป็นต้องทำก่อน เพื่อลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มิฉะนั้นอาการต่างๆเหล่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดต่อเนื่อง เป็นวงจรไม่รู้จบ
2. การรักษาทางจิตใจ
การผ่อนคลายความเครียด และทำใจให้สงบ
การแก้ไขปัญหาชีวิตให้สำเร็จ
มีการปรับตัวกับบุคคลอื่นได้ดี
การออกกำลังกายให้แข็งแรง จิตใจเผชิญความเครียดได้ดี
มีการผ่อนคลาย งานอดิเรก พักผ่อนหย่อนใจ
3. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
สถานที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ไม่เครียด
การทำงานพอเหมาะ ไม่หนักมากเกินไป มีเวลาพักผ่อน
ความเครียด!!!
ความเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ
ผลกระทบที่ได้จากความเครียด
-ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
- ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
- ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น
สาเหตุของความเครียด
1.จากตัวเอง
อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี
ความเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ
ผลกระทบที่ได้จากความเครียด
-ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
- ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
- ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น
สาเหตุของความเครียด
1.จากตัวเอง
อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี