ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ทันตอุปกรณ์รักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

โดย ผศ.ทพญ.ดร. เปรมทิพย์ (ชลิดาพงศ์ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
จากบทความออนไลน์ เว็ปไซต์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของทันตแพทย์ ทันตแพทยสภา (CDEC)

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

    เกิดจากทางเดินหายใจส่วนต้น (upper airway) เกิดการตีบแคบจนทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้นชั่วคราวในขณะนอนหลับ สาเหตุของการตีบแคบเพราะการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้นร่วมกับโครงกระดูกใบหน้าขากรรไกรบน และขากรรไกรล่าง ที่อยู่รอบทางเดินหายใจส่วนต้นมีขนาดเล็กแคบหรือถอยร่นหลัง  ส่งผลให้ลมหายใจผ่านได้น้อยกว่าปกติหรือไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ แม้ต้องใช้แรงในการหายใจเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดภาวะพร่องออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด เมื่อถึงระดับหนึ่งร่างกายมีกลไกป้องกันตัวเองด้วยการทำให้สมองตื่นตัว เพื่อทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้นกลับมาตึงตัวเพื่อหายใจได้เหมือนเดิม ปรากฏการณ์นี้จะเกิดซ้ำไปซ้ำมา ส่งผลให้สมองตื่นตัวป็นระยะๆทั้งคืน ทำให้การนอนหลับไม่เป็นปกติ ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่มทั้งๆที่จำนวนชั่วโมงการนอนเพียงพอ มีอาการไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน อาจมีอาการปวดมึนศีรษะหลังตื่นนอน รู้สึกง่วงนอนมากผิดปกติในระหว่างวัน อารมณ์ฉุนเฉียวหงุดหงิดง่าย สมาธิความจำ สมรรถภาพการทำงานถดถอย นอกจากนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากยานพาหนะ  หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล คนขับรถโดยสารสาธารณะ  และที่สำคัญคือภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นยังส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ  ได้แก่  โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ  ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง รวมไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางระบบเมตะบอลิกส์ เช่น ภาวะอ้วนลงพุง 

   อาการบ่งชี้ได้แก่ นอนกรนเสียงดังไม่สม่ำเสมอ กรนดังสลับเงียบร่วมกับมีการหยุดหายใจ รู้สึกเหมือนจมน้ำ สำลักหายใจไม่ออก หายใจเฮือกเพราะรู้สึกขาดอากาศ ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อได้ยาก หลับไม่สนิทกระสับกระส่ายขณะหลับ เหงื่อออกมาก นอนกัดฟัน ขากระตุกขณะหลับ ตื่นขึ้นปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน ตื่นนอนไม่สดชื่น ปวดมึนศีรษะหลังตื่นนอน ปากคอแห้งหลังตื่นนอน ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลา สมาธิลดลง หลงลืม หงุดหงิด ซึมเศร้า อารมณ์หรือสมรรถภาพทางเพศลดลง

 บทบาทของทันตแพทย์กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

ทันตแพทย์มีบทบาทที่สำคัญสองประการคือ

  1. ตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงโรคและส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ  เพื่อให้การวินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากทันตแพทย์มักพบผู้ป่วยทางทันตกรรมทุก 6 เดือนอยู่แล้ว และความชุกของภาวะนอนกรนหยุดหายใจฯมีค่อยข้างมาก มีข้อแนะนำว่าทันตแพทย์ควรเพิ่มการซักประวัติการนอนกรนและหยุดหายใจในคนไข้ที่มาตรวจรักษาทางทันตกรรมร่วมกับควรตรวจบริเวณคอหอย ขนาดทอนซิล ขนาดและตำแหน่งลิ้น โครงสร้างของขากรรไกรบนและล่าง เพราะผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะหยุดหายใจฯมักมี ขากรรไกรล่างเล็ก และร่นหลัง ทอนซิลขนาดใหญ่ ลิ้นใหญ่ และอยู่ในตำแหน่งสูงเมื่อเทียบกับเพดานปาก
  2. ให้การรักษาร่วมกับแพทย์ด้านการนอนหลับ ด้วยทันตอุปกรณ์ เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจส่วนต้นเปิดกว้างและคงสภาพไม่ให้หย่อนยุบตัวในขณะนอนหลับ และการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนและล่าง

ลักษณะของทันตอุปกรณ์ที่เหมาะสม

ทันตอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นมี 2 ชนิด คือ

1. ชนิดที่ทำให้ขากรรไกรล่างยื่นมาด้านหน้า ทำให้ขากรรไกรล่างยื่นมาด้านหน้า ทำให้ลิ้นเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณใต้คางเพดานอ่อนและลิ้นไก่ ถูกดึงให้ตึงตัวมาด้านหน้ามากขึ้น ช่องทางเดินหายใจจึงเปิดกว้างขึ้น

MAD

2. ชนิดที่รั้งลิ้นให้ยื่นมาด้านหน้า ทำให้ลิ้นและเนื้อเยื่อรอบๆกล้ามเนื้อลิ้นไม่ตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจด้านหลังบริเวณคอหอย พบว่าประสิทธิภาพและการยอมรับของผู้ป่วยน้อยกว่าการรักษาด้วยทันตอุปกรณ์ชนิดยื่นขากรรไกรล่าง 

TRD

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page