ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ (Flu หรือ Influenza)

                   คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Influenza Virus สามารถพบได้ตลอดปี ระบาดในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

ข้อแตกต่างเบื้องต้นของไข้หวัด (Cold) และไข้หวัดใหญ่ (Flu)

  • ไข้หวัด ผู้ป่วยจะค่อย ๆ      แสดงอาการทีละน้อย มักมีอาการแสดงทางระบบหายใจส่วนต้น คัดจมูก ไอ จาม เจ็บคอ      มีเสมหะ ผู้ป่วยยังคงสามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้แม้จะมีอาการป่วยรบกวน
  • ไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยจะเกิดอาการอย่างเฉียบพลัน      จะมีอาการไข้สูงเป็นลักษณะเด่น จะปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อ่อนล้า ผู้ป่วยต้องการการพักผ่อนมากกว่าปกติ      และควรไปพบแพทย์ หากมีไข้สูงมากหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

ประเภทของไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Influenza Virus การติดเชื้อที่พบในมนุษย์ คือ สายพันธุ์ A, B และ C

  • ไวรัสชนิด A มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด สามารถติดต่อจากสัตว์พาหะมาสู่คน และจากคนที่ติดเชื้อไปสู่คนอื่น ๆ ทางการไอ จาม และอากาศหายใจที่มีเชื้อไวรัสกระจายอยู่ จึงสามารถแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง หรือระบาดไปทั่วโลกได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
  • ไวรัสชนิด B มักแพร่ระบาดตามฤดูกาลที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการติดเชื้อ อย่างฤดูหนาวและฤดูฝน
  • ไวรัสชนิด C เป็นการติดเชื้อทางระบบหายใจที่ไม่รุนแรง มีอาการป่วยเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการป่วยเลย ไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด
  • ไวรัสชนิด D เป็นการติดเชื้อที่พบเฉพาะในสัตว์ และยังไม่พบการติดเชื้อที่แพร่มาสู่คน

อาการของไข้หวัดใหญ่

มีไข้สูงมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ จาม เจ็บคอ คออักเสบ บางคนมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและท้องร่วงร่วมด้วย ทั้งนี้อาการป่วยที่อาจเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับร่างกาย อายุ และโรคประจำตัวเดิมของแต่ละบุคคลด้วย

การติดต่อ

เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เชื้ออาจแพร่กระจายอยู่ในอากาศ หรือเจือปนอยู่ในของเหลว คนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น นำมือที่สัมผัสกับเชื้อมาขยี้ตา สัมผัสน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อ จากการใช้ช้อนหรือแก้วน้ำดื่มร่วมกัน

การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่

ใช้ชุดทดสอบเพื่อตรวจหาเชื้อ จะใช้ต่อเมื่อแพทย์มีข้อสงสัยหรือเมื่อเริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์ที่รุนแรง

การรักษาไข้หวัดใหญ่

รักษาตามอาการ เช่น กินยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ นอนหลับพักฟื้นให้เพียงพอ เพราะการป่วยไข้หวัดใหญ่จะทำให้ร่างกายอ่อนล้ามากกว่าปกติ

หากมีอาการที่น่าสงสัยหรือจัดอยู่ในผู้ป่วยสายพันธุ์อันตรายที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพื่อรับยาต้านไวรัสป้องกันหรือลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส

ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่

ภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะร่างกายขาดน้ำ การติดเชื้อในหู ไซนัส หลอดลมอักเสบ ปอดบวม ปอดอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน และมีความเสี่ยงสูงต่อการติดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงกว่า

การป้องกันไข้หวัดใหญ่

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสที่สามารถฉีดได้ปีละครั้ง แต่ไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ทุกชนิด การสร้างเสริมสุขภาพและสุขอนามัย ก็เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการป่วยไข้หวัดใหญ่ได้ด้วยเช่นกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์

วัน-เวลาการให้บริการผู้ป่วยนอก

วัน-เวลาให้บริการแผนกผู้ป่วยนอก... Read more
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

          กล้ามเนื้อหัวใจตาย/ขาดเลือด... Read more
ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ (Flu หรือ Influenza)                   ... Read more
โรคซิกา

โรคซิกา

      โรคไข้ซิกาคืออะไร ? โรคไข้ซิกา... Read more
Joomla Templates and Joomla Extensions by JoomlaVision.Com

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

บริการของเรา

1

ขั้นตอนการมารับบริการ

 

  1. ผู้ป่วยใหม่ และผู้ป่วยเก่าที่ไม่ได้นัด ติดต่อพยาบาลคัดกรอง
  2. ผู้ป่วยนัดติดต่อแผนกที่ท่านนัดได้เลย
  3. ผู้ป่วยฉุกเฉิน / เร่งด่วน ติดต่อพยาบาลคัดกรองไม่ต้องรอคิว

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

part-01   part-02 
 
part-03   part-04  

สถิติผู้เยี่ยมชม

0205177
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
14
1
22
22
206
324
205177

Forecast Today
24

1.68%
33.91%
1.39%
1.00%
0.07%
61.95%
Online (15 minutes ago):8
8 guests
no members

Your IP:192.168.126.4
Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page