Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel
admin

admin

Administrator

icon-9

ตารางสอนรอบ 2(G.3)-57 ครั้งที่ 1

ตารางสอนรายวิชา นว 521 ปีการศึกษา 2556 รอบที่ 1  สัปดาห์ที่ 1
ระหว่างวันที่  3 - 5  เมษายน 2556

ณ ห้องบรรยาย PBL 1  ชั้น 3  อาคารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

ตารางสอนรายวิชา นว 401 ปีการศึกษา 2555 
ระหว่างวันที่ 28 มกราคม 2556 - 1 กุมภาพันธ์ 2556

ณ ห้องบรรยาย PBL ห้อง 1 ชั้น 3 อาคารคณะแพทยศาสตร์ องครักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  ตารางสอนรายวิชา นว 521 ปีการศึกษา 2555 รอบที่ 5
สัปดาห์ที่ 1 ระหว่างวันที่ 17-21 ธันวาคม 2555

ณ ห้องบรรยาย PBL ห้อง 1 ชั้น 3 อาคารคณะแพทยศาสตร์ องครักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  ตารางสอนรายวิชา นว 521 ปีการศึกษา 2555 รอบที่ 4
ระหว่างวันที่ 15-19 ตุลาคม 2555
ณ ห้องบรรยาย PBL ห้อง 1 ชั้น 3 อาคารคณะแพทยศาสตร์ องครักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  ตารางสอนรายวิชา นว 521 ปีการศึกษา 2555 รอบที่ 2
ระหว่างวันที่ 11-15  มิถุนายน 2555
ณ ห้องบรรยาย PBL 1  ชั้น 3  อาคารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ตารางสอนรายวิชา นว 521 ปีการศึกษา 2554 รอบที่ 1
ระหว่างวันที่  2 - 5  เมษายน 2555
ณ ห้องบรรยาย PBL 1  ชั้น 3  อาคารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 download square การระบุบุคคล (Identification) อ.นพ.อภิชัย แผลงศร
 download square (Clinical Forensic Medicine) อ.นพ.อภิชัย แผลงศร
 download square กลุ่มการเสียชีวิตอื่นทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ปี 59
download square Blunt force injury ปี 59 
download square Causes of death in forensic pathology
   การตายจากไฟดูดและฟ้าผ่า อ.พญ.ศิรินทร์ บุษยามานนท์
ุบัติเหตุจราจร อ.พญ.ศิรนทร์ บุษยามานนท์
การตายจากบาดแผล นว.401 อ.พญ.ศิรินทร์ บุษยามานนท์
 Murder in Children อ.พญ.วรัทพร สิทธิจรูญ
Clinical Practice in Sex Crime อ.พญ.วรัทพร สิทธิจรูญ
Clinical Practice in Blunt Force Injury อ.พญ.วรัทพร สิทธิจรูญ
Scene investigation นว.401 อ.พญ.วรัทพร สิทธิจรูญ
กฎหมายการแพทย์ และ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม อ.พญ.วรัทพร สิทธิจรูญ นว.401
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม อ.พญ.วรัทพร สิทธิจรูญ นว.401
Med Law Quiz 62 นว.401 อ.พญ.วรัทพร สิทธิจรูญ
download square Scene investigation นว.401 อ.พญ.วรัทพร สิทธิจรูญ  PPT
download square Scene Investigation อ.นพ.ธัญญศักดิ์ เอกเวชวิท
download square Asphyxia and drowning อ.นพ.ธัญญศักดิ์ เอกเวชวิท

หลักสูตร
รายวิชาที่จัดการเรียนการสอน/มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต

            ภาควิชานิติเวชศาสตร์ ได้กำหนดวัตถุประสงค์รายวิชาให้สอดคล้องตามหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ มศว และเกณฑ์มาตรฐานของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2545 ได้กำหนดความรู้ความสามารถนิติเวชศาสตร์ไว้ ดังนี้       
           ข้อ 1.5 สามารถตรวจและให้ความเห็น หรือทำหนังสือรับรองเกี่ยวกับผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจำเลย ตามความที่กฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวน องค์กร หรือศาลใน กิจการต่าง ๆ ได้ เช่น หนังสือรับรองสุขภาพ หนังสือรับรองความพิการ หนังสือรับรองการตาย  การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนและศาล เป็นต้น
           ข้อ 1.6 สามารถชันสูตรพลิกศพ เก็บวัตถุพยานจากศพ ร่วมกับพนักงานสอบสวน ตามที่กฎหมายกำหนดได้ สามารถออกรายงานการชันสูตรพลิกศพ ให้ถ้อยคำเป็นพยานในชั้น สอบสวนและชั้นศาลได้” วิชานิติเวชศาสตร์จึงเป็นวิชาบังคับ ในหลักสูตรแพทยศาสตร์ของทุกสถาบัน การศึกษา

