การจัดการความรู้ของหน่วยงาน คลินิกฟ้าใสและคลินิกโรคหลอดลม งานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ
หัวข้อในการจัดการความรู้ (Knowledge Vision)
เรื่อง “พัฒนาเทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่”
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. นางกนกวรรณ ปรีดาภรณ์ภากร ผู้จัดการความรู้ (KM Manager)
2. นายสุขฏิพจน์ พรศรี คุณอำนวย (Facilitator)
3. นางสาวปาณปิยวรรณ วงค์แสนสี คุณลิขิต (Note Taker)
4. นายณรงค์ศักดิ์ พนาวาส คุณกิจ
1. หลักการและเหตุผล
การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง การรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว และประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่า ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูบและติดบุหรี่ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11 – 18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19 – 25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25 – 35 ปี
ทางคลินิกฟ้าใสจึงจัดให้มีการจัดการความรู้ เรื่อง “การสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่” ในการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการผลักดันให้ “สังคมไทยปลอดบุหรี่” อย่างแท้จริงได้ต่อไป ในอนาคตอันใกล้นี้
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดการรับรูเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบและการใหบริการเลิกบุหรี่
2. เพื่อใหมีความตระหนักและทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ และการใหบริการเลิกบุหรี่
3. เพื่อใหมีความรูและทักษะพิษภัยของบุหรี่ และประโยชนและวิธีการใหคำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ทั้งการใชยาและพฤติกรรมบําบัด
4. เพื่อเตรียมการในการสรางความเขมแข็งในการใหบริการเลิกบุหรี่
3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
1. เพื่อให้เกิดการรับรูเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ และการใหบริการเลิกบุหรี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
2. เพื่อใหมีความตระหนักและทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ และการใหบริการเลิกบุหรี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
3. เพื่อใหมีความรูและทักษะพิษภัยของบุหรี่ และประโยชนและวิธีการใหคําปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ทั้งการใชยาและพฤติกรรมบําบัด เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
4. เพื่อเตรียมการในการสรางความเขมแข็งในการใหบริการเลิกบุหรี่
4. วิธีการ/รูปแบบการจัดการความรู้ ***(กรุณาระบุ)***
R Success Story Telling (SST) (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.1)
¨ The World Cafe (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.2)
5. กระบวนการจัดการความรู้ (Share & Learn)
5.1 Success Story Telling (SST)
ผู้เล่าเรื่อง (Narrator) |
เหตุการณ์ (Context) |
เทคนิค/วิธีการ (Action) |
ผลลัพธ์ที่ได้รับ (Result) |
คุณกนกวรรณ คุณสุขฏิพจน์ คุณปาณปิยวรรณ คุณณรงค์ศักดิ์ |
1. ค้นหาปัญหาที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทุกตำแหน่งสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้โดยไม่มีข้อจำกัดในการเสนอความคิดเห็น |
- ทบทวนปัญหาในการปฏิบัติงานของหน่วยงานในรอบสามเดือนที่ผ่านมา |
สรุปหัวข้อเรื่องในการแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนี้ คือ การสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ เนื่องจากพบว่าผู้รับบริการเลิกบุหรี่มีอัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จลดลง จึงได้จัดทำการทบทวนความรู้ของหน่วยงานขึ้น |
คุณกนกวรรณ คุณสุขฏิพจน์ คุณปาณปิยวรรณ คุณณรงค์ศักดิ์ |
2. กำหนดวิธีการจัดการความรู้ |
- ใช้วิธีการ “Success Story Telling (SST)” โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อความสะดวกในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งใช้แนวคิดของของแลกเปลี่ยนตามประสบการณ์หรือความรู้ที่ตนเองมี แล้วนำความคิดเห็นที่เสนอออกมา เรียงความสำคัญ โดยผู้จัดการความรู้จะเป็นผู้เสนอประเด็นแต่ละประเด็นจนครบ โดยกำหนดให้ทุกคนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและระยะเวลาในแต่ละหัวข้อ |
|
คุณกนกวรรณ คุณสุขฏิพจน์ คุณปาณปิยวรรณ คุณณรงค์ศักดิ์ |
3. การแลกเปลี่ยนความรู้ |
- ประเด็นที่ 1 คือสาเหตุที่ทำให้ผู้รับบริการเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ - ประเด็นที่ 2 คือ อะไรบ้างที่ทำให้ผู้รับบริการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ |
- สาเหตุของการเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ โดยสรุป เกิดจาก ผู้รับบริการขาดแรงบันดาลใจ เป้าหมาย ความตั้งใจพฤติกรรมความเคยชิน สิ่งแวดล้อมสถานที่ และไม่เห็นความสำคัญของการเลิกบุหรี่ - สิ่งที่ทำให้ผู้รับบริการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จได้แก่ สร้างแรงจูงใจ ปรับพฤติกรรม ตั้งเป้าหมาย กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการเลิกบุหรี่ |
คุณกนกวรรณ คุณสุขฏิพจน์ คุณปาณปิยวรรณ คุณณรงค์ศักดิ์ |
4. การสรุปประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
- มีวิธีการใดบ้างที่จะช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่แก่ผู้รับบริการ |
- ใช้หลักการสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จ ได้แก่ 1. พลัง(Energy) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการกระทำหรือพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความกระตื้อรื้อร้นที่จะกระทำการให้สำเร็จ 2. ความพยายาม(Persistence) ทำให้บุคคลมีความมานะอดทนไม่ท้อถอย หรือละความพยายามง่ายๆ 3. การเปลี่ยนแปลง(Variability) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพยายามแก้ไขให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น 4. บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจ เป็นบุคคลสำคัญในการช่วยกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จ อาจเป็นครอบครัวหรือคนใกล้ชิด |
5.2 The World Cafe
ผู้เล่าเรื่อง (Narrator) |
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share & Learn) |
เทคนิค/วิธีการ (Action) |
6.สรุปความถี่ (ข้อมูลที่ได้มาจากข้อ 5.1 หรือ 5.2)
เรื่อง |
จำนวนความถี่ |
1. ทบทวนปัญหาที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทุกตำแหน่งสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้โดยไม่มีข้อจำกัดในการเสนอความคิดเห็น |
13 ธันวาคม 2562– 28 ธันวาคม 2562 |
2. กำหนดวิธีการจัดการความรู้ |
7 มกราคม 2563– 25 มกราคม 2563 |
3. การแลกเปลี่ยนความรู้ |
27 มกราคม 2563 – 27 กุมภาพันธ์ 2563 |
4. การสรุปประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
28 กุมภาพันธ์ 2563– 6 มีนาคม 2563 |
7. Key Success Factor (ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สรุปจากกระบวนการจัดการความรู้ในข้อ.6 (โดยเรียงจากความถี่ที่ได้จากข้อ 6 จากความถี่มากสุดไปหาน้อยสุด)
8. นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)
R คู่มือ
£ แผ่นพับ
และ £ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ..เมื่อวันที่..(ระบุ).................................
เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า website KM หน่วยงานมาด้วย)
9. ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
1. บุคลากรในคลินิกฟ้าใสเกิดการรับรูเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ และการให้บริการเลิกบุหรี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
2. บุคลากรในคลินิกฟ้าใสมีความตระหนักและทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ และการให้บริการเลิกบุหรี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
3. บุคลากรในคลินิกฟ้าใสมีความรูและทักษะพิษภัยของบุหรี่ และประโยชนและวิธีการให้คำปรึกษา เพื่อเลิกบุหรี่ทั้งการใช้ยา และพฤติกรรมบำบัด เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
4. คลินิกฟ้าใสสามารถเตรียมการในการสร้างความเข้มแข็งในการให้บริการเลิกบุหรี่ได้
10. สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
ใช้แนวคิด เทคนิคในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้รับบริการ โดยมีกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดการปรึกษาหารือและนำปัญหาต่างๆมาแลกเปลี่ยน (Sharing) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างEmpowerment และนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
11. After Action Review (AAR)
ใช้แนวคิด เทคนิคในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้รับบริการ โดยมีกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพระหว่างให้บริการและผู้รับบริการในหน่วยงานต่างๆในองค์กร เพื่อให้เกิดการปรึกษาหารือและนำปัญหาต่างๆมาแลกเปลี่ยน (Sharing) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างEmpowerment และนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน