ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ีUnit Profile 2562

 

 

รายงานการประเมินตนเอง

(Unit  Profile)

 

 

 

 

หน่วยงาน แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม ชั้น 1

 

 

 

 

 

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

                                                                                      ข้อมูล ณ วันที่...... 30 กันยายน 2561........

 

 

ครั้งที่ 1   ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560

ครั้งที่ 2   ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2560

 

 

 

 

Unit   Profile

หน่วยงาน แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม ชั้น 1

 

ทีมนำทางคลินิก/หน่วยงาน......แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม.........

1. บริบท (Context) แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ ให้บริการตรวจรักษา ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสภาพแก่ผู้ป่วยศัลยกรรม ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพเพื่อผู้รับบริการปลอดภัยและพึงพอใจ 

 

ก.   หน้าที่และเป้าหมาย ให้การบริการอย่างรวดเร็วถูกต้องและผู้ป่วยปลอดภัย

ข.   ขอบเขตการให้บริการ

     ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมระบบประสาท ศัลยกรรมโรคทรวงอก ศัลยกรรมตกแต่งและศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ ผู้รับบริการส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ปทุมธานีและพื้นที่ใกล้เคียง จากสถิติปี   2561 ผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 214ราย / วัน ( ต.ค.60-ก.ย.61)และ ปี2562 ผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 184 ราย/วัน ( ต.ค.61-ม.ค.62)

     โรคที่พบบ่อย ของศัลยกรรมทั่วไป

          1.CA breast

          2.Constipation

          3.Cholelitiasis

          4.Hemorroid

          5.CA colon

 

     โรคที่พบบ่อย ของศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ

          1.  BPH

          2.   Renal calculi

          3.   CA prostate

          4.   Cystitis    

          5.   CA bladder

           

 

 

 

 

 

ค.   ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ  

         

ประเภทผู้รับบริการ

ความต้องการ/ความคาดหวัง

ผู้ป่วย

-                   ต้องการความถูกต้องและรวดเร็ว หายจากโรค

-                   การต้อนรับที่ดีจากเจ้าหน้าที่ พูดจาไพเราะ ความเป็นกันเอง

-                   ทราบข้อมูลการเจ็บป่วย ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวและแนวทางการรักษาจากแพทย์

-                   ทราบสิทธิการรักษาและค่าใช้จ่ายในการรักษา

ญาติผู้ป่วย

-                   ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ถูกต้องและปลอดภัย  หายจากความเจ็บป่วย

-                   ข้อมูลของการเจ็บป่วยและการรักษา

-                   การบริการที่ประทับใจ สะดวก รวดเร็ว การพูดจาไพเราะของเจ้าหน้าที่

-                   ทราบสิทธิการรักษาและค่าใช้จ่ายในการรักษา

 

ผู้รับบริการภายใน (หน่วยงาน/บุคลากรคณะแพทยศาสตร์/ศูนย์การแพทย์ฯ/มศว , นิสิตแพทย์)

ประเภทผู้รับบริการ

ความต้องการ/ความคาดหวัง

แพทย์

-                   ช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจรักษา

-                   ซักประวัติผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ รวดเร็ว

-                   จัดเตรียมอุปกรณ์ในห้องตรวจพร้อมใช้มีระเบียบ สะดวกใช้

ศูนย์รับผู้ป่วยใน

-                   ข้อมูลผู้ป่วยถูกต้องก่อนทำเรื่องนอนโรงพยาบาล

-                   บันทึกข้อมูลในประวัติให้ครบถ้วน

-                   ผู้ป่วยที่มีอาการไม่คงที่ควรมีเจ้าหน้าที่ไปส่งด้วยทุกครั้ง

-                   มีการประสานงานที่ถูกต้อง

-                   มีการแจ้งสิทธิการรักษาและค่าใช้จ่ายในการรักษา

งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน

-                   การประเมินสภาพผู้ป่วยและการส่งต่อต้องถูกต้องและครบถ้วน รวดเร็ว

