หัวข้อจัดการความรู้ การดูแลรถความดันลบ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. นางนงนุช แย้มวงศ์ ผู้จัดการความรู้ (KM Manager)
2. นายภิรมย์ ทองสิบวงษ์ คุณอำนวย ( Facilitator)
3. นายทวีป แย้มสระโส คุณอำนวย ( Facilitator)
4. นายวิโรจน์ สุขสมบูรณ์ คุณลิขิต (Note Taker)
5. นายเอกมงคล ระบอบ คุณกิจ
6. นายธีรพล สุขชาติ
6. นายพิมพ์ใจ กริ่มใจ
7. นายนพนันท์ คงศร
8. นายฉัตรระพี บุญกล่ำ
9.นายภคพงค์ แตงไทย
10.นายอานนท์ พัดสอน
1. หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 รอบที่ 4 ทำให้มีคนติดเชื้อจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และความรุนแรงของการติดเชื้อทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งขณะนี้ได้มีการกลายพันธ์ของเชื้อโควิด-19 ที่เกิดขึ้นหลายสายพันธ์และบางสายพันธ์ไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นชัดเจนและแพร่กระจายได้ง่าย รวดเร็ว ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากมาตรวจที่โรงพยาบาล บุคลากรแผนกเคลื่อนย้ายจะต้องเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด อาจติดเชื้อได้โดยง่าย รวมถึงผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ก็สามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นในโรงพยาบาลได้ เกิดสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยเพราะในโรงพยาบาลมีผู้คนจำนวนมากที่มารับบริการจนเกิดความแออัดในแต่ละแผนกอยู่แล้ว ทำให้โอกาสติดเชื้อมีค่อนข้างสูง
2. วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่ทุกคน ตระหนักถึงอันตรายจากอัคคีภัย
2.เพื่อให้บุคลากรมีความพร้อม ความเข้าใจ รับผิดชอบหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุ
3.เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อการเกิดอัคคีภัยถูกต้อง รวดเร็ว และทันเวลา
3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติเรื่องอัคคีภัยในหน่วยงาน
เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจและบอกขั้นตอนการระงับเหตุเบื้องต้นได้
4. วิธีการ/รูปแบบการจัดการความรู้
¨ Success Story Telling (SST) (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.1)
þ The World Cafe (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.2)
5. กระบวนการจัดการความรู้ (Share & Learn)
5.1 Success Story Telling (SST)
ผู้เล่าเรื่อง (Narrator) |
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share & Learn) |
เทคนิควิธีการ (Action) |
พี่นุช |
- ซักถามความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเมื่อมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19ที่ต้องเคลื่อนย้ายด้วยรถนั่งและรถนอน โดยให้บุคลากรและพนักงานแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
- แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
พี่นุชและเอ็ม |
- ให้ความรู้เรื่อง แนวทางการป้องกันตนเองก่อนและหลังการรับส่งผู้ป่วย เช่น การสวมชุด PPE การสวมแมสก์ การล้างมือและการแยกอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ |
- อธิบาย แจกเอกสารประกอบ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
ลุงเอก |
- อธิบายการใช้รถและข้อควรระวังของบุคลากรในหน่วยงาน และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ |
- อธิบาย |
ลุงเอก,ลุงอ้อ |
- ประสบการณ์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ผู้ใหญ่ และให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น |
- อธิบายวิธีการและแสดงตัวอย่างประกอบ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
วิโรจน์และเอ็ม |
- ให้ความรู้เรื่องการจัดการตนเองและรถหลังใช้งานเสร็จแล้ว |
- อธิบาย แจกเอกสารประกอบ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
พี่นุชและเอ็ม |
- สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปแนวปฏิบัติให้เป็นทิศทางเดียวกัน |
- เสนอแนะข้อควรแก้ไข และการจัดทำเป็นคู่มือการใช้รถ |
6.สรุปความถี่ (ข้อมูลที่ได้มาจากข้อ 5.1 หรือ 5.2)
เรื่อง |
จำนวนความถี่ |
1. ข้อดีข้อเสียของการใช้รถความดันลบ |
17 ครั้ง |
2. ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายกรณีผ่าตัด |
10 ครั้ง |
3. วิธีการทำความสะอาดรถภายหลังการใช้งาน |
8 ครั้ง |
4. วิธีการทำความสะอาดผู้ให้บริการภายหลังส่งตัวผู้ป่วย |
7 ครั้ง |
5. อุปสรรคปัญหาการใช้รถความดันลบในประเด็นต่างๆ |
2-5 ครั้ง |
6. การบำรุงรักษารถความดันลบ |
1-2 ครั้ง |
7. Key Success Factor (ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สรุปจากกระบวนการจัดการความรู้ในข้อ.6 (โดยเรียงจากความถี่ที่ได้จากข้อ 6 จากความถี่มากสุดไปหาน้อยสุด)
1. บุคลากรมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการป้องกันตนเองและใช้อุปกรณ์ในการป้องกันอย่างเหมาะสม
2. บรรยากาศของกลุ่ม ทำให้ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น แชร์ความรู้ประสบการณ์ร่วมกัน
3. บางหัวข้อไม่ใช่บริบทหน่วยงาน บุคลากรไม่คุ้นชิน จึงมีส่วนร่วมในการแชร์ความคิดเห็นน้อย ต้องให้ Facilitator อธิบาย และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม
8. นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)
/ £ คู่มือ
£ แผ่นพับ
£ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ..เมื่อวันที่..(ระบุ).................................
เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า Website KM หน่วยงานมาด้วย)
9. ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
บุคลากร/เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานได้เรียนรู้ร่วมกัน นำความรู้ ทฤษฎีและประสบการณ์ในเรื่องอัคคีภัยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุของหน่วยงานได้ เพื่อตอบสนองนโยบายขององค์กร
10. สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
มีคู่มือการใช้รถความดันลบ
11. After Action Review (AAR)
1.ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้อย่างไร
- บุคลากรในหน่วยงานสามารถใช้รถได้อย่างถูกต้องและทำความสะอาดได้อย่างเหมาะสมเพื่อรักษามาตรฐานของการให้บริการ
- มีคู่มือการใช้รถความดันลบในหน่วยงาน
2.ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร
- นำไปจัดระบบการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสิ่งแวดล้อมและป้องกันการรับเชื้อมาจากบุคคลอื่น
12. ภาพประกอบการทำกิจกรรม