ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

KM2567/1 แนวทางการคิดค่าใช้จ่ายในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือให้มีประสิทธิภาพ

 

 km2

ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

 

  1. หลักการและเหตุผล

            ในปัจจุบันการทำหัตถการตรวจสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดบริเวณข้อมือมีขนาดเล็กและอยู่ตื้นหลังทำหัตถการฉีดสี หรือขยายหลอดเลือดหัวใจ แพทย์สามารถดึงสายสวนและท่อนำออกจากหลอดเลือดได้ทันที ผู้ป่วยสามารถลุกจากเตียง และสามารถทำกิจวัตประจำวันได้ทันที เพียงแต่ห้ามงอข้อมือข้างที่ทำหัตถการเป็นเวลา 6–8 ชั่วโมง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนนานได้หรือจำกัดการทำกิจกรรมเป็นเวลานานได้ ซึ่งการทำหัตถการดังกล่าวจะมีการใช้อุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ (1) สายรัดข้อมือเพื่อห้ามเลือดหลังถอดท่อนำสายสวนบริเวณข้อมือ (TR-Band) เป็นสายรัดข้อมือที่มีลูกโป่งติดอยู่เพื่อกดให้เลือดหยุดโดยการใส่ลมเพื่อเข้าไปในลูกโป่ง (2) ท่อนำสายสวนสำหรับหลอดเลือดขนาดเล็กที่ใช้สำหรับใส่เข้าทางหลอดเลือดบริเวณข้อมือ (radial artery) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวเบิกได้ค่าใช้จ่ายได้ไม่เหมือนกันในแต่ละสิทธิ์การรักษา

         จากสถิติข้อมูลผู้ป่วยที่ทำหัตถการผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ ส่วนใหญ่ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองมาคือสิทธิ์ต้นสังกัด และประกันสังคมตามลำดับ พบปัญหาในการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในแต่ละสิทธิ์การรักษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับการทำหัตถการดังกล่าว เนื่องจากอุปกรณ์ยังเบิกได้ไม่ครบทุกสิทธิ์ รวมทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการประกาศปรับราคา และมีรหัสอุปกรณ์เพิ่มเติม พร้อมทั้งกำหนดข้อบ่งชี้และเงื่อนไขในการใช้แตกต่างกันจากสิทธิ์ต้นสังกัดและประกันสังคม

       ทางหน่วยงานจึงเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือ ให้มีประสิทธิภาพขึ้นมา เพื่อให้ลดอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการคิดค่าใช้จ่าย

 

 

2.วัตถุประสงค์

          เพื่อพัฒนาแนวทางการคิดค่าใช้จ่ายในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือให้มีประสิทธิภาพ    

 

3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

1. ลดอุบัติการณ์การเขียนใบสั่งยาและใบบันทึกรายการอุปกรณ์ไม่ถูกต้อง

2. ลดอุบัติการณ์การคีย์การใช้อุปกรณ์ในระบบ EMR ไม่ถูกต้อง

3. ลดอุบัติการณ์การเขียนรหัสอุปกรณ์ในใบสั่งยาไม่ถูกต้อง

 

4. วิธีการ/รูปแบบการจัดการความรู้   ***(กรุณาระบุ)***

 

          ¨ Success Story Telling (SST) (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.1)

 ¨ The World Cafe (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.2)

 

5. กระบวนการจัดการความรู้ (Share & Learn)

5.1 The World Cafe

 

6. สรุปความถี่ (ข้อมูลที่ได้มาจากข้อ 5.1 หรือ 5.2)

 

เรื่อง

จำนวนความถี่

การคีย์ค่าใช้จ่ายในระบบ EMR ถูกต้อง

10

การเขียนรหัสเบิกอุปกรณ์ในใบสั่งยา ถูกต้อง

10

การเขียนใบสั่งยา ถูกต้อง

8

การบันทึกใบรายการอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ถูกต้อง

7

การบันทึกรายการยา/อุปกรณ์ที่ใช้ ครบถ้วน

5

 

7. Key Success Factor (ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สรุปจากกระบวนการจัดการความรู้ในข้อ.6                        

(โดยเรียงจากความถี่ที่ได้จากข้อ 6 จากความถี่มากสุดไปหาน้อยสุด)

7.1 การคีย์ค่าใช้จ่ายในระบบ EMR ถูกต้อง

7.2 การเขียนรหัสเบิกอุปกรณ์ในใบสั่งยา ถูกต้อง

7.3 การเขียนใบสั่งยา ถูกต้อง

7.4 การบันทึกใบรายการอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ถูกต้อง

