ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ข่าวเด่นประจำวัน

24

โรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นคือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ได้แก่ ขาดสมาธิ (attention deficit), การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง (impulsivity), อาการซน (hyperactivity)

      เด็กบางคนอาจจะมีอาการซนและการขาดความสามารถในการควบคุมตัวเองเป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือบางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก พบได้บ่อยพอ ๆ กันในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย โรคสมาธิสั้นนี้พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในวัยเรียน เป็นโรคสมาธิสั้น

     จะสังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม

     1. การขาดสมาธิ (attention deficit) โดยสังเกตพบว่าเด็กจะมีลักษณะดังนี้

         ไม่สามารถทำงานที่ครู หรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
         ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
         ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
         ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อย
         ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
         วอกแวกง่าย
         ขี้ลืมบ่อย ๆ
         มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
         ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียนหายอยู่บ่อย ๆ

     2. การซน (hyperactivity) และการขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะดังนี้

         ยุกยิก อยู่ไม่สุข
         นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อย ๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน
         ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่าง ๆ
         พูดมาก พูดไม่หยุด
         เล่นเสียงดัง
         ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย
         ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถาม โดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ
         รอคอยไม่เป็น
         ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่

      หากเด็กมีลักษณะในข้อ 1 หรือ 2 รวมกันมากกว่า 6 ข้อ อาการเด็กของท่านมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น

      การรักษาโรคสมาธิสั้นให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือการผสมผสานการรักษาหลายด้านดังนี้

      1. การรักษาทางยา ยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นเป็นยาที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อยและมีประสิทธิภาพในการรักษาสูง ยาจะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ซนน้อยลง ดูสงบขึ้น มีความสามารถในการควบคุมตัวดีขึ้น และอาจช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น ผลที่ตามมาเมื่อเด็กได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีคือ เด็กจะมีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง (seft-esteem) ดีขึ้น และมีความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนรอบข้างดีขึ้น

      2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว ผู้ปกครองและครูของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องเพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก การตีหรือการลงโทษทางร่างกาย เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ได้ผล และจะมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธหรือแสดงพฤติกรรมต่อต้านและก้าวร้าวมากขึ้น วิธีการที่ได้ผลดีกว่าคือ การให้คำชมหรือรางวัล (positive reinforcement) เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม หรือควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบหรือตัดสิทธิอื่น ๆ (negative reinforcement)

      3. การช่วยเหลือทางด้านการเรียน เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเรียนหรือเรียนได้ไม่เต็มศักยภาพร่วมด้วย ดังนั้นครูจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นให้เรียนได้ดีขึ้น


      เมื่อเด็กโตขึ้น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีโอกาสหายได้หรือไม่

      เมื่อผ่านวัยรุ่นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากโรคนี้ และสามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องรับประทานยา ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้นจะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าเด็กดูเหมือนจะซนน้อยลง และมีความสามารถในการควบคุมดีขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว บางคนสามารถปรับตัวและเลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนัก ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ บางคนอาจจะยังคงมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่มาก ซึ่งจะมีผลเสียต่อการศึกษา การงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

  

 

ข่าวเด่นประจำวัน

2ff47299-d3bd-4ee0-b19a-3c6980d1c695

ความเสื่อมของสมองเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ไม่อาจย้อนคืน

แต่ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่เปี่ยมสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ป่วยหายออกไปจากบ้าน หรือได้ยินประกาศตามหาญาติของผู้สูงอายุที่เดินหลงทางอยู่ตามถนนหาทางกลับบ้านไม่ถูก อันที่จริงแล้วเรื่องราวของโรคสมองเสื่อม และโรคอัลไซเมอร์นั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก Better Health ฉบับนี้ จึงไปคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเก็บข้อมูลมาฝากคุณ  

สมองเสื่อม = อัลไซเมอร์?

