ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. นางนงนุช แย้มวงศ์ ผู้จัดการความรู้ (KM Manager)
2. นางสาวศศิธร บุญจันทร์ คุณอำนวย ( Facilitator)
3. นายภิรมย์ ทองสิบวงษ์ คุณอำนวย ( Facilitator)
4. นางสาวสุวรรณา สินสวาท คุณลิขิต (Note Taker)
5. นางรัตนา เฉิดฉาย คุณกิจ
6. นางสาววีรนุช เรืองบุญ
7. นายสมชาย อินทร์สุวรรณ์
8. นายพรเทพ จันทร์แก้ว
9. นายเอกมงคล ระบอบ
10. นายธีรพล สุขชาติ
11. นายอำนาจ จั่นเหลือ
12. นายสำอางค์ กุศลล้ำ
13. นางสาวสุขศิริ ผิวอ่อน
14. นางพรทิพย์ เจริญวัฒน์
15. นางสาววันฑนา ฟักเงิน
16. นางสาวปาริฉัตร รักภิรมย์ พนักงานบริษัทรีซัล พลัส
1. หลักการและเหตุผล
กรณีสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (Covid 19) การควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ปลอดภัยและไม่มีภาวะแทรกซ้อน รวมถึงให้บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่ติดเชื้อจากการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่นั้น
หน่วยงานซักฟอก จึงได้จัดการจัดการความรู้เรื่อง การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID 19) เพื่อให้บุคลากรได้ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค แนวทาง
การป้องกันตนเอง และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในการปฏิบัติงาน การเลือกสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันได้อย่างเหมาะสมกับหน้างานในบริบทของแต่ละหน่วยงาน โดยให้ทุกคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แชร์ประสบการณ์การทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็น แนวคิดๆ และตลอดจนมีการให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในหน่วยงานได้เหมาะสม
2. วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่ ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
2.เพื่อให้บุคลากรมีความพร้อม ความเข้าใจ สามารถใส่อุปกรณ์ป้องกันได้อย่างเหมาะสม
3.เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติเรื่องการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน
เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจและบอกขั้นตอนการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อ
4. วิธีการ/รูปแบบการจัดการความรู้
¨ Success Story Telling (SST) (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.1)
þ The World Cafe (กรณีเลือกข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลตามตารางข้อ 5.2)
5. กระบวนการจัดการความรู้ (Share & Learn)
5.1 Success Story Telling (SST)
ผู้เล่าเรื่อง (Narrator) |
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share & Learn) |
เทคนิควิธีการ (Action) |
พี่นุช |
- ให้ความรู้และอธิบายเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 ซักถามบุคลากรเรื่องโรค การป้องกันตนเอง การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน ประสบการณ์การทำงานในสถานการณ์การระบาดของโรค โดยให้บุคลากรแต่ละหน่วยงานได้แชร์ประสบการณ์ และให้ทุกคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
- อธิบายให้ความรู้ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
กุ๊ก |
- ให้ความรู้เรื่อง การเลือกสวมใส่อุปกรณ์ป้องให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ การป้องกันตนเองจากสถานการณ์โรคระบาด และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน |
- อธิบาย เปิดภาพจากโซเชียลประกอบ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
พี่อ้อ |
- อธิบายถึงลักษณะงานของซักฟอก และความสำคัญของการใส่อุปกรณ์ที่เหมาะสมของบุคลากร ปัญหาและอุปสรรคระหว่างปฏิบัติงาน และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ |
- อธิบายให้ความรู้ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
เอ็ม |
- อธิบายถึงลักษณะงานของงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การเลือกสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ นวัตกรรมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น |
- อธิบายวิธีการและแสดงตัวอย่างประกอบ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
วี |
- อธิบายถึงลักษณะงานของเวชภัณฑ์กลาง การใส่อุปกรณ์ป้องกัน ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน และให้ทุกคนมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยน |
- อธิบายวิธีการ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
ผู้เล่าเรื่อง (Narrator) |
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share & Learn) |
