ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ข่าวเด่นประจำวัน

ปล่อยลูกดูทีวี เป็นออทิสติก

เกิดความสงสัยขึ้นมาเหมือนกันค่ะ สำหรับเจ้าทีวีที่เปรียบเสมือนปัจจัยที่ 6 ของคนเรา ว่าเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมากมาย 
แต่สิ่งที่กังวลใจเป็นอันมากก็คือ มีผลทำให้เป็น โรคออทิสติก หรือที่รู้จักมักคุ้นตามภาษาชาวบ้านก็ เด็กเอ๋อ นี่แหล่ะ จริงหรือไม่...เราร่วมท้าพิสูจน์ไปด้วยกันเลยค่ะ

รู้จักโรคออทิสติก
โรคออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เป็นความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ 
นับเป็นเวลา 60 ปีแล้วค่ะ ที่นักวิชาการรู้จักโรคนี้ และพยายามศึกษารายละเอียดต่างๆ แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคได้ชัดเจน

ซึ่งเกณฑ์การวินิจฉัยโรคออทิสติก
มีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัย 1-3 ปี ก่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสารไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติ 

ทุกวันนี้เราพบว่า เด็กชายป่วยเป็นออทิสติกมากกว่าเด็กหญิงถึงเกือบ 4 เท่า และเมื่อศึกษาหาต้นสายปลายเหตุที่เด็กจำนวนกว่า 300,000 คนในบ้านเราเข้าข่ายป่วยเป็นโรคนี้พบว่า เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน

ทีวีกับออทิสติก 
เกิดเสียงวิจารณ์เซ็งแซ่ กรณีทีวีเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคออทิสติก ดร.ไมเคิล วาลด์แมน จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ในรัฐนิวยอร์ก จึงได้ทำการวิจัยเรื่องนี้ เนื่องจากไม่สามารถค้นหาสถิติพฤติกรรมการดูทีวีของเด็กเล็กได้ จึงใช้ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ต่างๆ เป็นเกณฑ์ในการช่วยประเมินเวลาที่เด็กทำกิจกรรมอยู่นอกบ้าน

สิ่งที่พบคือ 
พื้นที่ที่มีฝนตกชุกที่สุด ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าทำให้เด็กมีเวลาอยู่บ้านดูทีวีมากขึ้นนั้น มีจำนวนเด็กออทิสติกมากที่สุด ในทางกลับกัน พื้นที่ที่ฝนตกน้อย จำนวนเด็กออทิสติกจะน้อยตามไปด้วย พื้นที่ที่มีลูกค้าเคเบิลทีวีหนาแน่นที่สุด มีจำนวนเด็กออทิสติกสูงสุดเช่นเดียวกัน

ผลการศึกษาประเมินว่า 
เด็กออทิสติกเกือบ 40% ในการวิจัยป่วยเพราะดูทีวี พร้อมแนะนำพ่อแม่ไม่ให้ปล่อยลูกอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูทีวี ส่วนเด็กที่โตกว่านั้นไม่ควรดูเกินวันละ 1 - 2 ชั่วโมง แม้ไม่พบความเชื่อมโยงโดยตรง 

แต่เป็นไปได้ว่า การขาดการปฏิสัมพันธ์กับสังคมอาจทำให้เด็กที่มีความโน้มเอียงที่จะเป็นออทิสติก ปลีกตัวจากสังคม ซึ่งแปลว่าความเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กยังอายุน้อยมาก เนื่องจากส่วนใหญ่มักตรวจพบอาการของโรคเมื่อเด็กอายุเพียง 3 ขวบเท่านั้น

Did You Know ?
การดูทีวีเพิ่มความเสี่ยงให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้นมากกว่าเด็กที่ไม่ดูถึงร้อยละ 10 เพราะสมองของเด็กที่เพิ่งเกิดช่วงอายุ 1 - 3 ปีแรกนั้นจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การดูทีวีหรือฟังรายการวิทยุที่มีการสลับรายการออกอากาศบ่อยๆ 

จะทำให้สมองของเด็กถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา และเป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ไม่มีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้ ส่งผลให้เด็กไม่เกิดการพัฒนาทั้งทักษะ ภาษา ผลที่ตามมาก็คือเมื่อถึงวัยเรียนเด็กที่ดูทีวีจะหัวช้ากว่าเด็กคนอื่น

ข่าวเด่นประจำวัน

14 ข้อสำคัญ เพื่อรับมือกับลูกน้อยที่เป็น “เด็กออทิสติก”

Alternative Texthttps://www.amarinbabyandkids.com/app/uploads/2018/02/Design_03-04-300x300.jpg 300w, https://www.amarinbabyandkids.com/app/uploads/2018/02/Design_03-04.jpg 601w" sizes="(max-width: 150px) 100vw, 150px" style="box-sizing: inherit; border-width: 2px; border-style: solid; border-color: rgb(0, 0, 0); max-width: 30px; height: auto; border-radius: 50%; margin-right: 5px;">
 December 30, 2016
 