-                   ผู้ป่วยที่มีอาการไม่คงที่ควรมีเจ้าหน้าที่ไปส่งด้วยทุกครั้ง

-                   บันทึกข้อมูลในประวัติให้ครบถ้วน

-                   มีการประสานงานที่ถูกต้อง

งานห้องผ่าตัด

-                   มีการอธิบายขั้นตอนการการรับริการที่ถูกต้อง ครบถ้วน

-                   ให้ข้อมูลก่อนลงนามในใบยินยอมทำหัตถการ

-                   บันทึกข้อมูลในประวัติให้ครบถ้วน ถูกต้อง

-                   มีการประสานงานที่ถูกต้อง

-                   มีการแจ้งสิทธิการรักษาและค่าใช้จ่ายในการรักษา

หน่วยจ่ายกลาง

-                   ปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักการส่งและรับของปราศจากเชื้อ

-                   มีการประสานงานที่ถูกต้อง

งานเภสัชกรรม

-                   มีการประสานงานที่ถูกต้อง

-                   กรณีผู้ป่วยแพ้ แนะนำให้ผู้ป่วยพบเภสัชกรเพื่อบันทึกประวัติแพ้ยา

-                   ใบสั่งยาถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน

-                   แนะนำเรื่องยานอกสิทธิการรักษาถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น

-                   มีการบันทึกรายงานจากแพทย์ในกรณีผู้ป่วยแพ้ยา

สิทธิประโยชน์

-                   มีการประสานงานที่ถูกต้อง

-                   เอกสารที่มีการเสนอขออนุมัติ ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน

เวชระเบียน

-                   มีการส่งประวัติ วันต่อวัน

-                   บันทึกข้อมูลในประวัติให้ครบถ้วน ถูกต้อง

-                   มีการประสานงานที่ถูกต้อง

งานเอ็กซเรย์

-                   กรอกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ หรือ ใบส่งตรวจให้ถูกต้องชัดเจน

-                   มีการประสานงานที่ถูกต้อง

งานพยาธิ

-                   กรอกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ หรือ ใบส่งตรวจให้ถูกต้องชัดเจน

-                   มีการประสานงานที่ถูกต้อง

 

ง.        ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ

 1.ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการดูแลอย่างถูกต้องรวดเร็วปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ผู้ป่วย

1.1. Pain score > 5

1. 2.T > 38 

1.3. ผู้ป่วยที่มีสัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง ( BP>140/90 mmHg.  P >100 /min และ

BP <90/ 60 mmHg. P < 60/ min )

2.ผู้ป่วยได้รับการประเมินคัดกรองอย่างถูกต้องและรวดเร็ว

 และอะไรคือความท้าทายที่สำคัญของหน่วยงาน

          1.พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วย

1.1.มีการประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยทุกราย

1. 2.ผู้ป่วยได้รับการดูแลถูกต้อง รวดเร็ว

1.3. สามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสม

2.การให้บริการอย่างประทับใจเพื่อสู่องค์กรชั้นนำด้านบริการสุขภาพ

 

จ.  ความท้าทาย ความเสี่ยงสำคัญ (นำสู่การพัฒนาคุณภาพ กรณีกลุ่มงานคลินิก กำหนด Specific Clinical Risk/ Common Risk)

Specific Clinical Risk


กลุ่มโรค/หัตถการ

Specific clinical Risk

Appendicitis

Rupture appendicitis

LGIB

BP drop (90/60 mmHg.)

Cellulitis

Fever  T>38

DMfoot

Hypoglycemia / Hyperglycemia(แผลเบาหวานขณะรอตรวจ)

ESWL

Severe Pain , BP drop ( 90/60 mmHg)

ESRD

AVF rupture , BP drop ( 90/60 mmHg),

สิทธิและค่าใช้จ่ายกรณีทำเส้นฟอกไต

 

Common  Risk

1.อุบัติการณ์ผู้ป่วยมีภาวะทรุดลงระหว่างรอตรวจ

2.อัตราการการติดเชื้อของแผลผ่าตัด

3.อุบัติการณ์การคัดกรองผิดพลาด

4.อุบัติการณ์การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาด

5.อัตราความคลาดเคลื่อนทางยา

 

ฉ.   ปริมาณงานและทรัพยากร

                   ตารางข้อมูลจำนวนผู้รับบริการปี..2559-2561....