                                                                                          ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
รายวิชา FM 401 นิติเวชศาสตร์ 1 หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทางนิติเวชศาสตร์ในเบื้องต้น ในแง่มุมต่างๆกัน ได้แก่ การชันสูตรพลิกศพและวัตถุพยาน  ความ สำคัญของการระบุบุคล สาเหตุการตายที่พบบ่อยในทางนิติเวช ความสำคัญของการตรวจผู้ป่วยยคดี และกฎหมายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพแพทย์
วิธีจัดการเรียนการสอน
                เป็นวิชาในภาคทฤษฎี ร่วมกับการเรียนการสอนแบบ PBL และสัมมนากลุ่มย่อย โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ
           - การเรียนการสอนเป็นแบบบรรยาย จำนวน  10 หัวข้อย่อย รวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง
           - การเรียนการสอนแบบ Problem-base learning (PBL) จำนวนสองครั้ง ใช้เวลา7 ชั่วโมง
ผู้เรียน     นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 124 คน
ผู้สอน     อาจารย์ประจำ จำนวน 5 คน
วันเวลา   ตามตารางการเรียนการสอน
สถานที่   ห้องบรรยาย 1 ชั้น 7 ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จ.นครนายก
วัตถุประสงค์รายวิชา
                เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจและความสำคัญของวิชานิติเวชศาสตร์ เพื่อรองรับการเรียนภาคปฏิบัติในชั้นปีที่ 5 โดยให้มีการเรียนการสอนทั้งแบบบรรยาย ร่วมกับการทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะของ PBL ผสมผสานกับการสัมมนากลุ่มย่อย โดยมีรายละเอียดดังนี้
                1. การเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน โดยการบรรยายตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อและมีเอกสารประกอบการบ รรยาย จำนวน 15 ชั่วโมง แบ่งเป็น
                         1. นิติเวชศาสตร์เบื้องต้น                        จำนวน         4         ชั่วโมง
                              - ความสำคัญของนิติเวชศาสตร์
                              - การระบุบุคลเบื้องต้น
                              - สาเหตุการตายทางนิติเวช
                         2. สถานที่เกิดเหตุและวัตถุพยาน               จำนวน         3         ชั่วโมง
                              - การตรวจศพและสถานที่เกิดเหตุ ณ ที่ ที่พบศพ
                              - การประเมินเวลาตาย
                              - วัตถุพยานทางนิติเวชศาสตร์
                         3. ผู้ป่วยคดี                                          จำนวน         4         ชั่วโมง
                              - การตรวจผู้ป่วยคดี
                              - การตรวจผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
                         4. กฎหมายและจริยธรรมทางการแพทย์เบื้องต้น จำนวน         4         ชั่วโมง
                             - กฎหมายเบื้องต้น
                             - พ.ร.บ.วิชาชีพ และจริยเวชศาสตร์
                2. กิจกรรมกลุ่มในลักษณะของ PBL ผสมผสานกับการสัมมนากลุ่มย่อย
จำนวน   7     ชั่วโมง
                 ให้นิสิตมีความสามารถค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง ทั้งจากตำราวิชาการ อาจารย์ผู้สอน หรือสื่อสาระสนเทศชนิดต่างๆ เพื่อให้นิสิตมีความสามารถในการนำเสนอผลงานการค้นคว้า ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย และสามารถร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มได้ โดยแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น
                                1. Practice in Clinical Forensic Medicine (PBL1) จำนวน 3 ชั่วโมง
                                2. Practice in Forensic Medicine (PBL2) จำนวน 4 ชั่วโมง
                รูป แบบการเรียน นิสิตจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อย และได้รับมอบกรณีศึกษาล่วงหน้า เพื่อค้นหาคำตอบตามคำถามในแต่ละกรณี และนำคำตอบที่ได้มานำเสนอในที่ประชุม โดยอาจารย์จะร่วมแนะนำแนวทางและอภิปรายสรุป
 
