ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

KM2567/2 แนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track

 

 KM_2.1.jpgKM 2.2

ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

 หลักการและเหตุผล

 

           ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STE-ACS) ถือเป็นภาวะวิกฤติที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการเข้าถึงบริการอย่างรวดเร็ว ได้รับการประเมิน การตรวจวินิจฉัย รักษาอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เป้าหมายการดูแลผู้ป่วยคือ ผู้ป่วยได้รับการขยายหลอดเลือดภายใน 120 นาที หรือได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาทีนับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล และไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ด้วยศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรับส่งต่อเฉพาะด้านการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวนระดับ 1 ในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 มีพื้นที่รับผิดชอบคือ โรงพยาบาลลูกข่ายในจังหวัดนครนายก และ โรงพยาบาลพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งผู้รับบริการส่วนใหญ่เข้ารับการตรวจรักษาในลักษณะเร่งด่วน ฉุกเฉิน และทีมได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการส่งต่อเป็นระบบช่องทางด่วนสำหรับส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (STEMI fast track) เพื่อลดปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้าถึงโรงพยาบาลไม่ทันเวลา ไม่เหมาะสม โดยให้โรงพยาบาลลูกข่ายนำส่งผู้ป่วยมายังห้องสวนหัวใจ (Pass to Cath Lab) ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านห้องฉุกเฉิน ยกเว้นมีอาการทรุดลงขณะเดินทาง ทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้เร็วมากขึ้น ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่นำส่งผู้ป่วยมาที่ ห้องสวนหัวใจ ชั้น 4 ให้ญาติผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่ไปติดต่อทำประวัติ ตรวจสอบสิทธิการรักษา และทำ Admit เป็นผู้ป่วยใน ตามลำดับแต่จากข้อมูลเดือนกุมพาพันธ์ 2567 (ข้อมูลดังตารางที่ 1) พบว่ามีผู้ป่วย 3 ราย ที่เวลาในการทำ Admit หรือ เวลาที่ออกเลข AN ของผู้ป่วย มีความล่าช้ากว่าเวลาที่แพทย์เริ่มทำหัตถการได้มีการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า ญาติและเจ้าหน้าที่ที่มาติดต่อไม่ทราบขั้นตอน ยังขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ใช้เวลาในการติดต่อแต่ละแผนกค่อนข้างนาน บางครั้งต้องรอคิว ยังไม่มีระบบช่องทางด่วน รวมทั้งเอกสารใบส่งตัวของผู้ป่วยไม่ครบ/ไม่ถูกต้อง ต้องรอประสานงาน จึงทำให้เกิดความล่าช้า

 

         ห้องสวนหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับทีมผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเนื่องจากเวชระเบียนเป็นเอกสารสำคัญ จึงร่วมกันปรับปรุงแนวทางโดยใช้แนวคิด Lean มาพัฒนาแนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ให้รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา เพื่อให้การบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยสมบูรณ์ ครบถ้วน สอดคล้องกับการทำหัตถการ และผ่านการตรวจประเมินคุณภาพ

 

วัตถุประสงค์

 

           เพื่อพัฒนาแนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ให้รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา

 

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด  

 

           ร้อยละผู้ป่วย STE-ACS Fast track ได้รับการทำ Admit ก่อนเวลาเริ่มทำหัตถการ 100 %

 

วิธีการ ( Lean)

 

           ระบบการ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track (Refer in) แบบเดิม

 

 

 

**ปัญหาที่พบ : เวลาที่ออกเลข AN เพื่อลงทะเบียน Admit ผู้ป่วย ช้ากว่า เวลาที่แพทย์เริ่มทำหัตถการ**

 

 

นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)

 

          R แนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACSFast track

 

          £ แผ่นพับ

 

          และ £ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ เมื่อวันที่..(ระบุ)  21 มิถุนายน 2567

 

เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า website KM หน่วยงานมาด้วย)

 

 

 

 

ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM

 

สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้

 

      มีการนำแนวคิด lean มาใช้ร่วมกับระบบช่องทางด่วน (Fast track) สำหรับการรับส่งต่อผู้ป่วยและนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการลงทะเบียน Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่ายในเขตบริการสุขภาพที่4 ทำให้การรับส่งต่อและลงทะเบียนการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยถูกต้องและสอดคล้องกับการทำหัตถการของแพทย์ และยังทำให้ญาติและเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจด้านการเข้าถึงบริการมากขึ้น

 

         After Action Review (AAR)

        1. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้อย่างไร

           มีแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลาการในหน่วยงานในการับส่งต่อผู้ป่วย และการทำ Admit ผู้ป่วย  STE-ACS Fast track ที่เข้าใจง่ายและปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของเวชระเบียน  

       2. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร

 

 

          นำแนวทางมาประยุกต์ใช้ในการรับส่งต่อผู้ป่วยโรคอื่นที่เข้ารับบริการในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน หรือ  พัฒนาต่อยอดในรูปแบบ one stop service ต่อไป

 

 

 

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page