7.5 การบันทึกรายการยา/อุปกรณ์ที่ใช้ ครบถ้วน

 

8. นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)

 þ มีแนวทางปฏิบัติแนวทางการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือ                                                             และ þ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ   เมื่อวันที่  18 มกราคม 2567

เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า website KM หน่วยงานมาด้วย)

 

9. ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM

9.1 ทีมมีความรู้เรื่องข้อบ่งชี้ในการใช้อุปกรณ์ รหัสเบิก ราคาอุปกรณ์ และเงื่อนไขในการใช้อุปกรณ์

9.2 ทีมมีแนวทาง หรือข้อมูลในการแจ้งผู้ป่วยล่วงหน้าเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนเกินในการใช้อุปกรณ์พิเศษ

9.3 ช่วยลดอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการ

 

10. สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้

          10.1 บุคลากรการบันทึกการใช้อุปกรณ์และมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้องของเอกสารทุกราย

10.2 บุคลากรมีการคีย์ค่าใช้จ่ายการบันทึกรหัสอุปกรณ์ที่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขของผู้ป่วยแต่ละสิทธิ์การรักษา

10.3 มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

 

 11. After Action Review (AAR)

          11.1 ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้อย่างไร

                 เพื่อให้ทีมที่เกี่ยวข้องสามารถเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในการทำหัตถการสวนหัวใจและหลอดเลือดได้ถูกต้องครบถ้วน   

          11.2. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร

                 นำความรู้แนวทาง และนวัตกรรม ที่ได้ไปเผยแพร่ เพื่อให้ทีมที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางประกอบการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์

                 ค่ารักษาพยาบาลในการทำหัตถการสวนหัวใจและหลอดเลือดได้ถูกต้อง

                                                                                                                                                                                    

 

 

KM2566/2 แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล

 

KM

 

 ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

KM การจัดการความรู้  เรื่อง    แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล 

 

หลักการและเหตุผล

          โรคกล้ามหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ถือเป็นการเจ็บป่วยวิกฤติและฉุกเฉินจากการอุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจ เป็นภาวะที่ต้องได้รับความดูแลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อลดอัตราตายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีแนวทางการรักษาที่เป็นมาตรฐาน คือการเปิดหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการเจ็บหน้าอกภายใน 12 ชั่วโมง โดยที่ยังมี STsegment elevation    ซึ่งการเปิดหลอดเลือดหัวใจ (Reperfusion therapy) แบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Fibrinolytic therapy) ให้เร็วที่สุดภายใน 10 นาที หรืออย่างช้าไม่เกิน 30 นาที หลังได้รับการวินิจฉัย และการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางสายสวน Primary percutaneous coronaryintervention (Primary PCI) ภายในเวลา 120 นาที  ไม่ว่าจะใช้แนวทางใด พึงระลึกเสมอว่าการวินิจฉัยและการรักษาต้องทำให้เร็วที่สุด การดูแลรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำเป็นต้องมีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาทันท่วงที ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิต หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ หลังเข้ารับการรักษาสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ (สมาคมแพทยโรคหัวใจแห่งประเทศไทย, 2563)

          จากการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยตามระบบเดิมที่มีอยู่ยังพบประเด็นปัญหาที่เป็นโอกาสในการพัฒนา  ทางทีมผู้ดูแลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว จึงร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันให้มีประสิทธิภาพขึ้นมา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย

  

วัตถุประสงค์

          เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล        

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

         มีแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล   

 

 

ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM

 

         -  ทีมมีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

 

         -  ทีมมีแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลเป็นแนวทางเดียวกัน

 

         -  มีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับบริบทและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย

 

         -  ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมรวดเร็ว และปลอดภัย

 

สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้

 

          -  ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ได้ตามมาตรฐานตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายกลับบ้าน

 

          -  บุคลาการมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล

 

          -  มีแบบประเมินการดูแลรักษาผู้ป่วยสงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

 

          -  มีการเก็บตัวชี้วัดที่ถูกต้องครบถ้วน สามารถนำไปเทียบเคียงได้   

 

CPG-ACSSTEMI

 

 

KM2567/2 แนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track

 

 KM_2.1.jpgKM 2.2

ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

 หลักการและเหตุผล

 

           ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STE-ACS) ถือเป็นภาวะวิกฤติที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการเข้าถึงบริการอย่างรวดเร็ว ได้รับการประเมิน การตรวจวินิจฉัย รักษาอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เป้าหมายการดูแลผู้ป่วยคือ ผู้ป่วยได้รับการขยายหลอดเลือดภายใน 120 นาที หรือได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาทีนับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล และไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ด้วยศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรับส่งต่อเฉพาะด้านการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวนระดับ 1 ในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 มีพื้นที่รับผิดชอบคือ โรงพยาบาลลูกข่ายในจังหวัดนครนายก และ โรงพยาบาลพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งผู้รับบริการส่วนใหญ่เข้ารับการตรวจรักษาในลักษณะเร่งด่วน ฉุกเฉิน และทีมได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการส่งต่อเป็นระบบช่องทางด่วนสำหรับส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (STEMI fast track) เพื่อลดปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้าถึงโรงพยาบาลไม่ทันเวลา ไม่เหมาะสม โดยให้โรงพยาบาลลูกข่ายนำส่งผู้ป่วยมายังห้องสวนหัวใจ (Pass to Cath Lab) ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านห้องฉุกเฉิน ยกเว้นมีอาการทรุดลงขณะเดินทาง ทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้เร็วมากขึ้น ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่นำส่งผู้ป่วยมาที่ ห้องสวนหัวใจ ชั้น 4 ให้ญาติผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่ไปติดต่อทำประวัติ ตรวจสอบสิทธิการรักษา และทำ Admit เป็นผู้ป่วยใน ตามลำดับแต่จากข้อมูลเดือนกุมพาพันธ์ 2567 (ข้อมูลดังตารางที่ 1) พบว่ามีผู้ป่วย 3 ราย ที่เวลาในการทำ Admit หรือ เวลาที่ออกเลข AN ของผู้ป่วย มีความล่าช้ากว่าเวลาที่แพทย์เริ่มทำหัตถการได้มีการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า ญาติและเจ้าหน้าที่ที่มาติดต่อไม่ทราบขั้นตอน ยังขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ใช้เวลาในการติดต่อแต่ละแผนกค่อนข้างนาน บางครั้งต้องรอคิว ยังไม่มีระบบช่องทางด่วน รวมทั้งเอกสารใบส่งตัวของผู้ป่วยไม่ครบ/ไม่ถูกต้อง ต้องรอประสานงาน จึงทำให้เกิดความล่าช้า

 

         ห้องสวนหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับทีมผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเนื่องจากเวชระเบียนเป็นเอกสารสำคัญ จึงร่วมกันปรับปรุงแนวทางโดยใช้แนวคิด Lean มาพัฒนาแนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ให้รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา เพื่อให้การบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยสมบูรณ์ ครบถ้วน สอดคล้องกับการทำหัตถการ และผ่านการตรวจประเมินคุณภาพ

 

วัตถุประสงค์

 

           เพื่อพัฒนาแนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ให้รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา

 

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด  

 

           ร้อยละผู้ป่วย STE-ACS Fast track ได้รับการทำ Admit ก่อนเวลาเริ่มทำหัตถการ 100 %

 

วิธีการ ( Lean)

 

           ระบบการ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track (Refer in) แบบเดิม

 

 

 

**ปัญหาที่พบ : เวลาที่ออกเลข AN เพื่อลงทะเบียน Admit ผู้ป่วย ช้ากว่า เวลาที่แพทย์เริ่มทำหัตถการ**

 

 

นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)

 

          R แนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACSFast track

 

          £ แผ่นพับ

 

          และ £ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ เมื่อวันที่..(ระบุ)  21 มิถุนายน 2567

 

เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า website KM หน่วยงานมาด้วย)

 

 

 

 

ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM

 

สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้

 

      มีการนำแนวคิด lean มาใช้ร่วมกับระบบช่องทางด่วน (Fast track) สำหรับการรับส่งต่อผู้ป่วยและนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการลงทะเบียน Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่ายในเขตบริการสุขภาพที่4 ทำให้การรับส่งต่อและลงทะเบียนการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยถูกต้องและสอดคล้องกับการทำหัตถการของแพทย์ และยังทำให้ญาติและเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจด้านการเข้าถึงบริการมากขึ้น

 

         After Action Review (AAR)

        1. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้อย่างไร

           มีแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลาการในหน่วยงานในการับส่งต่อผู้ป่วย และการทำ Admit ผู้ป่วย  STE-ACS Fast track ที่เข้าใจง่ายและปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของเวชระเบียน  

       2. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร

 

 

          นำแนวทางมาประยุกต์ใช้ในการรับส่งต่อผู้ป่วยโรคอื่นที่เข้ารับบริการในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน หรือ  พัฒนาต่อยอดในรูปแบบ one stop service ต่อไป

 

 

 

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page