การประเมินผลการเรียนรู้
                1. ประเมินผลจากพฤติกรรมการระหว่างตลอดระยะเวลาที่มีการเรียนการสอน แบ่งเป็น
                                1. การเซ็นชื่อเข้าเรียน ความตรงต่อเวลา พฤติกรรมระหว่างการเรียนการสอน และการให้ความร่วมมือในการประเมินการเรียนการสอน
                                2. พฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรมกลุ่ม
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ โดยอาศัยการวัดผลผ่านข้อสอบชนิดต่างๆ
                                3.2.1 ข้อสอบปรนัย (MCQ) จำนวน       40         ข้อ
                                3.2.2 ข้อสอบอัตนัย (Short Answer) จำนวน       10         ข้อ
                                3.2.3 ข้อสอบอัตนัย ตอบคำถามโดยวิเคราะห์จากภาพถ่าย
                                          (Spot diagnosis) จำนวน         5         ข้อ
 
รายวิชา FM 521 นิติเวชศาสตร์เชิงปฏิบัติการ 2 หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษา รายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับวิชานิติเวชศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ในแง่มุมที่หลากหลาย อาทิเช่น นิติพยาธิวิทยา นิติเวชคลินิก นิติพิษวิทยา นิติเซโรโลยี เป็นต้น ทั้งยังมีการศึกษาดูงานภาคปฏิบัติ ณ สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้นิสิตมีประสบการณ์เพิ่มเติมจากการเรียนรู้ในภาคทฤษฎี เช่น การตรวจศพ การตรวจผู้ป่วยคดี การตรวจผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เทคนิควิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน ณ สถาบันต่างๆ เป็นต้น
วิธีจัดการเรียนการสอน
                แบ่งการเรียนการสอนเป็นสองภาคส่วน ได้แก่
                1. การศึกษาภาคทฤษฎี ในรูปแบบการเรียนการสอนแบบบรรยายตามหัวข้อ จำนวน 23 หัวข้อ ครอบคลุมรายละเอียดทางนิติเวชศาสตร์ในทุกแง่มุมที่แพทย์เวชปฏิบัติควรทราบ
                2. การศึกษาดูงานเชิงปฏิบัติการ ณ สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อศึกษาดูงานด้านการชันสูตรศพ ผู้ป่วยคดี การเขียนรายงานชันสูตรบาดแผล การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งสอดแทรกเนื้อหาการบรรยายประกอบเพิ่มเติม การศึกษาดูงาน ณ ศาลอาญากรุงเทพใต้ และกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการสัมมนากลุ่มย่อย
ผู้เรียน     นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 จำนวน 120 คน แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 20-25 คน ต่อรอบ
ผู้สอน     อาจารย์ประจำ       จำนวน         5         คน
             อาจารย์พิเศษ          จำนวน        27        คน
วันเวลา   ตามตารางการเรียนการสอน
สถานที่   สัปดาห์ที่ 1 ณ ห้องบรรยาย 1 ชั้น 7 ศูนย์การแพทย์ฯ
              สัปดาห์ที่ 2 ณ สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์รายวิชา
               เพื่อ ให้นิสิตสามารถนำความรู้ทางด้านนิติเวชศาสตร์ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมต่อไปได้อย่างมีความรู้ ความสามารถ และมีความมั่นใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                1. การเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน โดยการบรรยายตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ และมีเอกสารประกอบการบรรยาย จำนวน 29.5 ชั่วโมง แบ่งเป็น
                I. นิติพยาธิ (Forensic Pathology)
                          1. ทบทวนวิชานิติเวชศาสตร์ การชันสูตรพลิกศพและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
                               (Review to Forensic Medicine, Medicolegal work and Scene Investigation)
                          2. การระบุบุคล (Practical in Identification)
                          3. การบาดเจ็บจากวัตถุไม่มีคมและการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง (Practical in
                              Blunt force injury and Craniocerebral injury)
                          4. การบาดเจ็บจากวัตถุมีคม (Practical in Sharp force injury)
                          5. การบาดเจ็บจากกระสุนปืนและการบาดเจ็บจากวัตถุระเบิดและวินาศภัย
                              (Firearm injury and Blast  Injury)
                          6. การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร (Transportation injuries)
                          7. การตายจากการขาดอากาศ (Asphyxial death)
