การจัดการความรู้เรื่อง การเฝ้าระวังป้องกันการใช้รถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบพลังงานไฟฟ้า
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. หลักการและเหตุผล
จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา -19 ในช่วงต้นปีพ.ศ.2563 สถานพยาบาลต่าง ๆต้องให้บริการผู้ป่วยที่เข้าข่ายต้องสงสัยติดเชื้อและผู้ที่ติดเชื้อมาแล้ว มาไว้เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการและการรักษาพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้มีการแพร่กระจายเชื้อผ่านละอองฝอยในอากาศจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้โดยแก่นฝอยละออง (droplet nuclei) ที่มีเชื้อจุลชีพอยู่ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศได้ ซึ่งเชื้อไวรัสมีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ไมครอนสามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานโดยไม่ตกลงพื้น และล่องลอยไปในอากาศได้ไกลมากจากจุดกำเนิด หากมีการติดเชื้อแล้วอาจมีอาการรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว การป้องกันของบุคลากรทางการแพทย์นั้นมีหลายมาตรการ เช่น การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล การใส่ชุดป้องกัน การใส่หน้ากากอนามัย รวมไปถึงการใช้ Face shield เพื่อป้องกันตนเองและป้องกันการรับเชื้อจากผู้อื่น แต่ในกระบวนการให้บริการของหน่วยเคลื่อนย้ายซึ่งต้องสัมผัสผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและขนส่งผู้ป่วยไปสถานที่ต่าง ๆมีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่จะได้รับเชื้อจากผู้รับบริการ คณะผู้ประดิษฐ์ได้วิเคราะห์เห็นช่องว่างในการที่จะทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อได้โดยง่ายจากการขนย้ายผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ห้องเอ็กซเรย์ หรือ ห้องพักผู้ป่วย จึงได้คิดค้นวิธีการป้องกัน โดยได้ประดิษฐ์รถเข็นนั่งสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบแรงดันลบขึ้นมาเพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและเพิ่มความปลอดภัยทั้งด้านผู้ให้บริการและผู้มารับบริการรวมถึงประชาชนอื่น ๆที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
โดยหลักการทำให้ภายในกล่องผู้ป่วยเป็นแรงดันลบ คือ มีการนำอากาศภายนอกเข้ามาภายในตัวกล่องผ่านที่กรองอากาศ ซึ่งการไหลเวียนของอากาศภายในเพียงพอสำหรับหายใจ และความแตกต่างของความดันภายในกล่องต่ำกว่าภายนอก ทำให้โรคไม่ฟุ้งกระจาย และตกสู่ด้านล่างของกล่องและดูดออกภายนอกผ่าน Hepa- filter และผ่านแสง อินฟาเรดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ก่อนปล่อยสู่บริเวณรอบ ๆ สำหรับ versionนี้ เป็นการปรับปรุงจุดอ่อน 3 เรื่อง 1) แรงส่งกรณีพบเส้นทางที่ไม่สม่ำเสมอ แล้วแรงดันรถไม่เพียงพอ เลยใช้การบังคับการเคลื่อนย้ายล้อหน้าด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่แทนแรงขับเคลื่อนจากคน 2) ระบบตัวกรองและการฆ่าเชื้ออากาศที่ระบายสู่ภายนอกโดยเพิ่มให้ผ่านรังสีอินฟาเรดหลังผ่านตัวกรอง Hepa-filter เพื่อฆ่าเชื้อก่อนดูดทิ้งสู่ภายนอก 3) ความสะดวกในการทำกิจกรรมกับผู้ป่วย อาทิ เช่น ขึ้นลงได้ 2 ทาง เบาะนั่งนุ่มสบายขึ้น (ทำความสะอาดง่าย) สามารถติดตั้ง infusion pump ภายในกล่องได้ สามารถสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่ได้สะดวกขึ้น เพิ่มเครื่องมือตรวจวัดแรงดัน อุณหภูมิ ออกซิเจน ตัววัดกำลังไฟฟ้า เป็นต้น
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้บุคลากรและทักษะในการใช้รถแรงดันลบอย่างถูกต้อง
3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
4. วิธีการ/รูปแบบการจัดการความรู้ ***(กรุณาระบุ)***
/ ¨ Success Story Telling (SST) (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.1)
¨ The World Cafe (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.2)
5. กระบวนการจัดการความรู้ (Share & Learn)
5.1 Success Story Telling (SST)
ผู้เล่าเรื่อง (Narrator) |
เหตุการณ์ (Context) |
เทคนิค/วิธีการ (Action) |
ผลลัพธ์ที่ได้รับ (Result) |
อำนาจ |
การใช้สวิทซ์ต่าง ๆ |
สาธิตการใช้งาน |
มีความรู้และใช้งานได้ถูกต้อง |
ภิรมย์ |
การขับเคลื่อนในทิศทางต่าง ๆ |
สาธิตการใช้งาน |
มีความรู้และใช้งานได้ถูกต้อง |
เอกมงคล |
การทำความสะอาดภายหลังการใช้งาน |
เล่าเรื่อง |
เข้าใจขั้นตอน |
ธีรพล |
การตรวจสอบความพร้อม |
สาธิตการใช้งาน |
มีความรู้และใช้งานได้ถูกต้อง |
วิโรจน์ |
วิธีการขอใช้งานรถความดันลบ |
เล่าเรื่อง |
เข้าใจขั้นตอน |
ทรนงค์ |
การดูผู้ป่วยขณะเคลื่อนย้าย |
สาธิตการใช้งาน |
มีความรู้และใช้งานได้ถูกต้อง |
5.2 The World Cafe
ผู้เล่าเรื่อง (Narrator) |
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share & Learn) |
เทคนิค/วิธีการ (Action) |
6.สรุปความถี่ (ข้อมูลที่ได้มาจากข้อ 5.1 หรือ 5.2)
เรื่อง |
จำนวนความถี่ |
|
|
6 |
|
5 |
|
7 |
|
7. Key Success Factor (ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สรุปจากกระบวนการจัดการความรู้ในข้อ.6 (โดยเรียงจากความถี่ที่ได้จากข้อ 6 จากความถี่มากสุดไปหาน้อยสุด)
1.การตรวจสอบความพร้อมก่อนใช้งาน
2.การบังคับรถไปทิศทางที่ต้องการและการใช้สัญญาณต่าง ๆ
3.การทำงานให้ความดันเป็นลบ
4.การดูแลผู้ป่วยขณะเคลื่อนย้าย
5.ข้อกำหนดในการใช้รถความดันลบ
6.การทำความสะอาดหลังการให้บริการ
8. นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)
£ คู่มือ
/£ แผ่นพับ
/และ £ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ..เมื่อวันที่..(ระบุ) 13 ม.ค.65
เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า website KM หน่วยงานมาด้วย)
9. ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีการบำรักษารถความดันลบอย่างสม่ำเสมอ
10. สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
มีการตรวจสอบความพร้อมก่อนการใช้งานและการทำความสะอาดภายหลังการใช้งานทุกครั้ง
11. After Action Review (AAR)
พัฒนาองค์ความรู้และทักษะการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่บุคลากรและการแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวตกรรมและพัฒนางานประจำอย่างต่อเนื่อง
12. ภาพประกอบการทำกิจกรรม
....................................................................
(ลงชื่อนางนงนุช แย้มวงศ์)
หัวหน้าหน่วยงานการพยาบาลรัก