ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

 

 

 

 

 

กล้ามเนื้อหัวใจตาย/ขาดเลือด

       Myocardial infarction; MI (heart attack)

             

              อาการ  เจ็บอกหรือแน่นหน้าอก ซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้าย บางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า 

   ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูง กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกิน เป็นต้น

  การวินิจฉัย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจรังสีหลอดเลือดหัวใจ และ ตรวจเลือด Troponin T (ตัวชี้วัดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ จะใช้เวลา 12 ชั่วโมง ไม่สามารถแยกโรคได้ในระยะแรก)

-                   STEMI (ST-segment elevation myocardial) ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พบการยกตัวผิดปกติช่วง ST จัดเป็นประเภทที่รุนแรงที่สุด มักแสดงถึงการอุดตันของหลอดเลือดโคโรนารีใหญ่ เกิดการอุดตันทั้งหมด ทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจไม่มีเลือดไปเลี้ยง และกล้ามเนื้อหัวใจจะตายลงอย่างรวดเร็ว

-                   NSTEMI ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ไม่พบการยกตัวของช่วง ST บ่งบอกถึงการอุดตันของหลอดเลือดโคโรนารีย่อย หรือมีการอุดตันบางส่วนหรือการตีบลงของหลอดเลือดโคโรนารีใหญ่ กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดเพียงส่วนหนึ่ง

การรักษา

-                   STEMI ให้ยาสลายลิ่มเลือด ,การขยายหลอดเลือดโคโลนารี (Percutaneous coronary intervention; PCI) โดยใส่สายสวน และแพทย์จะสอดเส้นลวดผ่านสายนำเข้าไปที่จุดตีบแคบของหลอดเลือดหัวใจ หลังจากนั้นจะนำสายชนิดพิเศษที่มีบอลลูนติดอยู่ตรงปลาย วางตำแหน่งบอลลูนให้ตรงกับจุดที่มีการตีบแคบของหลอดเลือด แล้วใช้แรงดันทำให้บอลลูนกางออก ผลักรอยตีบของหลอดเลือดหัวใจให้เปิดกว้าง ทำให้เลือดไหลผ่านได้สะดวกขึ้น เสร็จแล้วจึงดึงบอลลูนออกจากตัวผู้ป่วย / ในกรณีที่แพทย์เห็นว่ารอยตีบยังขยายได้ไม่กว้างพอ หรือเพื่อเป็นการลดโอกาสเกิดการตีบซ้ำ แพทย์ก็จะนำสายสวนที่มีขดลวดอยู่ที่ปลายสายใส่เข้าไปยังบริเวณที่เคยตีบ และขยายขดลวดให้ขดลวดกางออกไปติดกับผนังหลอดเลือด

-                   NSTEMI รักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด และมักจะทำ PCI ในระหว่างผู้ป่วยพักในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นหลอดเลือดโคโรนารีหลายตำแหน่งและผู้ป่วยที่มีอาการเสถียรอาจพิจารณาทำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดโคโรนารี (ผ่าตัดบายพาส)

             หลังเป็น MI แนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วย

-                   ยา Aspirin เป็นยาที่ป้องกันเกล็ดเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือด

-                   ยากลุ่ม Beta blocker จะลดการบีบตัวของหัวใจ ทำให้ลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น Atenolol

-                   ยากลุ่ม Statin ลดระดับไขมันเลือด

-                   Nitroglycerine ขยายหลอดเลือดหัวใจช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก

-                   Calcium channel blocking agent ยาต้านแคลเซียม ผลทำให้เกิดหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายรวมทั้งหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ที่ไปเลี้ยงหัวใจขยายตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลง และเลือดไปเลี้ยงหัวใจดีขึ้น เช่น Amlodipine 

ข่าวประชาสัมพันธ์

วัน-เวลาการให้บริการผู้ป่วยนอก

วัน-เวลาให้บริการแผนกผู้ป่วยนอก... Read more
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

          กล้ามเนื้อหัวใจตาย/ขาดเลือด... Read more
ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ (Flu หรือ Influenza)                   ... Read more
โรคซิกา

โรคซิกา

      โรคไข้ซิกาคืออะไร ? โรคไข้ซิกา... Read more
Joomla Templates and Joomla Extensions by JoomlaVision.Com

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

บริการของเรา

1

ขั้นตอนการมารับบริการ

 

  1. ผู้ป่วยใหม่ และผู้ป่วยเก่าที่ไม่ได้นัด ติดต่อพยาบาลคัดกรอง
  2. ผู้ป่วยนัดติดต่อแผนกที่ท่านนัดได้เลย
  3. ผู้ป่วยฉุกเฉิน / เร่งด่วน ติดต่อพยาบาลคัดกรองไม่ต้องรอคิว

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

part-01   part-02 
 
part-03   part-04  

สถิติผู้เยี่ยมชม

0205170
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
7
1
22
22
199
324
205170

Forecast Today
24

1.68%
33.91%
1.39%
1.00%
0.07%
61.95%
Online (15 minutes ago):4
4 guests
no members

Your IP:192.168.126.4
Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page