                          8. การตายจากสาเหตุทางกายภาพ (Fire, Thermal, Electrocution and Lightning
                               injury)
                          9. กลุ่มการตายอย่างกะทันหันจากโรคทางธรรมชาติ (Sudden Death due to
                              Natural Diseases)
                        10. กลุ่มการตายที่พบในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ (Environmental Death)
                        11. กลุ่มการตายที่เป็นปัญหาในแง่กฎหมายอื่นๆ (Other Topics in Medicolegal
                              death)
                        12. กลุ่มการตายจากการได้รับสารพิษจากพืชและสัตว์มีพิษ (Death from Plants and
                              Animal Toxins)
                        13. การเสียชีวิตในเด็กและทารก (Murder of Infants and Children)
                II. นิติเวชคลินิก อาชญากรรมทางเพศ กฎหมายและจริยธรรมทางการแพทย์
                        14.นิติเวชคลินิก (Clinical Forensic Medicine)
                        15. ความผิดทางเพศ (Practical in Sex Crime)
                        16. กฎหมายเบื้องต้น (Basic Law)
                        17. พ.ร.บ.วิชาชีพ และ จริยธรรมวิชาชีพ (Medical Acts and Ethics)
                III. นิติพิษวิทยา (Forensic Toxicology)
                        18. สารกำจัดศัตรูพืช (Practical in Pesticide)
                        19โลหะหนักและยาที่เกี่ยวข้องทางนิติเวชศาสตร์ (Heavy Metal and Drug related
                             to Forensic Medicine)
                        20. แอลกอฮอล์ (Alcohol)
                        21. ก๊าชพิษและสารระเหย (Toxic gases and Volatile substances)
                        22. ฝิ่นและอนุพันธ์ฝิ่น (Opiated and Opioid)
                        23. สารกลุ่มแอมเฟตามีน และสารเสพติดอื่นๆ (Amphetamine and Other Abused
                               Substances)
                        24. นิติพิษวิทยาประยุกต์ (Practical in Forensic Toxicology)
                2. การศึกษาดูงานเชิงปฏิบัติการ ณ สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อศึกษาดูงานด้านต่างๆ จำนวน 34 ชั่วโมง โดยมีรายละเอียดดังนี้
                         2.1 แนะนำวิชานิติเวชศาสตร์
                         2.2 ศึกษาการชันสูตรศพ
                         2.3 ฝึกปฏิบัติงานชันสูตรศพร่วมกับการทำรายงานกลุ่ม
                         2.4 ฝึกปฏิบัติงานชันสูตรศพร่วมกับการทำรายงานบุคคล
                         2.5 พิษวิทยา
                         2.6 นิติจิตเวช
                         2.7 ชีวเคมี
                         2.8 การปฏิบัติงานพิษวิทยา
                         2.9 การปฏิบัติงานภาพเชิงซ้อนและมานุษยวิทยากายภาพ
                         2.10 การปฏิบัติงานด้านชีวเคมี
                         2.11 ศึกษาดูงานศาลอาญากรุงเทพใต้
                         2.12 ศึกษาดูงาน กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                         2.13 การสัมมนากลุ่มย่อยเรื่องการเขียนรายงานชันสูตร
                         2.14 การอภิปรายกรณีศพที่น่าสนใจทางนิติเวช
                3. การ ฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้ร่วมกับอาจารย์แพทย์เวรประจำวัน ในการตรวจชันสูตรบาดแผลผู้ป่วยคดี ผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการตรวจชันสูตรพลิกศพ ณ ที่ที่พบศพ ตลอดระยะเวลาทั้งสิ้น 2 สัปดาห์ ที่มีการเรียนการสอน
การประเมินผลการเรียนรู้
                1. ประเมิน ผลจากพฤติกรรมการระหว่างตลอดระยะเวลาที่มีการเรียนการสอน ได้แก่ การเซ็นชื่อเข้าเรียน ความตรงต่อเวลา พฤติกรรมระหว่างการเรียนการสอน และการให้ความร่วมมือในการประเมินการเรียนการสอน
                2.โดยการสังเกตการณ์ของคณาจารย์ เกี่ยวกับความสนใจในการเรียนการสอนและการทำหัตถการ
                3. ประเมินผลการเรียนรู้ โดยอาศัยการวัดผลผ่านข้อสอบชนิดต่างๆ
                                3.2.1 ข้อสอบปรนัย (MCQ)
                                3.2.2 ข้อสอบอัตนัย (Short Answer)
3.3.3 ข้อสอบอัตนัย ตอบคำถามโดยวิเคราะห์จากภาพถ่าย (Spot Diagnosis)
                4. คะแนนจากการทำรายงานกลุ่มและรายงานบุคคล
                5. ตัดสินผลการสอบโดยอิงเกณฑ์ตามมาตรฐาน โดยให้เกรด แบบ A  B+  B  C+  C และ I

