KM การจัดการความรู้ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล
หลักการและเหตุผล
โรคกล้ามหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ถือเป็นการเจ็บป่วยวิกฤติและฉุกเฉินจากการอุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจ เป็นภาวะที่ต้องได้รับความดูแลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อลดอัตราตายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีแนวทางการรักษาที่เป็นมาตรฐาน คือการเปิดหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการเจ็บหน้าอกภายใน 12 ชั่วโมง โดยที่ยังมี STsegment elevation ซึ่งการเปิดหลอดเลือดหัวใจ (Reperfusion therapy) แบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Fibrinolytic therapy) ให้เร็วที่สุดภายใน 10 นาที หรืออย่างช้าไม่เกิน 30 นาที หลังได้รับการวินิจฉัย และการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางสายสวน Primary percutaneous coronaryintervention (Primary PCI) ภายในเวลา 120 นาที ไม่ว่าจะใช้แนวทางใด พึงระลึกเสมอว่าการวินิจฉัยและการรักษาต้องทำให้เร็วที่สุด การดูแลรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำเป็นต้องมีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาทันท่วงที ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิต หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ หลังเข้ารับการรักษาสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ (สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย, 2563)
จากการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยตามระบบเดิมที่มีอยู่ยังพบประเด็นปัญหาที่เป็นโอกาสในการพัฒนา ทางทีมผู้ดูแลได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว จึงร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันให้มีประสิทธิภาพขึ้นมา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล
เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
มีแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล
ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
- ทีมมีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- ทีมมีแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลเป็นแนวทางเดียวกัน
- มีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับบริบทและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย
- ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมรวดเร็ว และปลอดภัย
สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
- ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ได้ตามมาตรฐานตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายกลับบ้าน
- บุคลาการมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาล
- มีแบบประเมินการดูแลรักษาผู้ป่วยสงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- มีการเก็บตัวชี้วัดที่ถูกต้องครบถ้วน สามารถนำไปเทียบเคียงได้
หลักการและเหตุผล
ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STE-ACS) ถือเป็นภาวะวิกฤติที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการเข้าถึงบริการอย่างรวดเร็ว ได้รับการประเมิน การตรวจวินิจฉัย รักษาอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เป้าหมายการดูแลผู้ป่วยคือ ผู้ป่วยได้รับการขยายหลอดเลือดภายใน 120 นาที หรือได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาทีนับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล และไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ด้วยศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรับส่งต่อเฉพาะด้านการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวนระดับ 1 ในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 มีพื้นที่รับผิดชอบคือ โรงพยาบาลลูกข่ายในจังหวัดนครนายก และ โรงพยาบาลพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งผู้รับบริการส่วนใหญ่เข้ารับการตรวจรักษาในลักษณะเร่งด่วน ฉุกเฉิน และทีมได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการส่งต่อเป็นระบบช่องทางด่วนสำหรับส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (STEMI fast track) เพื่อลดปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้าถึงโรงพยาบาลไม่ทันเวลา ไม่เหมาะสม โดยให้โรงพยาบาลลูกข่ายนำส่งผู้ป่วยมายังห้องสวนหัวใจ (Pass to Cath Lab) ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านห้องฉุกเฉิน