ในปัจจุบันการทำหัตถการตรวจสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดบริเวณข้อมือมีขนาดเล็กและอยู่ตื้นหลังทำหัตถการฉีดสี หรือขยายหลอดเลือดหัวใจ แพทย์สามารถดึงสายสวนและท่อนำออกจากหลอดเลือดได้ทันที ผู้ป่วยสามารถลุกจากเตียง และสามารถทำกิจวัตประจำวันได้ทันที เพียงแต่ห้ามงอข้อมือข้างที่ทำหัตถการเป็นเวลา 6–8 ชั่วโมง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนนานได้หรือจำกัดการทำกิจกรรมเป็นเวลานานได้ ซึ่งการทำหัตถการดังกล่าวจะมีการใช้อุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ (1) สายรัดข้อมือเพื่อห้ามเลือดหลังถอดท่อนำสายสวนบริเวณข้อมือ (TR-Band) เป็นสายรัดข้อมือที่มีลูกโป่งติดอยู่เพื่อกดให้เลือดหยุดโดยการใส่ลมเพื่อเข้าไปในลูกโป่ง (2) ท่อนำสายสวนสำหรับหลอดเลือดขนาดเล็กที่ใช้สำหรับใส่เข้าทางหลอดเลือดบริเวณข้อมือ (radial artery) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวเบิกได้ค่าใช้จ่ายได้ไม่เหมือนกันในแต่ละสิทธิ์การรักษา
จากสถิติข้อมูลผู้ป่วยที่ทำหัตถการผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ ส่วนใหญ่ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองมาคือสิทธิ์ต้นสังกัด และประกันสังคมตามลำดับ พบปัญหาในการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในแต่ละสิทธิ์การรักษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับการทำหัตถการดังกล่าว เนื่องจากอุปกรณ์ยังเบิกได้ไม่ครบทุกสิทธิ์ รวมทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการประกาศปรับราคา และมีรหัสอุปกรณ์เพิ่มเติม พร้อมทั้งกำหนดข้อบ่งชี้และเงื่อนไขในการใช้แตกต่างกันจากสิทธิ์ต้นสังกัดและประกันสังคม
ทางหน่วยงานจึงเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือ ให้มีประสิทธิภาพขึ้นมา เพื่อให้ลดอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการคิดค่าใช้จ่าย
2.วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาแนวทางการคิดค่าใช้จ่ายในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือให้มีประสิทธิภาพ
3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
1. ลดอุบัติการณ์การเขียนใบสั่งยาและใบบันทึกรายการอุปกรณ์ไม่ถูกต้อง
2. ลดอุบัติการณ์การคีย์การใช้อุปกรณ์ในระบบ EMR ไม่ถูกต้อง
3. ลดอุบัติการณ์การเขียนรหัสอุปกรณ์ในใบสั่งยาไม่ถูกต้อง
4. วิธีการ/รูปแบบการจัดการความรู้ ***(กรุณาระบุ)***
¨ Success Story Telling (SST) (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.1)
¨ The World Cafe (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.2)
5. กระบวนการจัดการความรู้ (Share & Learn)
5.1 The World Cafe
6. สรุปความถี่ (ข้อมูลที่ได้มาจากข้อ 5.1 หรือ 5.2)
เรื่อง |
จำนวนความถี่ |
การคีย์ค่าใช้จ่ายในระบบ EMR ถูกต้อง |
10 |
การเขียนรหัสเบิกอุปกรณ์ในใบสั่งยา ถูกต้อง |
10 |
การเขียนใบสั่งยา ถูกต้อง |
8 |
การบันทึกใบรายการอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ถูกต้อง |
7 |
การบันทึกรายการยา/อุปกรณ์ที่ใช้ ครบถ้วน |
5 |
7. Key Success Factor (ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สรุปจากกระบวนการจัดการความรู้ในข้อ.6
(โดยเรียงจากความถี่ที่ได้จากข้อ 6 จากความถี่มากสุดไปหาน้อยสุด)
7.1 การคีย์ค่าใช้จ่ายในระบบ EMR ถูกต้อง
7.2 การเขียนรหัสเบิกอุปกรณ์ในใบสั่งยา ถูกต้อง
7.3 การเขียนใบสั่งยา ถูกต้อง
7.4 การบันทึกใบรายการอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ถูกต้อง
7.5 การบันทึกรายการยา/อุปกรณ์ที่ใช้ ครบถ้วน
8. นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)
þ มีแนวทางปฏิบัติแนวทางการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านข้อมือ และ þ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567
เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า website KM หน่วยงานมาด้วย)
9. ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
9.1 ทีมมีความรู้เรื่องข้อบ่งชี้ในการใช้อุปกรณ์ รหัสเบิก ราคาอุปกรณ์ และเงื่อนไขในการใช้อุปกรณ์
9.2 ทีมมีแนวทาง หรือข้อมูลในการแจ้งผู้ป่วยล่วงหน้าเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนเกินในการใช้อุปกรณ์พิเศษ
9.3 ช่วยลดอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการ
10. สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
10.1 บุคลากรการบันทึกการใช้อุปกรณ์และมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้องของเอกสารทุกราย
10.2 บุคลากรมีการคีย์ค่าใช้จ่ายการบันทึกรหัสอุปกรณ์ที่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขของผู้ป่วยแต่ละสิทธิ์การรักษา
10.3 มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
11. After Action Review (AAR)
11.1 ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้อย่างไร
เพื่อให้ทีมที่เกี่ยวข้องสามารถเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์ในการทำหัตถการสวนหัวใจและหลอดเลือดได้ถูกต้องครบถ้วน
11.2. ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร
นำความรู้แนวทาง และนวัตกรรม ที่ได้ไปเผยแพร่ เพื่อให้ทีมที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางประกอบการเบิกจ่ายค่าอุปกรณ์
ค่ารักษาพยาบาลในการทำหัตถการสวนหัวใจและหลอดเลือดได้ถูกต้อง