ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

หลักการรักษารากฟันทะลุ

โดย ทพญ.ทวินันท์ พานพิศ ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟัน

หลักการรักษารากฟันทะลุ

หลักการรักษารากฟันทะลุคือ การป้องกันหรือกำจัดการติดเชื้อบริเวณรอยทะลุ ร่วมกับการซ่อมด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษและให้ความแนบสนิทที่ดีโดยปัจจัยที่มีผลต่อความสำาเร็จในการรักษาได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับการรักษา ขนาด และตำแหน่งของรอยทะลุ พยากรณ์โรคจะดีหากได้รับการซ่อมรอยทะลุอย่างรวดเร็ว รอยทะลุ มีขนาดเล็กและมีตำา แหน่งสูงกว่าหรือต่ำา กว่าระดับสันกระดูกเบ้าฟัน (crestal  bone) และ epithelial attachment

เมื่อพิจารณาผู้ป่วยรายนี้จากการตรวจทางคลินิกและภาพรังสี พบว่ามีรอยทะลุอยู่ต่ำากว่าสันกระดูกเบ้าฟัน และ epithelial attachment เล็กน้อยร่วมกับการที่ไม่มีร่องลึกปริทันต์   ซึ่งแสดงว่าไม่มีทางติดต่อระหว่างรอยทะลุกับภายในช่องปากโอกาสการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากภายในช่องปากจะน้อย ส่งผลให้พยากรณ์โรคดีขึ้น ถึงแม้ว่ารอยทะลุจะไม่ได้รับการซ่อมในเวลาอันสั้นและมีขนาดใหญ่ เพราะมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถกำ า จัดเชื้อจุลชีพบริเวณรอยทะลุได้จากน้ำยาล้างคลองรากที่กระตุ้นด้วยไฟล์อัลตราโซนิกและการใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ แต่อย่างไรก็ตามการซ่อมรอยทะลุให้เร็วที่สุดไม่สามารถทำได้ในกรณีนี้  เนื่องจากรอยทะลุดังกล่าวเกิดจาก inflammatory root  resorptionจึงจำาเป็นต้องใส่ยาในคลองรากฟันเป็นเวลานานจนกว่าการละลายจะหยุดเสียก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในการรักษาผู้ป่วยรายนี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องรากฟันละลายควบคู่ไปกับหลักการรักษารอยทะลุ
            วัสดุที่เลือกใช้ซ่อมรอยทะลุคือ  MTA  เนื่องจากคุณสมบัติความแนบสนิทที่ดี ความเข้ากันได้ทางชีวภาพ สามารถแข็งตัวได้ในสภาวะที่มีน้ำหรือเลือด ความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิดการซ่อมสร้างอวัยวะปริทันต์ และพบว่าเคลือบรากฟันสามารถสร้างขึ้นบนผิวของ  MTA เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีรอยทะลุหลายตำาแหน่งทั้งในส่วนของปลายรากและคอฟัน  ร่วมกับคลองรากฟันมีขนาดใหญ่จึงสามารถใช้ MTAเป็นทั้งวัสดุอุดคลองรากฟัน และซ่อมรอยทะลุผ่านทางตัวฟัน หลีกเลี่ยงการทำาศัลยกรรมซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่า
            ขั้นตอนการซ่อมรอยทะลุในกรณีนี้ไม่เลือกที่จะใช้ matrix ถึงแม้ว่ารอยทะลุบริเวณคอฟันจะมีขนาดใหญ่ เนื่องจากได้รอจนกระดูกบริเวณใกล้เคียงกับรอยทะลุเกิดการสร้างซ่อมแซมขึ้นมา ส่วนเนื้อเยื่อแกรนูเลชันที่อยู่ในรอยทะลุก็ถูกกำา จัดและป้องกันไม่ให้สามารถเข้ามาได้อีกจากการใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ผสมค่อนข้างแข็งช่วยดันเอาไว้  แต่อย่างไรก็ตามจะพบว่ามี  MTA  ปริมาณ เล็กน้อยเกินออกจากรอยทะลุ  เมื่อพิจารณาจากความเข้ากันได้ทางชีวภาพของวัสดุแล้วไม่น่าจะส่งผลต่อการหาย ซึ่งเมื่อติดตามผลการรักษา 1 ปี จากภาพรังสีพบว่า MTA ส่วนเกินมีการละลายตัวไป MTA เรียบเสมอกับผิวรากฟันดี ร่วมกับมีการหายอย่างสมบูรณ์

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page