ลักษณะงานที่สำคัญ

ปีงบประมาณ

2559

ปีงบประมาณ

2560

 

ปีงบประมาณ

2561

 

จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ (ราย)

41,693

45,014

52,268

           

           ตารางจำนวนแพทย์และบุคลากร

บุคลากร

จำนวน (คน)

ศักยภาพ

พยาบาล

ผู้ช่วยพยาบาล

พนักงานการจัดการ

พนักงานวิชาชีพ

4

11

1

1

ขาดอัตรากำลังพยาบาล 1 ในการดูแลผู้ป่วยทำหัตถการESWL

 

จากการวิเคราะห์อัตรากำลังพบว่ายังขาด พยาบาลวิชาชีพ 1 ตำแหน่ง

 

 

 

เครื่องมือ

เครื่องมือ

จำนวน (เครื่อง)

ศักยภาพ

เครื่องอัลตร้าซาวด์

เครื่องวัดความดันดิจิตอล

เครื่องจี้

เครื่องดูดเสมหะ

เครื่องตรวจ UDM

เครื่องตรวจ Uro Flow

เครื่องComputer ระบบ EMR

1 เครื่อง

2 เครื่อง

1 เครื่อง

1 เครื่อง

1 เครื่อง

1 เครื่อง

18 เครื่อง

พร้อมใช้งาน

พร้อมใช้งาน

พร้อมใช้งาน

พร้อมใช้งาน

อยู่ระหว่างซ่อมบำรุง

อยู่ระหว่างซ่อมบำรุง

ไม่เพียงพอและระบบมีความล่าช้า

หมายเหตุ  :   ตารางข้อมูลสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามข้อมูลของหน่วยงาน

 

2. กระบวนการสำคัญ (Key Processes) 

วิเคราะห์ตามภาระงานหลักของหน่วยงาน  

CLT/หน่วยงานคลินิก กระบวนการสำคัญตามกระบวนการดูแลผู้ป่วย มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ตอนที่ III   

กระบวนการสำคัญ

(Key Processes)

สิ่งที่คาดหวัง

จากกระบวนการ

(Process Requirement)

ความเสี่ยง /ปัญหา /โอกาสพัฒนา

ตัวชี้วัดสำคัญ

(Performance Indicator)

1.การเข้าถึงและการเข้าบริการ

 

รวดเร็ว ถูกต้องและปลอดภัย

 

 

การประเมินที่ผิดพลาด ล่าช้า

-อุบัติการณ์การประเมินผู้ป่วยผิดพลาด

- ระยะเวลารอคอยคัดกรอง

2.การประเมินผู้ป่วย การประเมินแรกรับ / กลุ่มเสี่ยง ฉุกเฉิน วิกฤต

- Pain > 7

- Fever T. > 38c

- V/S ที่ผิดปกติ

- Bleeding / shock

- ผู้ป่วยได้รับการประเมินอาการ ปัญหา/ความเสี่ยง อย่างถูกต้องรวดเร็ว

-ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทางคลินิกได้รับการดูแลให้ปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

-ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะวิกฤต

 

-การซักประวัติและประเมินอาการไม่ครอบคลุมและผิดพลาด

-เจ้าหน้าที่ขาดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการคัดกรอง

- อุบัติการณ์ผู้ป่วยเข้าสู่สภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน เนื่องจากการประเมินผิดพลาด/ล่าช้า

 

3. การวางแผนและการดูแลตรวจรักษาผู้ป่วย

- การรักษาทางยา

- การทำหัตถการ

- เตรียมความพร้อมก่อนส่งผู้ป่วยผ่าตัด OPD case

 

-ผู้ป่วยได้รับการวางแผนดูแลอย่างเหมาะสมตามปัญหาและความต้องการ

-ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ

-ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐาน /CPG/Guidelineเฉพาะโรคอย่างเหมาะสม

-ผู้ป่วยปลอดภัยจากClinical risk ภาวะแทรกซ้อน

- ผู้ป่วยได้รับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดอย่างถูกต้อง ครบถ้วน

-ขาดความรู้และไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด

- อัตราความตลาดเคลื่อนทางยา

- ร้อยละการปฏิบัติตาม CPG

- ร้อยละการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมตัวผ่าตัด

 

4.การวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง

- การส่งเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม

- การติดตามหลังการจำหน่าย เช่น การดุแลแผล การทำแผล

- การส่งต่อผู้ป่วย

- ผู้ป่วยและครอบครัว ได้รับข้อมูลที่จำเป็น ต่อการรักษาและการดูแลตนเองที่สอดคล้องกับโรค