เทคนิควิธีการ (Action) |
เทพ |
- อธิบายลักษณะงานของ ARI Clinic การใส่อุปกรณ์ป้องกันของเจ้าหน้าที่ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน และให้ทุกคนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
- อธิบายให้ความรู้ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
พี่นุช,พี่อ้อ, พี่กุ๊ก |
- ให้ความรู้เรื่อง การเลือกสวมใส่อุปกรณ์ป้องให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ การป้องกันตนเองจากสถานการณ์โรคระบาด และมีการกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น |
- อธิบายให้ความรู้ เปรียบเทียบข้อแตกต่างโดยใช้รูปประกอบ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
ลุงเอก,ลุงอ้อ |
- เล่าประสบการณ์การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ปัญหาและอุปสรรคระหว่างปฏิบัติงาน และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น |
- เล่าประสบการณ์การทำงาน - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
ผึ้ง,อ้อย,แอน สำอางค์ |
- เล่าประสบการณ์การใส่อุปกรณ์ป้องกันในการเก็บผ้าสกปรก ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ระหว่างปฏิบัติงาน และให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น |
- เล่าประสบการณ์การทำงาน - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
พี่นุช |
- สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน และการเลือกอุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะกับงานเพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป |
- รวบรวมรายละเอียด สรุปประเด็นปัญหา แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ - แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน |
6.สรุปความถี่ (ข้อมูลที่ได้มาจากข้อ 5.1 หรือ 5.2)
เรื่อง |
จำนวนความถี่ |
1. โควิด 19 |
18 ครั้ง |
2. การซ้อมใส่ PPE |
7-8 ครั้ง |
3. การซ้อมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด/PUI |
8 ครั้ง |
4. การเก็บผ้าสกปก |
10 ครั้ง |
5. การใส่อุปกรณ์ป้องกันของหน่วยงาน |
20 ครั้ง |
6. การล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย |
20 ครั้ง |
7. Key Success Factor (ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สรุปจากกระบวนการจัดการความรู้ในข้อ.6 (โดยเรียงจากความถี่ที่ได้จากข้อ 6 จากความถี่มากสุดไปหาน้อยสุด)
1. บุคลากรมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดูแลตนเอง และการใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะปฏิบัติหน้าที่
2. บรรยากาศที่เป็นกันเองของกลุ่ม การกระตุ้นของผู้นำกลุ่ม ทำให้ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น แชร์ความรู้ประสบการณ์ร่วมกัน
3. บางหัวข้อไม่ใช่บริบทหน่วยงาน บุคลากรไม่คุ้นชิน จึงมีส่วนร่วมในการแชร์ความคิดเห็นน้อย ต้องให้ Facilitator อธิบาย และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม
8. นวัตกรรมหรือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ (กรุณาแนบหลักฐาน)
£ คู่มือ
£ แผ่นพับ
þ แนวทางปฏิบัติ
และ £ มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านโปรแกรมหรือระบบต่างๆ..เมื่อวันที่..(ระบุ).................................
เพื่อการตรวจสอบ (พร้อมปริ้นเอกสารแนบ หน้า Website KM หน่วยงานมาด้วย)
9. ผลจากการดำเนินการทำกิจกรรม KM
บุคลากร/เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานได้เรียนรู้ร่วมกัน นำความรู้ ทฤษฎีและประสบการณ์ในเรื่องการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองในแต่ละหน่วยงาน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน นำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบทแต่ละหน่วยงานได้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และป้องกันตนเองในสถานการณ์การเกิดโรคอุบัติใหม่ เพื่อตอบสนองนโยบายขององค์กร
10. สรุปผลการนำเทคนิคไปปฏิบัติใช้
มีแนวทางปฏิบัติเรื่องการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน
11. After Action Review (AAR)
1.ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานของท่านได้อย่างไร
- บุคลากรในหน่วยงานสามารถเลือกใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามแนวทางการจัดการผ้าเปื้อน
- มีแนวทางปฏิบัติการการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของหน่วยงาน
2.ท่านสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาองค์กรได้อย่างไร
- มีแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร
12. ภาพประกอบการทำกิจกรรม
(นางนงนุช แย้มวงศ์)
หัวหน้างานการพยาบาลรักษาพิเศษ