ชื่อหน่วยงาน

        ภาควิชานิติเวชศาสตร์,  คณะแพทยศาสตร์

Department of Forensic Medicine,  Faculty of Medicine 

ประวัติความเป็นมา ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว

            มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทำข้อตกลงร่วมกับกรมตำรวจ ในโครงการผลิตแพทย์ของมหาวิทยาลัย      ศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2529 โดยเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2530 ทั้งนี้ กรมตำรวจได้มอบหมายให้โรงพยาบาลตำรวจและสถาบันนิติเวชวิทยา ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแก่นิสิตแพทย์ โดยได้จัดตั้งภาควิชานิติเวชศาสตร์ ณ อาคารสัจธรรมชั้น 5 สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ บุคลากรส่วนใหญ่เป็นข้าราชการตำรวจ ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยาดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 รายวิชา FM 401 (นิติเวชศาสตร์) โดยอาจารย์พิเศษเดินทางจากสถาบันนิติเวชวิทยามาสอนที่วชิรภาพ และต่อมาย้ายมาสอนที่ศูนย์การแพทย์ฯ 1 สัปดาห์ และชั้นปีที่ 5 รายวิชา FM 521 (นิติเวชศาสตร์ปฏิบัติการทางคลินิก) สอนที่สถาบันนิติเวชวิทยา 2 สัปดาห์ 

         วันที่ 13 ก.ค. 2549 อาจารย์ประจำได้กลับมาปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์ฯ 2 ท่าน คือ อ.พญ.วรัทพร  สิทธิจรูญ และ อ.พญ.ศิรินทร์ บุษยามานนท์ ได้จัดตั้งสำนักงานภาควิชาขึ้นที่ภาควิชาพยาธิวิทยา ศูนย์การแพทย์ฯ ชั้น 3 และชั้นใต้ดิน โดยความอนุเคราะห์ของหัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา (รศ.ดร.รัชนี อัศวรุ่งนิรันดร์) ผศ.พญ.นันทนา ชุมช่วย อ.นพ.สมดี รัตนวิบูลย์ และ รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล ให้ใช้ห้องธุรการพยาธิเป็นสำนักงานภาควิชา รวมทั้งอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ห้องทำงาน โต๊ะทำงาน เตียงผ่าศพ และเครื่องมือผ่าศพ นอกจากนี้ อ.พญ.นันทนาฯ ยังเป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้งโครงการบริการทางนิติเวชศาสตร์ทั้ง 3 โครงการ คือ โครงการบริการตรวจผู้ป่วยคดี โครงการบริการการตรวจชันสูตรพลิกศพ และโครงการบริการการผ่าชันสูตรศพ 

จากการปรึกษาหารือกับหัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสต์ ซึ่งในขณะนั้นคือ พล.ต.ต.ณรงค์ศักดิ์ เสาวคนธ์ ผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยา เรื่องแผนการปฏิบัติงานของภาควิชา สรุปว่า การทำงานของอาจารย์ประจำที่ศูนย์การแพทย์ฯ 2 ปีแรก (2549-2550) จะเป็นการให้บริการการตรวจผู้ป่วยคดีที่ศูนย์การแพทย์ฯ และต้องส่งผู้ช่วยแพทย์นิติเวชไปศึกษาดูงานการผ่าศพ ที่สถาบันนิติเวชวิทยาเป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ จึงจะสามารถให้บริการผ่าชันสูตรศพได้ สำหรับการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 4 อาจารย์พิเศษจะยังดำเนินการสอนนิสิตแพทย์ที่ศูนย์การแพทย์ฯ และในชั้นปีที่ 5 อาจารย์พิเศษดำเนินการสอนที่สถาบันนิติเวชวิทยา จนกระทั่งมีมติการประชุมดำเนินงานศูนย์การแพทย์ฯ อนุมัติให้ดำเนินการตามโครงการที่ภาควิชาที่เสนอ 3 โครงการดังกล่าว ภาควิชาจึงเปิดรับธุรการภาค 1 ตำแหน่ง และผู้ช่วยแพทย์นิติเวช 2 ตำแหน่ง เป็นพนักงานรายวัน การปฏิบัติงานของภาควิชาในเบื้องต้นเป็นไปอย่างทุลักทุเล เต็มไปด้วยปัญหาที่ต้องแก้ไขในแต่ละวัน ท่านคณบดีในสมัยนั้น รศ.นพ.อรุณวงศ์ เทพชาตรี และ รศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ฯ คณะผู้บริหารและคณาจารย์ ได้ให้โอกาส คำแนะนำ และกำลังใจในการพัฒนาภาควิชา รวมทั้งความช่วยเหลือจากเลขานุการคณะ คุณนัทรี แสงทองกมล และ หัวหน้าสำนักอำนวยการ คุณชัชวาล พรธาดาวิทย์ เป็นอย่างดีเสมอมา