ยกเว้นมีอาการทรุดลงขณะเดินทาง ทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้เร็วมากขึ้น ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่นำส่งผู้ป่วยมาที่ ห้องสวนหัวใจ ชั้น 4 ให้ญาติผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่ไปติดต่อทำประวัติ ตรวจสอบสิทธิการรักษา และทำ Admit เป็นผู้ป่วยใน ตามลำดับแต่จากข้อมูลเดือนกุมพาพันธ์ 2567 (ข้อมูลดังตารางที่ 1) พบว่ามีผู้ป่วย 3 ราย ที่เวลาในการทำ Admit หรือ เวลาที่ออกเลข AN ของผู้ป่วย มีความล่าช้ากว่าเวลาที่แพทย์เริ่มทำหัตถการได้มีการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า ญาติและเจ้าหน้าที่ที่มาติดต่อไม่ทราบขั้นตอน ยังขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ใช้เวลาในการติดต่อแต่ละแผนกค่อนข้างนาน บางครั้งต้องรอคิว ยังไม่มีระบบช่องทางด่วน รวมทั้งเอกสารใบส่งตัวของผู้ป่วยไม่ครบ/ไม่ถูกต้อง ต้องรอประสานงาน จึงทำให้เกิดความล่าช้า
ห้องสวนหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับทีมผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเนื่องจากเวชระเบียนเป็นเอกสารสำคัญ จึงร่วมกันปรับปรุงแนวทางโดยใช้แนวคิด Lean มาพัฒนาแนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ให้รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา เพื่อให้การบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยสมบูรณ์ ครบถ้วน สอดคล้องกับการทำหัตถการ และผ่านการตรวจประเมินคุณภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาแนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ให้รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา
เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
ร้อยละผู้ป่วย STE-ACS Fast track ได้รับการทำ Admit ก่อนเวลาเริ่มทำหัตถการ 100 %
วิธีการ ( Lean)
ระบบการ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track (Refer in) แบบเดิม
**ปัญหาที่พบ : เวลาที่ออกเลข AN เพื่อลงทะเบียน Admit ผู้ป่วย ช้ากว่า เวลาที่แพทย์เริ่มทำหัตถการ**
นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)
R แนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACSFast track
£ แผ่นพับ
และ £ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ เมื่อวันที่..(ระบุ) 21 มิถุนายน 2567
เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า website KM หน่วยงานมาด้วย)
ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
มีการนำแนวคิด lean มาใช้ร่วมกับระบบช่องทางด่วน (Fast track) สำหรับการรับส่งต่อผู้ป่วยและนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการลงทะเบียน Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่ายในเขตบริการสุขภาพที่4 ทำให้การรับส่งต่อและลงทะเบียนการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยถูกต้องและสอดคล้องกับการทำหัตถการของแพทย์ และยังทำให้ญาติและเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจด้านการเข้าถึงบริการมากขึ้น
After Action Review (AAR)
1. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้อย่างไร
มีแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลาการในหน่วยงานในการับส่งต่อผู้ป่วย และการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ที่เข้าใจง่ายและปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของเวชระเบียน
2. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร
นำแนวทางมาประยุกต์ใช้ในการรับส่งต่อผู้ป่วยโรคอื่นที่เข้ารับบริการในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน หรือ พัฒนาต่อยอดในรูปแบบ one stop service ต่อไป
ในปัจจุบันการทำหัตถการตรวจสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดบริเวณข้อมือมีขนาดเล็กและอยู่ตื้นหลังทำหัตถการฉีดสี หรือขยายหลอดเลือดหัวใจ แพทย์สามารถดึงสายสวนและท่อนำออกจากหลอดเลือดได้ทันที ผู้ป่วยสามารถลุกจากเตียง และสามารถทำกิจวัตประจำวันได้ทันที เพียงแต่ห้ามงอข้อมือข้างที่ทำหัตถการเป็นเวลา 6–8 ชั่วโมง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนนานได้หรือจำกัดการทำกิจกรรมเป็นเวลานานได้ ซึ่งการทำหัตถการดังกล่าวจะมีการใช้อุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ (1) สายรัดข้อมือเพื่อห้ามเลือดหลังถอดท่อนำสายสวนบริเวณข้อมือ (TR-Band) เป็นสายรัดข้อมือที่มีลูกโป่งติดอยู่เพื่อกดให้เลือดหยุดโดยการใส่ลมเพื่อเข้าไปในลูกโป่ง (2) ท่อนำสายสวนสำหรับหลอดเลือดขนาดเล็กที่ใช้สำหรับใส่เข้าทางหลอดเลือดบริเวณข้อมือ (radial artery) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวเบิกได้ค่าใช้จ่ายได้ไม่เหมือนกันในแต่ละสิทธิ์การรักษา
จากสถิติข้อมูลผู้ป่วยที่ทำหัตถการผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ ส่วนใหญ่ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองมาคือสิทธิ์ต้นสังกัด และประกันสังคมตามลำดับ พบปัญหาในการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในแต่ละสิทธิ์การรักษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับการทำหัตถการดังกล่าว เนื่องจากอุปกรณ์ยังเบิกได้ไม่ครบทุกสิทธิ์ รวมทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการประกาศปรับราคา และมีรหัสอุปกรณ์เพิ่มเติม พร้อมทั้งกำหนดข้อบ่งชี้และเงื่อนไขในการใช้แตกต่างกันจากสิทธิ์ต้นสังกัดและประกันสังคม
ทางหน่วยงานจึงเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือ ให้มีประสิทธิภาพขึ้นมา เพื่อให้ลดอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการคิดค่าใช้จ่าย
2.วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาแนวทางการคิดค่าใช้จ่ายในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือให้มีประสิทธิภาพ
3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
1. ลดอุบัติการณ์การเขียนใบสั่งยาและใบบันทึกรายการอุปกรณ์ไม่ถูกต้อง
2. ลดอุบัติการณ์การคีย์การใช้อุปกรณ์ในระบบ EMR ไม่ถูกต้อง
3. ลดอุบัติการณ์การเขียนรหัสอุปกรณ์ในใบสั่งยาไม่ถูกต้อง
4. วิธีการ/รูปแบบการจัดการความรู้ ***(กรุณาระบุ)***
¨ Success Story Telling (SST) (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.1)
¨ The World Cafe (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.2)
5. กระบวนการจัดการความรู้ (Share & Learn)
5.1 The World Cafe
6. สรุปความถี่ (ข้อมูลที่ได้มาจากข้อ 5.1 หรือ 5.2)
เรื่อง |
จำนวนความถี่ |
การคีย์ค่าใช้จ่ายในระบบ EMR ถูกต้อง |
10 |
การเขียนรหัสเบิกอุปกรณ์ในใบสั่งยา ถูกต้อง |
10 |
การเขียนใบสั่งยา ถูกต้อง |
8 |
การบันทึกใบรายการอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ถูกต้อง |
7 |
การบันทึกรายการยา/อุปกรณ์ที่ใช้ ครบถ้วน |
5 |
7. Key Success Factor (ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สรุปจากกระบวนการจัดการความรู้ในข้อ.6
(โดยเรียงจากความถี่ที่ได้จากข้อ 6 จากความถี่มากสุดไปหาน้อยสุด)
7.1 การคีย์ค่าใช้จ่ายในระบบ EMR ถูกต้อง
7.2 การเขียนรหัสเบิกอุปกรณ์ในใบสั่งยา ถูกต้อง
7.3 การเขียนใบสั่งยา ถูกต้อง
7.4 การบันทึกใบรายการอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ถูกต้อง
7.5 การบันทึกรายการยา/อุปกรณ์ที่ใช้ ครบถ้วน
8. นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)
þ มีแนวทางปฏิบัติแนวทางการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือ และ þ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567
เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า website KM หน่วยงานมาด้วย)
9. ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
9.1 ทีมมีความรู้เรื่องข้อบ่งชี้ในการใช้อุปกรณ์ รหัสเบิก ราคาอุปกรณ์ และเงื่อนไขในการใช้อุปกรณ์
9.2 ทีมมีแนวทาง หรือข้อมูลในการแจ้งผู้ป่วยล่วงหน้าเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนเกินในการใช้อุปกรณ์พิเศษ
9.3 ช่วยลดอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการ
10. สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
10.1 บุคลากรการบันทึกการใช้อุปกรณ์และมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้องของเอกสารทุกราย
10.2 บุคลากรมีการคีย์ค่าใช้จ่ายการบันทึกรหัสอุปกรณ์ที่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขของผู้ป่วยแต่ละสิทธิ์การรักษา
10.3 มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
11. After Action Review (AAR)
11.1 ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้อย่างไร
เพื่อให้ทีมที่เกี่ยวข้องสามารถเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในการทำหัตถการสวนหัวใจและหลอดเลือดได้ถูกต้องครบถ้วน
11.2. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร
นำความรู้แนวทาง และนวัตกรรม ที่ได้ไปเผยแพร่ เพื่อให้ทีมที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางประกอบการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์
ค่ารักษาพยาบาลในการทำหัตถการสวนหัวใจและหลอดเลือดได้ถูกต้อง