 

5 สัญญานของโรคออทิสติกในเด็กวัยเตาะแตะ

สัญญานของโรคออทิสติกในเด็กวัยเตาะแตะที่พ่อแม่ควรระวังมีดังนี้

 

1. มีพัฒนาการช้า

เด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการแตกต่างจากเด็กทั่วไป

  • เด็กจะโตช้าและมีทักษะด้านการสื่อสารจำกัดอยู่แค่คำพูดและท่าทางเพียงไม่กี่อย่าง
  • การแสดงออกทางสีหน้าและภาษากายก็แตกต่างออกไปด้วย

    2. เลี่ยงการสบตา

ข้อบ่งชี้สำคัญของเด็กออทิสติกคือไม่สบตากับพ่อแม่ แม้จะโดนเรียกชื่อ

  • มักจะเพ่งหรือจ้องมองแบบแปลก ๆ
  • ไม่แสดงความสนใจต่อสิ่งรอบข้างเลย

    3. แสดงพฤติกรรมซ้ำๆ

เด็กออทิสติกบางคนจะยึดติดกับกิจวัตรประจำวันของตนเองอย่างเคร่งครัดมาก

  • มักจะเล่นหรือทำอะไรด้วยวิธีเฉพาะของตนเอง
  • การถูกขัดจังหวะในระหว่างทำกิจวัตรใดๆ จะทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา เช่น โขกหัวตัวเอง โยกเขย่าตัว หรือแกว่งกระพือแขน เป็นต้น

    4. พฤติกรรมหมกมุ่น

สัญญาณบ่งชี้สำคัญที่สุดของเด็กออทิสติกคือพฤติกรรมหมกมุ่น

  • เด็กออทิสติกจะหมกมุ่นกับสิ่งของบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น อาหาร และของเล่น
  • มักจะเล่นกับของเล่นชิ้นใดชิ้นหนึ่งโดยเฉพาะ และไม่เล่นชิ้นอื่นเลย
  • ในเรื่องอาหาร เด็กมักจะกินอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ และเรื่องมากกับการกินอาหารบางชนิด พฤติกรรมหมกมุ่นนี้เกิดจากความบกพร่องในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ ๆ หรือความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
  • ชอบทำแต่สิ่งเดิม ๆ มากกว่าสิ่งใหม่ ๆ มักจะเพ่งความสนใจในรายละเอียดของวัตถุและชอบจัดเรียงสิ่งของเป็นเส้นตรง

    5. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

เด็กออทิสติกจะไม่สนใจทำกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่หรือเด็กคนอื่น ๆ

  • มีความบกพร่องในการเข้าใจและการฟัง
  • ไม่ค่อยยิ้ม ไม่ชอบการกอดและผูกมิตร  ไม่ชอบเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ  ไม่แสดงความวิตกกังวลเมื่อแยกกับแม่  ชอบอยู่คนเดียว  อาจทำร้ายเด็กคนอื่นโดยไม่มีเหตุผล และไม่ชอบพึ่งพาใคร

ข่าวเด่นประจำวัน

กรมสุขภาพจิต ย้ำผู้ป่วยจิตเวชต้องกินยาต่อเนื่องแม้อาการจะดีขึ้นแล้ว เปิด 4 สาเหตุหลักทำให้ผู้ป่วยจิตเวชอาการกำเริบ

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตให้ความสำคัญและเน้นหนักการป้องกันปัญหาการก่อเหตุของผู้ป่วยจิตเวชทั้งมีและไม่มีคดี โดยเพิ่มการเข้าถึงบริการรักษาทางยามากที่สุดและฟื้นฟูสมรรถภาพด้านกาย จิตสังคมเพื่อคืนความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ป่วย

ผู้ป่วยจิตเวชประมาณร้อยละ 98 สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การดูแลของญาติหรือบุคคลใกล้ชิดที่บ้านและชุมชน โดยใช้ยาควบคุมระบบการทำงานของสารสื่อประสาทในสมองเป็นไปอย่างสมดุล ผู้ป่วยจะมีอาการที่เป็นปกติ สามารถใช้ชีวิตและทำงานได้

อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวว่า ตลอดในปี 2560 มีผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการรักษาแล้ว 2 ล้าน 6 แสนกว่าคน หัวใจสำคัญที่สุดที่จะไม่ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชอาการกำเริบ คือ 1.ต้องกินยาต่อเนื่อง แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว ความผิดปกติที่เคยมีเช่น หูแว่ว ประสาทหลอนจะไม่มีแล้วก็ตาม ก็ยังไม่ได้แปลว่าหายขาด

