วัณโรค (Tuberculosis) หรือทั่วไปมักเรียกย่อว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium Tuberculosis บางครั้งเรียกว่า เอเอฟบี (AFB, acid fast bacilli) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่การอักเสบจากเชื้อวัณโรคจะเกิดในปอดที่เรียกว่า วัณโรคปอด แต่ก็สามารถเกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง และลำ ไส้ ในสมัยก่อนผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่จะเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันวัณโรคสามารถรักษาด้วยยาจน หายขาดได้ การติดเชื้อวัณโรคแตกต่างจากการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ เพราะเชื้อวัณโรคสามารถ อยู่ในตัวผู้ป่วยโดยไม่มีอาการได้นานๆเรียกว่า วัณโรคระยะแฝง ซึ่งทั่วโลกมีผู้ป่วยวัณโรคระยะ แฝงประมาณ 2,000 ล้านคน โดย10% ของวัณโรคระยะแฝงจะเกิดเป็นโรควัณโรคปอดภายใน 10 ปี
วัณโรคเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนทางการหายใจ โดยเชื้อวัณโรคจะแพร่จากผู้ป่วยวัณโรค ปอดไปสู่ผู้อื่นทางละอองเสมหะขนาดเล็กๆซึ่งออกมาจากการไอ จาม หรือพูด ละอองเสมหะเหล่านี้จะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้หลายชั่วโมง และเมื่อสูดเข้าไปจะเข้าไปจนถึงถุงลมปอด แล้วเกิดการอักเสบได้ ในการไอ 1 ครั้งอาจพบมีละอองเสมหะออกมาถึง 3,000 ละอองเสมหะ
โอกาสของการแพร่เชื้อวัณโรคขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยคือ
ในระยะแรกหลังจากเชื้อวัณโรคเข้าในร่างกายแล้ว ผู้ป่วยจะไม่มีอาการและไม่สามารถตรวจ พบได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ จนถึงประมาณหลังจาก 4 อาทิตย์ ร่างกายจะเริ่มมีปฏิกริยาต่อเชื้อวัณโรค โดยส่วนใหญ่ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคในคนปกติจะสามารถควบคุมเชื้อวัณโรคให้สงบนิ่งอยู่ เรียกว่า อยู่ในระยะแฝง ซึ่งจะไม่มีอาการของโรคและไม่แพร่เชื้อ แต่ในผู้ป่วยเด็กเล็กหรือผู้มีภูมิ คุ้มกันต้านทานโรคบกพร่องเช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ (AIDS) อาจไม่สามารถควบคุมเชื้อวัณโรคให้สงบได้ จึงเกิดโรควัณโรคปฐมภูมิ (Primary tuberculosis คือ วัณโรคที่แสดงอาการตั้งแต่ครั้งแรกที่ติดเชื้อ โดยไม่มีการอยู่ในระยะแฝง) เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มปอดหรือวัณโรคต่อมน้ำเหลืองได้ ทั้งนี้ เชื้อ วัณโรคที่อยู่ในระยะแฝงจะสงบอยู่จนมีปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอจึงเกิดโรควัณโรคปอดขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปะทุของวัณโรคที่สงบนิ่งได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะขาดสารอาหาร การได้รับยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคเช่น ในโรคภูมิแพ้ และในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือ โรคเอดส์ ทั้งนี้โดยประมาณ 5% ของผู้ป่วยวัณโรคระยะแฝง จะมีโอกาสเกิด โรควัณโรคปอดในสองปีแรกและอีก 5% จะเกิดโรคภายในสิบปี
เมื่อกล่าวถึงวัณโรค หลายคนคิดว่าเป็นโรคซึ่งแทบจะหมดไปแล้วจากประเทศไทย แต่ สถานการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยยังมีความน่าเป็นห่วง
อุบัติการของการติดเชื้อวัณโรครายงานเมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2555 จากสำนักวัณโรค กระ ทรวงสาธารณสุข คือ 137 รายต่อประชากร 1 แสนคนหรือประมาณ 90,000 รายต่อปี (ในการนี้ เป็นเชื้อดื้อยาประมาณ 1,900 ราย) เสียชีวิต 16 รายต่อประชากร 1 แสนคน และผู้ป่วยวัณโรคติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 15%
อาการสำคัญของวัณโรคปอดคือ ไอเรื้อรังโดยเฉพาะอาการไอที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 สัปดาห์ ขึ้นไป โดยจะเริ่มจากไอแห้งๆ ต่อมาจะมีเสมหะจนอาจมีไอเป็นเลือดได้
อาการอื่นๆที่พบได้บ่อยคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเหงื่อออกกลาง คืน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยวินิจฉัยวัณโรคได้แก่
อนึ่ง เมื่อมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรคเช่น ไอเรื้อรัง มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด แพทย์จะส่งทำเอ็กซเรย์ปอดซึ่งถ้าพบลักษณะผิดปกติที่เข้าได้กับวัณโรคปอด แพทย์จะให้ผู้ ป่วยเก็บเสมหะตรวจย้อมเชื้อวัณโรค ซึ่งถ้าพบเชื้อวัณโรคก็จะวินิจฉัยได้แน่นอน แต่บางครั้งผู้ ป่วยมีอาการและเอ็กซเรย์ปอดเข้าได้กับวัณโรคแต่ย้อมไม่พบเชื้อวัณโรคในเสมหะแพทย์อาจ ให้การวินิจฉัยและให้การรักษาแบบวัณโรคปอดได้ แต่ต้องติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
วัณโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องรับประทานยาทุกวันอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันจะ ใช้สูตรยารักษา 6 เดือนซึ่งได้ผลดีที่สุดโดยจะให้ยาได้แก่
2. Rifampicin (ไรแฟมปิซิน)
3. Ethambuthol (อีแธมบิวธอล)
4. Pyrazinamide (ไพราซินามาย)
โดยจะให้รับประทานยาทั้ง 4 ตัว 2 เดือน ต่อด้วยยา isoniazid + Rifampicin อีก 4 เดือน อาการหรือผลข้างเคียงของยารักษาวัณโรคเช่น มีผื่น อาเจียน ปวดข้อ และตับอักเสบ ซึ่งพบผลข้างเคียงจากยาได้ประมาณ 5%
ผู้ป่วยวัณโรคควรดูแลตนเองหรือควรปฏิบัติดังนี้
การป้องกันวัณโรคและการพบแพทย์ได้แก่