- ผู้ป่วยและครอบครัว สามรถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมถูกกับโรค

- มีการส่งต่อข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง

 

-การวางแผนการจำหน่ายไม่ครอบคลุม

ขาดการติดตามและส่งต่อข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- ร้อยละในการปฏิบัติตัวได้ถูกต้องหลังการผ่าตัดเต้านม(แขนไม่บวม ไหล่ไม่ติด)

5. การให้ข้อมูลและเสริมพลังแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว

-ผู้ป่วยและครอบครัวดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง เช่นลดอัตราการเกิดแผลติดเชื้อ หรือกลับมาเป็นซ้ำในโรคที่ต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

-การให้ข้อมูลไม่ชัดเจนไม่ครบถ้วน ใช้ภาษาที่เข้าใจยาก

-ผู้ป่วยและครอบครัวปฏิบัติตนตามคำแนะนำได้อย่างถูกต้อง

6. การดูแลต่อเนื่อง

-ผู้ป่วยได้รับการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

-ขาดการติดตามผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่อง

(ในผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญ เช่น มะเร็งเต้านม )

 

-ร้อยละของผู้ป่วยที่มารับการติดตามการักษาต่อเนื่อง

 

 

 

 

3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Performance Indicator)

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ระดับที่ปฏิบัติได้ ( ปีงบประมาณ)

2559

2560

2561

1.อุบัติการณ์ผู้ป่วยมีภาวะทรุดลงระหว่างรอตรวจ ภาวะน้ำตาลต่ำ-สูง,ความดันต่ำ-สูง

0 ครั้ง

0

0

6

2.ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ( ถูกต้องครบถ้วน )

100 %

100

100

100

3.ระยะเวลาการรอคอยในการับบริการทั้งหมด

< 30 นาที

5.34

6.05

5.69

4.อัตราความพึงพอใจ

> 85%

96

98

91.58

5.อัตราความสมบูรณ์ของบันทึกทางการพยาบาล

 95 %

98.8

99

99

6.อัตราความคลาดเคลื่อนทางยา

0 ครั้ง

0

0

1

7.จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการ

< 2ฉบับ/เดือน

1

1

3

8.อุบัติการณ์การคัดกรองผิดพลาด

5 ครั้ง / เดือน

2

0

2

9.อุบัติการณ์การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาด

ระดับ B

ระดับ C

5 ครั้ง / เดือน

0

0

0

10.อัตราการติดเชื้อของแผลผ่าตัด

0 ราย

0

0

0

11.อัตราการประเมินค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดทางศัลยกรรมถูกต้องครบถ้วน

100 %

NA

100

100

12.อัตราการส่ง Consult Med pre-op

100 %

100

100

100

หมายเหตุ ระยะเวลาการรอได้นำข้อมูลมาจากระบบ EMR

 

จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการ

 เป้าหมาย<2 ฉบับ/เดือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภูมิแสดงข้อร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการ

 

\s

 

สรุปผลการดำเนินการ

 

     จำนวนข้อร้องเรียนเรื่องพฤติกรรมบริการ ยังมีข้อร้องเรียนอยู่ จึงได้มีการทบทวนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานและส่งเสริมพฤติกรรมบริการที่ดีขึ้น เพื่อลดข้อร้องเรียนต่อไป

 

4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ

          4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (อ้างถึง CPG, Care Map, WP, WI)

          - ระบบการประเมินความเสี่ยงแรกรับ  มีการประเมินภาวะสุขภาพ/ ปัญหา และการประเมินความเสี่ยงอย่างรวดเร็ว เช่น การประเมินความเจ็บปวด  ภาวะช็อค  ผู้ที่มีสัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนปลอดภัยจากภาวะวิกฤต 

          - ระบบบัตรคิวคู่ จัดระบบบัตรคิวให้ผู้ที่รอตรวจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทราบคิว  คิวรอตรวจ ช่วยลดความวิตกกังวล และทราบระยะเวลารอคอยโดยประมาณได้

          - การเตรียมผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลและผ่าตัด จัดทำแนวทางการเตรียมความพร้อมแก่ผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการที่แพทย์นัดผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล โดยให้ข้อมูลการเตรียมตัวนอนโรงพยาบาล ตรวจสอบสิทธิการรักษา การแจ้งค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยประมาณ และลดระระเวลาการรอคอยในผู้ป่วยที่นัดมานอนโรงพยาบาลและผ่าตัด

          - การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดOPD case เนื่องจากพบความผิดพลาดในการเตรียมความพร้อม หลังการผ่าตัด จึงได้พัฒนากิจกรรมคุณภาพ CQI เรื่อง เราอาสาติดตาม ถามแล้วต้องรู้ จัดทำเป็นแนวทางในการติดตามผู้ป่วยก่อนวันนัด 1 วัน เพื่อให้ผู้ป่วยเตรียมความพร้อมก่อนมาทำการรักษา โดยมีการประสานงานระหว่าง พยาบาล แพทย์ และห้องผ่าตัด ทำให้เกิดความผิดพลาดลดลง

 

 

 

          4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

          - KM เรื่อง แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผู้ป่วยพบเชื้อ CRE ,VRE ในแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม เนื่องด้วยแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมประสบปัญหาเกี่ยวกับการดูแล ป้องกันผู้ป่วยติดเชื้อ CRE,VRE อันได้แก่ ขาดการสื่อสารที่ชัดเจนในกรณีที่ผู้ป่วยมีนัดติดตามการรักษา ขาดทักษะวิธีการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่พบเชื้อ ทำให้ทางแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมประเมินผู้ป่วยได้ล่าช้าและการเฝ้าระวังไม่เพียงพอ เพื่อเป็นการหาแนวทางและป้องการแพร่กระจายเชื้อให้เป็นไปในทางเดียวกันจึงได้จัดทำแพ่นพับเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้ทราบและเข้าใจในการเตรียมตัวก่อนมารับการติดตามการรักษา (เอกสารแนบ 1 )

          - Lean เรื่องการลดขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยที่ได้รับการกระแทกทรวงอก อยู่ในกระบวนการรวบรวมข้อมูล

 

5.แผนการพัฒนาต่อเนื่อง (เพื่อตอบสนอง 1. ตัวชี้วัดที่ไม่บรรลุเป้าหมาย, ความท้าทายสำคัญของหน่วยงาน, ความเสี่ยงสำคัญที่ยังเป็นปัญหา)

          -  พัฒนาเรื่องการระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาด  เนื่องจากพบปัญหาผู้ป่วยชื่อเดียวกัน แต่คนละนามสกุล ทำให้เกิดความผิดพลาดในการระบุตัวผู้ป่วย ซึ่งจะนำเรื่องการระบุตัวมาทบทวนและพัฒนาต่อไปโดยตรวจสอบชื่อ นามสกุล บัตรนัด ใบนำทาง แฟ้มประวัติและตัวผู้รับบริการให้ตรงกัน ลดเสียงรบกวนขณะปฏิบัติงาน

           - พัฒนาเรื่องการประเมินค่าจ่ายส่วนเกินในทุกสิทธิในการรักษา เนื่องจากผู้ป่วยทุกรายได้รับการวางแผนการรักษาล่วงหน้าในการผ่าตัดทางศัลยกรรม จึงนำเรื่องนี้มาทบทวนเพื่อเป็นการเหลือช่วยผู้ป่วยในการวางแผนการรักษาเตรียมความพร้อมเรื่องสิทธิและค่าใช้จ่าย ลดปัญหาเรื่องการเลื่อนผ่าตัดเนื่องจากสิทธิการรักษาและค่าใช้จ่ายไม่พร้อม

          - พัฒนาและติดตามต่อเนื่องเรื่องการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดในเรื่องการงดยาละลายลิ่มเลือด

เนื่องจากยังพบปัญหาผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดแต่ยังไม่ได้งดยาตามกำหนด ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและต้องเลื่อนการผ่าตัด เมื่อทบทวนในเรื่องนี้แล้วพบปัญหาเกิดจาก เจ้าหน้าที่ไม่ได้แนะนำ ญาติที่พาผู้ป่วยมาหลายคน ผู้ป่วยสูงอายุ จึงได้จัดทำใบเตือนผู้ป่วยให้งดยาละลายลิ่มเลือด ( เอกสารแนบ 2 )

 

 

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page