2. ไม่ใช้สารเสพติดทุกชนิด เช่นเหล้า บุหรี่ และ 3. ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง หากปฏิบัติตามที่กล่าวมา จะไม่มีปัญหาอาการกำเริบและมีโอกาสหายสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยครั้งแรก แต่หากปล่อยให้อาการกำเริบซ้ำแล้วซ้ำอีก จะมีโอกาสป่วยเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด ต้องพึ่งยาตลอดชีวิต เช่นเดียวกับผู้ที่มีเป็นโรคประจำตัวทั่วไป

ทางด้านนายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ จ.นครพนม กล่าวว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเวชที่พบมากทึ่สุดคือโรคจิตเภท ตลอดอายุขัยของประชาชนทั่วไปในทุกๆ 100 คน จะพบเป็นโรคนี้ได้ 1 คน หรือร้อยละ 1 ของประชากร คาดว่ามีประมาณ 6 แสนคนทั่วประเทศ

ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นที่ไม่พบในคนปกติ คือ หลงผิด ประสาทหลอน พูดจาไม่รู้เรื่อง และพฤติกรรมท่าทางแปลกๆ แต่งกายไม่เหมาะสม ผู้ที่เป็นโรคนี้ไม่ใช่คนน่ากลัวอย่างที่บางคนเข้าใจ มีผลการการศึกษาพบว่าอัตราการก่อคดีอาชญากรรมของผู้ป่วยโรคจิตเภทไม่ได้มากไปกว่าคนทั่วไป ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ จะต้องให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่สุด จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และลดภาระดูแลของญาติด้วย

ปัญหาหลักที่ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชอาการกำเริบ ป่วยซ้ำๆ บางรายมีอาการรุนแรงขึ้นกว่าเดิม อันดับ 1 คือการขาดยา จากสาเหตุ 4 ประการ คือ 1. ไม่ยอมกินยา เพราะคิดว่าไม่ได้ป่วย/ไม่ได้เป็นอะไร 2. กลัวเกิดผลข้างเคียงของยา บางคน กินแล้วมีผลข้างเคียง เช่น ตัวแข็งทื่อ น้ำลายไหล ง่วงมาก ซึ่งขณะนี้มียารักษาสมัยใหม่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าชนิดเดิม

3. กลัวจะติดยา จึงกินบ้างไม่กินบ้าง ซึ่งขอยืนยันว่าผู้ป่วยจิตเวชที่กินยารักษาอาการป่วยจะไม่มีโอกาสติดยาแน่นอนแม้ว่าแพทย์จะสั่งให้กินในขนาดสูงและยาวนานก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดการติดยา มีเพียงยาจิตเวชบางชนิดเท่านั้นที่อาจเกิดอาการพึ่งพิงยาได้ แต่หากอยู่ในความดูแลของแพทย์ ก็ไม่ต้องกังวล

และ 4. คิดว่าตัวเองหายแล้ว ซึ่งยาจิตเวชหลังจากกินแล้วจะค่อยๆออกฤทธิ์ประมาณ 15 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นเหมือนปกติ เนื่องจากยาจะควบคุมการทำงานของสมองให้เข้าที่ แต่ยังไม่ได้หายขาดจากโรค จะต้องกินยาให้ครบทุกตัวที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง หากหยุดยาเอง อาการก็จะกลับมากำเริบและรุนแรงขึ้นกว่าเดิม แพทย์ผู้ให้การรักษาจึงต้องนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามประเมินผลเป็นระยะๆ

สำหรับญาติ ควรดูแลผู้ป่วยจิตเวช 5 ประการดังนี้ 1. ดูแลให้กินยาต่อเนื่อง 2.สังเกตอาการเตือนที่ต้องนำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยเร็วคือ นอนไม่หลับ ไม่ยอมนอน ไม่รับประทานอาหาร อารมณ์หงุดหงิดหรือครื้นเครงกว่าปกติ พฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง หรือคนอื่น 3. พูดคุยกับผู้ป่วยด้วยความเป็นมิตร นุ่มนวล ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความรู่สึกมีคุณค่าและยังคงเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว

4. กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมอื่นๆ พยายามให้ดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด 5.ดูแลผู้ป่วยไม่ให้เกี่ยวข้องกับสารเสพติดทุกชนิดทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาเสพติด หากมีปัญหาสามารถขอรับคำปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวเด่นประจำวัน

3 สัญญาณเตือนโรคออทิสติก

ow90n0u9LCK00bAW6d-o

Subcategories

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

    ความเครียด!!!

    วามเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ

    ลกระทบที่ได้จากความเครียด
       
    -
    ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
        - ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
        - ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น

    าเหตุของความเครียด
        1.จากตัวเอง
           อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
        2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
           ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี

  • ข่าวเด่นประจำวัน

    วามเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ

    ลกระทบที่ได้จากความเครียด
       
    -ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
        - ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
        - ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น

    าเหตุของความเครียด
        1.จากตัวเอง
           อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
        2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
           ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page