ภาวะสมองเสื่อมกับโรคอัลไซเมอร์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่า โรคอัลไซเมอร์นั้นเป็นโรคหนึ่งในกลุ่มอาการสมองเสื่อม นายแพทย์อิทธิพล ตะวันกาญจนโชติ แพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยา ที่มีความสนใจพิเศษเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ อธิบายว่า “ภาวะสมองเสื่อมเป็นความถดถอยในการทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมอง โดยเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจึงลุกลามไปยังสมองส่วนอื่น ๆ โดยที่ความเสื่อมถอยจะดำเนินอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งอาจใช้เวลานับ 10 ปี กว่าที่ความผิดปกติจะปรากฏชัดเจนจนสังเกตได้”

 

“ภาวะสมองเสื่อมเป็น
ความถดถอยในการ
ทำงานของสมองซึ่ง
เกิดจากการสูญเสีย
เซลล์สมอง โดยเริ่ม
จากส่วนใดส่วนหนึ่ง
แล้วจึงลุกลามไป
ยังสมองส่วนอื่น ๆ” 

นพ. อิทธิพล ตะวันกาญจนโชติ 

 นพ. อิทธิพล ตะวันกาญจนโชติ ศูนย์สมองและระบบประสาทวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพ


กลุ่มอาการสมองเสื่อม (Dementia Syndrome)จะจำแนกตามตำแหน่งของสมองที่เกิดความผิดปกติ อย่างเช่นสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์นั้นจะเป็นความเสื่อมถอยของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลต่าง ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลายลง อาการที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จึงเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับความจำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำระยะสั้นซึ่งเป็นอาการที่นำมาก่อนอาการอื่น ๆ


“เราจะทราบได้อย่างไรว่าปัญหาความจำที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะโรคอัลไซเมอร์” นายแพทย์อิทธิพลกล่าว “ขอให้พิจารณาว่าอาการดังกล่าวนั้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรือไม่ เมื่อเวลาผ่านไป อาการที่ตามมาคือ ความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง (Cognitive Impairment)เช่น มีปัญหาด้านการใช้ภาษา เลือกใช้คำพูดไม่ค่อยถูก สับสนเรื่องทิศทาง สิ่งที่เคยทำเป็นกิจวัตรก็เริ่มทำไม่เป็น ไม่รู้เวลาและสถานที่ ไม่สามารถตัดสินใจได้ ไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่เป็นเป็นนามธรรม และมีการวางของผิดที่แปลก ๆ บางรายมีความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและอารมณ์ เป็นต้น”

สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม

สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ เรื่องของอายุและพันธุกรรม จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยสูงถึงร้อยละ 5 - 8 และยิ่งทวีสูงขึ้น เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ในผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป พบอัตราการเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 50

“ภาวะสมองเสื่อมแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่ โรคสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ และโรคสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด ซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป” นายแพทย์อิทธิพลกล่าว “ภาวะสมองเสื่อมชนิดที่รักษาได้นั้น ส่วนมากมักมาจากโรคทางกายซึ่งหลายครั้งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน (Vascular dementia)ซึ่งมีสาเหตุจากความดันไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร และดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย อาการคล้ายโรคสมองเสื่อมก็จะดีขึ้นหรือหายไป”

ส่วนภาวะสมองเสื่อมอีกแบบที่ไม่สามารถรักษาได้ มักเกิดจากพยาธิสภาพบางประการในสมอง “มีทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าความผิดปกติของสมองดังกล่าว เกิดจากการก่อตัวอย่างผิดปกติของโปรตีนอะไมลอยด์ในเนื้อสมองซึ่งในสมองคนสูงอายุทั่วไป สามารถพบโปรตีนดังกล่าวได้ แต่จะมีปริมาณไม่มากเท่ากับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์” นายแพทย์อิทธิพลกล่าว

 

ข่าวเด่นประจำวัน

untitled99

“จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด” เพื่อบรรเทาความเครียด

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (เอ็นไอเอช) กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีวิตบางอย่างเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่สุดเพื่อบรรเทาความเครียด เริ่มจากการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้ครบห้าหมู่ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป และอย่าสูบบุหรี่หรือใช้ยาที่มีสารนิโคติน โคเคน หรือยาเสพติดอื่น ๆ เพื่อบรรเทาความเครียด” เอ็นไอเอชยังแนะนำด้วยว่า อย่าทำงานหามรุ่งหามค่ำจนไม่มีเวลาพัก มีเวลาให้กับครอบครัวและเพื่อน ๆ บ้าง หัดทำงานฝีมือต่าง ๆ หรือหัดเล่นดนตรี

 

ข่าวเด่นประจำวัน

558000007155201

โรคซึมเศร้า

คุณมีอาการของหรือไม่
รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ
ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต
น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป
นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ
รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง
อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ
คิดถึงแต่ความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย
ถ้าหากคุณมีอาการเช่นนี้หลายข้อ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ คุณอาจจะกำลังเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดได้ทั้งมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติของท่าน ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน

ปัจจัยที่กระตุ้นให้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสเกิดอาการก็คือ ความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์

สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่งต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเองและโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น

นอกจากนี้ หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้ สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยก็คือ

การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ ประจวบกับการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย
การรักษา

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างไร

เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น

ข่าวเด่นประจำวัน

11218502 913770942002426 5929233472542114965 o-1

รียด มาก ! ทำยังไงดี ?

นายแพทย์โรเบิร์ต เอ็ม ซาโปลสกี นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดให้ความหมายว่า เครียด คือสิ่งที่เข้ามาขัดขวางระบบการควบคุมตัวเองตามธรรมชาติของร่างกาย ร่างกายจะปรับความดันเลือด อุณหภูมิ อัตราความเครียดทางอารมณ์ กระตุ้นให้เกิดการระเบิดพลังทางร่างกาย ซึ่งเหมาะจะใช้ในสงครามการสู้รบหรือการหนีมากกว่าจะใช้จักการกับความขัดแย้งในความสัมพันธ์

 

 ส่วนสาเหตุของความเครียดนั้นมีมากมาย เช่น อะไรก็ตามที่กระตุ้นความรู้สึกรุนแรงไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเจ็บปวด (ความโกรธ ความเศร้า หรือความกลัว) หรือพึงพอใจ (ความยินดี หรือความตื่นเต้น) ก่อให้เกิดปฏิกิริยาความเครียดได้ทั้งสิ้น ตัววัดง่ายๆ คือ การเปลี่ยนแปลง เมื่อสถานการณ์หรือกิจวัตรเปลี่ยนไปไม่ว่าในทางดีหรือทางเลว ซึ่งทำให้เราต้องพยายามปรับตัว การพยายามปรับตัวและการคาดเดาอะไรไม่ได้นี่เองที่รวมตัวเป็นความเครียดเช่นกัน

Subcategories

  • ข่าวประชาสัมพันธ์

    ความเครียด!!!

    วามเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ

    ลกระทบที่ได้จากความเครียด
       
    -
    ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
        - ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
        - ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น

    าเหตุของความเครียด
        1.จากตัวเอง
           อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
        2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
           ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี

  • ข่าวเด่นประจำวัน

    วามเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ

    ลกระทบที่ได้จากความเครียด
       
    -ด้านร่ายกาย เช่น อาจจะทำให้ท้องเสีย หรือท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น
        - ด้านอารมณ์ เช่น ส่งผลให้ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกท้อแท้ อ่อนไหวได้ง่าย เป็นต้น
        - ด้านพฤติกรรม เช่น มีปัญหาด้านการกิน นอนไม่หลับ แยกตัวออกจากสังคม เป็นต้น

    าเหตุของความเครียด
        1.จากตัวเอง
           อคติ รับผิดชอบงานไม่ตรงความสามารถ ภาวะกดดันการทำงานในระยะเวลาจำกัด ปัญหาครอบครัว
        2.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
           ปริมาณงานมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในที่ทำงานไม่ดี งานมีระเบียบมากไป งานไม่มีความมั่นคงก้าวหน้า สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page