กิจกรรมจิตอาสา
คลินิกฟ้าใสและคลินิกโรคหลอดลม
โครงการจัดบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม
ความสำคัญของปัญหา
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ท้าทายทั้งระดับประเทศและระดับโลก เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัว ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และยังก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นถึงปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและความสำคัญในการจัดการกับปัญหานี้อย่างจริงจัง
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคที่ป้องกัน ควบคุม และจัดการได้ด้วยมาตรการที่เหมาะสม ตั้งแต่มาตรการด้านกฎหมาย ควบคุมปัจจัยกำหนด หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดเสี่ยงปรับสภาพแวดล้อมที่ลดเสี่ยง และเอื้อต่อสุขภาพ และการเข้าถึงระบบบริการที่มีคุณภาพของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพื่อให้ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคสามารถควบคุม ป้องกันปัจจัยเสี่ยงร่วม/โอกาสเสี่ยงได้หรือดีขึ้น ลดอัตราการป่วย กลุ่มป่วยสามารถควบคุมสภาวะของโรคได้ ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการนอนโรงพยาบาล และลดอัตราการเสียชีวิตที่สัมพันธ์โดยตรงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
คลินิกฟ้าใส ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ จึงจัดตั้งคลินิก “ชีวาพัฒน์” ขึ้น เพื่อเป็นการบูรณาการระหว่างสหวิชาชีพ ที่เชื่อมโยงการบริหารจัดการและดำเนินการทางคลินิก เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการในกระบวนการ ป้องกัน ควบคุม ดูแล และจัดการกับสาเหตุของปัญหาโรคเรื้อรังอย่างเป็นระบบ
วัตถุประสงค์
1. มีความรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases : NCD) และการดูแลตนเอง ได้อย่างถูกต้อง
2. มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม ในด้าน “เปลี่ยน” พฤติกรรมเหล่านี้ทั้ง 4 ประการได้ โดยแนวทางที่จำง่ายๆ ได้แก่ ก-ข-ค-ง ซึ่งย่อมาจาก ก.กินน้อย ข.ขยับบ่อยๆ ค.คลายเหล้า ง.งดบุหรี่
3. มีความพึงพอใจในบริการสุขศึกษา
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases : NCD) และญาติที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม
กิจกรรม ด้านการเรียนรู้
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases : NCD) โดยใช้ภาพชุด แผ่นพลิก และโมเดลอาหารเป็นสื่อในการเรียนรู้ร่วมกับนักโภชนาการ เช่น รู้จักอาหารแลกเปลี่ยน ปริมาณเครื่องปรุงที่ควรได้รับในแต่ละวัน เป็นต้น
2. การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน โดยสอบถามถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยที่ผ่านมา ในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยง 4 ประการ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มอย่างไม่รับผิดชอบ การไม่ออกกำลังกาย และการกินอาหารรสจัด ทั้ง “หวานมันเค็ม” หากคนไทยสามารถ “เปลี่ยน” พฤติกรรมเหล่านี้ทั้ง 4 ประการได้ โดยแนวทางที่จำง่ายๆ ได้แก่ ก-ข-ค-ง ซึ่งย่อมาจาก ก.กินน้อย ข.ขยับบ่อยๆ ค.คลายเหล้า ง.งดบุหรี่ การจัดการความเครียด และการมาพบแพทย์ตามนัด เป็นต้น พร้อมกับร่วมกันวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งผู้ป่วยและญาติ โดยใช้ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้
ด้านพัฒนาทักษะ
1. กิจกรรมเสริมสร้างทักษะเรื่องการบริโภคอาหาร โดยใช้โมเดลอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยทราบถึงปริมาณการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อและมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารแลกเปลี่ยน สามารถเลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับโรค และฝึกให้ผู้ป่วยลองจัดอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ
2. สาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสม พร้อมคำแนะนำในการออกกำลังกาย ซึ่งให้ผู้ป่วยได้ลอง ฝึกปฏิบัติ
3. ฝึกทักษะการผ่อนคลายความเครียด การกำหนดลมหายใจเข้าออก
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2561 – ปัจจุบัน ทุกวันพฤหัสบดี 08.00 – 09.00 น.