Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel

Pre test Breast 54 download-button
Pre test Hemostatic 54 download-button
Pre test Thyroid 54 download-button
หัตถการการเย็บแผล download-button
Basic Surgical Skill Sterile technique download-button
การดูแลบาดแผล ปี4 download-button
การเขียนรายงาน download-button
ATLS Medical student อ.ธวัชชัย download-button
initial management in trauma อ ธวัชชัย download-button
trauma อ ธวัชชัย download-button

head1

 

ภาควิชาศัลยศาสตร์ได้กำหนดวัตถุประสงค์รายวิชาให้สอดคล้องตามหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์และอิงเกณฑ์แพทยสภา ดังนี้

ศ 401 ศัลยศาสตร์ 1 (SG 401 Surgery l) 6(6-0) 

ศึกษาหลักและความรู้พื้นฐานการดูแลผู้ป่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป และผู้ป่วยในของ ศัลยศาสตร์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนศีรษะ คอ และเต้านม โรคติดเชื้อ โรคฉุกเฉิน โรคเนื้องอก การบาดเจ็บ ตลอดจนศึกษาทฤษฎีของโรคและโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย ซึ่งต้องให้การรักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรม


ศศ 411 ศัลยศาสตร์ 1 (Surgery I) 6(0-18)

ปฏิบัติงานและดูแลในหอผู้ป่วยศัลยศาสตร์ทั่วไป ศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ ศัลยศาสตร์ทวารหนักละลำไส้ใหญ่ซึ่งครอบคลุมการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัยโรคตลอดจนการเข้าช่วยห้องผ่าตัด ทั้งห้องผ่าตัดใหญ่และห้องผ่าตัดเล็ก  เพื่อศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือ และเทคนิคต่าง ๆ ในการผ่าตัด


ศศ 501 ศัลยศาสตร์ 2 ( SG 501 Surgery II) 3(3-0)

ศึกษาหลักและความรู้พื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยศัลยศาสตร์เฉพาะทาง ได้แก่ ศัลยศาสตร์เด็ก ศัลยศาสตร์ตกแต่งศัลยศาสตร์ทรวงอกและหัวใจ ศัลยศาสตร์ประสาท ซึ่ง ครอบคลุมเนื้อหาทฤษฎีของโรคต่างๆ ที่พบบ่อย ในสาขานั้น ๆ


ศ 511 ศัลยศาสตร์ 2 ( SG 501 urgery II) 3(0-9)

ปฏิบัติงานและดูแลในหอผู้ป่วย ศัลยศาสตร์เฉพาะทาง ได้แก่ กุมารศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์ตกแต่ง ศัลยกรรมทรวงอกและหัวใจ ศัลยกรรมประสาท โดยซักประวัติและตรวจ ร่างกาย ให้การวินิจฉัย และรักษาทำการผ่าตัดเล็ก และช่วยทำผ่าตัดใหญ่ เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ในการผ่าตัดในสาขานั้น ๆ


ศศ 611 ศัลยศาสตร์ 3 ( SG 501 Surgery III) 12 (0-36)

ปฏิบัติงานตรวจผู้ป่วย วิเคราะห์ให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัย ตลอดจนการรักษาเบื้องต้นผู้ป่วยศัลยศาสตร์ทั่วไปศัลยศาสตร์เฉพาะทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยฉุกเฉินทางศัลยศาสตร์และสามารถทำหัตถการฉุกเฉินช่วยชีวิตได้

 

ประวัติภาควิชาศัลยศาสตร์ 

        เพื่อตอบสนองนโยบายการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทยในปี 2523  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงได้เสนอโครงการผลิตแพทย์อย่างประหยัด โดยมีสาระสำคัญของโครงการ คือ มหาวิทยาลัย จะร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นที่วชิรพยาบาลและจะจัดหน่วยการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (premedical course) และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (preclinical course) ไว้ที่มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร  เพื่อรับผิดชอบการเรียนชั้นปีที่ 1 – 2 -3 สำหรับการเรียนการสอนระยะคลินิก 3 ปีหลัง คือ ปีที่ 4 – 5 - 6  จะจัดที่วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายในการรับนิสิตในช่วงระยะ 6 ปีแรก  จำนวนทั้งสิ้น 300 คน โครงการนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 145 ล้านบาท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจะรับผิดชอบงบประมาณทั้งสิ้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ศึกษาโครงการโดยละเอียดแล้ว เห็นว่าทั้งมหาวิทยาลัยและวชิรพยาบาล มีศักยภาพพร้อมที่จะดำเนินการได้ โครงการนี้ได้ผ่านการพิจารณาตามขั้นตอน  ได้รับการเห็นชอบจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2523 หลายครั้ง และเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2527 ได้มีมติเห็นชอบ และอนุมัติโครงการต่อมาคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาทบทวน มติอีกครั้งตามเสนอของแพทยสภาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2527 และมติได้คงเดิม ในที่สุดก็ได้มีมติประกาศจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 76  หน้า 19  ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2528

         ภาควิชาศัลยศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทำการจัดการเรียนการสอน การให้บริการตลอดจนงานวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา  โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นระยะที่ปฏิบัติงานที่วชิรพยาบาล ภาควิชาศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ร่วมมือกับ   ภาควิชาศัลยศาสตร์  วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลเป็นอย่างดี ในทุก ๆ  ด้าน ในการผลิตบัณฑิตแพทย์ตลอดจนให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยตลอดระยะเวลา  18  ปีที่ผ่านมา
         ระยะต่อมาตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ ได้มาปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และใช้เป็นฐานการผลิตบัณฑิตแพทย์ร่วมกับการให้บริการ ตรวจ-รักษาผู้ป่วยแก่จังหวัดโดยรอบที่ตั้งของโรงพยาบาล กล่าวคือ กรุงเทพฯและปริมณฑล (จังหวัดนครนายก, จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดใกล้เคียง
         ภาควิชาศัลยศาสตร์ทำการเรียนการสอนแก่นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4, 5 และชั้นปีที่ 6 โดยนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 จะเน้นการศึกษาในเชิง basic scienes, ทฤษฎีทางศัลยกรรมทั่วไปและศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 เน้นทฤษฎีในส่วนของศัลยศาสตร์ตกแต่ง ศัลยศาสตร์ระบบประสาท, ศัลยศาสตร์ทรวงอกและหัวใจ, กุมาศัลยศาสตร์  และนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 เน้นฝึกปฎิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลสมทบ ได้แก่ โรงพยาบาลสมุทรปราการ, โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ  รพ.ตำรวจ รพ.นพรัตน์ราชธานี และ  รพ.พระนารายณ์มหาราช ลพบุรี

หัวหน้าภาควิชาฯ ตั้งแต่เริ่มย้ายมาที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปีพ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบันมีดังนี้

1. ผศ.นพ. ปริญญา อัครานุรักษ์กุล ในปี พ.ศ 2546 -  พ.ศ. 2549

2. ผศ.นพ. ณรงค์ชัย ยิ่งศักดิ์มงคล ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549 ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

3. ผศ.นพ. ปริญญา อัครานุรักษ์กุล  ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ 2551  ถึง วันที่12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

4. ผศ.นพ. วิฑูรย์  อึ้งกิจไพบูลย์  ตั้งแต่ วันที่ 13 กรกฎาคม 2554 วันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2558
5. ผศ.นพ.วิชิต วิริยะโรจน์ ตั้งแต่ วันที่ 13 กรกฎาคม 2558 วันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2560
6. รศ.นพ.ปริญญา อัครานุรักษ์กุล 
ตั้งแต่ วันที่ 13 กรกฎาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน