หลักการและเหตุผล
ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STE-ACS) ถือเป็นภาวะวิกฤติที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการเข้าถึงบริการอย่างรวดเร็ว ได้รับการประเมิน การตรวจวินิจฉัย รักษาอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เป้าหมายการดูแลผู้ป่วยคือ ผู้ป่วยได้รับการขยายหลอดเลือดภายใน 120 นาที หรือได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาทีนับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล และไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ด้วยศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรับส่งต่อเฉพาะด้านการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวนระดับ 1 ในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 มีพื้นที่รับผิดชอบคือ โรงพยาบาลลูกข่ายในจังหวัดนครนายก และ โรงพยาบาลพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งผู้รับบริการส่วนใหญ่เข้ารับการตรวจรักษาในลักษณะเร่งด่วน ฉุกเฉิน และทีมได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการส่งต่อเป็นระบบช่องทางด่วนสำหรับส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (STEMI fast track) เพื่อลดปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้าถึงโรงพยาบาลไม่ทันเวลา ไม่เหมาะสม โดยให้โรงพยาบาลลูกข่ายนำส่งผู้ป่วยมายังห้องสวนหัวใจ (Pass to Cath Lab) ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านห้องฉุกเฉิน ยกเว้นมีอาการทรุดลงขณะเดินทาง ทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้เร็วมากขึ้น ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่นำส่งผู้ป่วยมาที่ ห้องสวนหัวใจ ชั้น 4 ให้ญาติผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่ไปติดต่อทำประวัติ ตรวจสอบสิทธิการรักษา และทำ Admit เป็นผู้ป่วยใน ตามลำดับแต่จากข้อมูลเดือนกุมพาพันธ์ 2567 (ข้อมูลดังตารางที่ 1) พบว่ามีผู้ป่วย 3 ราย ที่เวลาในการทำ Admit หรือ เวลาที่ออกเลข AN ของผู้ป่วย มีความล่าช้ากว่าเวลาที่แพทย์เริ่มทำหัตถการได้มีการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า ญาติและเจ้าหน้าที่ที่มาติดต่อไม่ทราบขั้นตอน ยังขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ใช้เวลาในการติดต่อแต่ละแผนกค่อนข้างนาน บางครั้งต้องรอคิว ยังไม่มีระบบช่องทางด่วน รวมทั้งเอกสารใบส่งตัวของผู้ป่วยไม่ครบ/ไม่ถูกต้อง ต้องรอประสานงาน จึงทำให้เกิดความล่าช้า
ห้องสวนหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับทีมผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเนื่องจากเวชระเบียนเป็นเอกสารสำคัญ จึงร่วมกันปรับปรุงแนวทางโดยใช้แนวคิด Lean มาพัฒนาแนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ให้รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา เพื่อให้การบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยสมบูรณ์ ครบถ้วน สอดคล้องกับการทำหัตถการ และผ่านการตรวจประเมินคุณภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาแนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ให้รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา
เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
ร้อยละผู้ป่วย STE-ACS Fast track ได้รับการทำ Admit ก่อนเวลาเริ่มทำหัตถการ 100 %
วิธีการ ( Lean)
ระบบการ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track (Refer in) แบบเดิม
**ปัญหาที่พบ : เวลาที่ออกเลข AN เพื่อลงทะเบียน Admit ผู้ป่วย ช้ากว่า เวลาที่แพทย์เริ่มทำหัตถการ**
นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)
R แนวทางการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACSFast track
£ แผ่นพับ
และ £ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ เมื่อวันที่..(ระบุ) 21 มิถุนายน 2567
เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า website KM หน่วยงานมาด้วย)
ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
มีการนำแนวคิด lean มาใช้ร่วมกับระบบช่องทางด่วน (Fast track) สำหรับการรับส่งต่อผู้ป่วยและนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการลงทะเบียน Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่ายในเขตบริการสุขภาพที่4 ทำให้การรับส่งต่อและลงทะเบียนการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยถูกต้องและสอดคล้องกับการทำหัตถการของแพทย์ และยังทำให้ญาติและเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจด้านการเข้าถึงบริการมากขึ้น
After Action Review (AAR)
1. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้อย่างไร
มีแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลาการในหน่วยงานในการับส่งต่อผู้ป่วย และการทำ Admit ผู้ป่วย STE-ACS Fast track ที่เข้าใจง่ายและปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของเวชระเบียน
2. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร
นำแนวทางมาประยุกต์ใช้ในการรับส่งต่อผู้ป่วยโรคอื่นที่เข้ารับบริการในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน หรือ พัฒนาต่อยอดในรูปแบบ one stop service ต่อไป