KM การจัดการความรู้ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล
หลักการและเหตุผล
โรคกล้ามหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ถือเป็นการเจ็บป่วยวิกฤติและฉุกเฉินจากการอุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจ เป็นภาวะที่ต้องได้รับความดูแลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อลดอัตราตายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีแนวทางการรักษาที่เป็นมาตรฐาน คือการเปิดหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการเจ็บหน้าอกภายใน 12 ชั่วโมง โดยที่ยังมี STsegment elevation ซึ่งการเปิดหลอดเลือดหัวใจ (Reperfusion therapy) แบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Fibrinolytic therapy) ให้เร็วที่สุดภายใน 10 นาที หรืออย่างช้าไม่เกิน 30 นาที หลังได้รับการวินิจฉัย และการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางสายสวน Primary percutaneous coronaryintervention (Primary PCI) ภายในเวลา 120 นาที ไม่ว่าจะใช้แนวทางใด พึงระลึกเสมอว่าการวินิจฉัยและการรักษาต้องทำให้เร็วที่สุด การดูแลรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำเป็นต้องมีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาทันท่วงที ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิต หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ หลังเข้ารับการรักษาสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ (สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย, 2563)
จากการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยตามระบบเดิมที่มีอยู่ยังพบประเด็นปัญหาที่เป็นโอกาสในการพัฒนา ทางทีมผู้ดูแลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว จึงร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันให้มีประสิทธิภาพขึ้นมา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล
เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
มีแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล
ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
- ทีมมีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- ทีมมีแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลเป็นแนวทางเดียวกัน
- มีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับบริบทและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย
- ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมรวดเร็ว และปลอดภัย
สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
- ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ได้ตามมาตรฐานตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายกลับบ้าน
- บุคลาการมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล
- มีแบบประเมินการดูแลรักษาผู้ป่วยสงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- มีการเก็บตัวชี้วัดที่ถูกต้องครบถ้วน สามารถนำไปเทียบเคียงได้