            เดือนกรกฎาคม 2549 ภาควิชาถูกย้ายไปที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินด้านหลัง ประกอบด้วย ห้องตรวจผู้ป่วยคดีและสำนักงานภาควิชา อย่างละ 1 ห้อง โดยเริ่มเปิดให้บริการตรวจผู้ป่วยคดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2549 ให้บริการตรวจผู้ป่วยคดี และตรวจชันสูตรพลิกศพ ณ สถานที่ที่พบศพ ทุกวันราชการ มีการอยู่เวรนอกเวลาราชการจนถึงเวลา 24.00 น. ของทุกวัน มีเขตรับผิดชอบหลัก 3 ตำบล ของอำเภอองครักษ์ มีการออกตรวจชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรองครักษ์ ซึ่งดำเนินการได้เป็นอย่างดี ต่อมาผู้ช่วยแพทย์นิติเวชกลับจากการศึกษาดูงานที่สถาบันนิติเวชวิทยา ภาควิชาจึงได้เริ่มเปิดให้บริการผ่าชันสูตรศพในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 และสามารถขยายงานบริการจนเป็นที่ยอมรับของชุมชน ต่อมาได้ย้ายสำนักงานภาควิชาไปยังห้องยานอกเวลา ที่อยู่ตรงข้ามกับแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยเป็นห้องตรวจผู้ป่วยคดี และสำนักงานภาควิชา นอกจากนี้ อาจารย์ประจำยังมีภาระงานด้านการบริการวิชาการ โดยร่วมสอนในหลักสูตรของภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาเรื่องการตรวจผู้ถูกละเมิดทางเพศเป็นหลัก เป็นวิทยากรสอนบรรยายตามคำเชิญจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และร่วมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทานของคณะแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัย

         เดือนกรกฎาคม 2550 มีอาจารย์ประจำกลับมาปฏิบัติหน้าที่เพิ่มอีก 2 ท่าน ได้แก่ อ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี และ อ.นพ.ปิยะ ดุรงคเดช ภาควิชาได้ขยายงานบริการการตรวจผู้ป่วยคดี และการตรวจชันสูตรพลิกศพ โดยแพทย์นิติเวชสามารถปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถขยายพื้นที่การตรวจชันสูตรพลิกศพ และผ่าชันสูตรศพเพิ่มขึ้น ในด้านการเรียนการสอน ภาควิชาสามารถจัดการเรียนการสอนชั้นปีที่ 4 รายวิชา นว 401 (FM 401) ที่ศูนย์การแพทย์ฯ โดยเริ่มในปีการศึกษา 2550 (มกราคม 2551) จนถึงปัจจุบัน สำหรับการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 5 ยังสอนที่สถาบันนิติเวชวิทยาเช่นเดิม โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้ควบคุมดูแล ในเวลานั้น มีอาจารย์ประจำ 1 ท่าน คือ อ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี ลาศึกษาต่อหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอณูวิทยา ณ คณะแพทยศาสตร์ มศว เป็นเวลา 1 ปี

         ปีการศึกษา 2552 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ หัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ รองหัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ และอาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน เรื่องการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 รายวิชา นว 521 (FM 521) เพื่อปรับเปลี่ยนการการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเกณฑ์ภาระงานอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย สรุปผลการประชุม ให้มีการเรียนการสอนภาคทฤษฎีที่ศูนย์การแพทย์ฯ โดยอาจารย์ประจำ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นเวลา 1 สัปดาห์เดือนกรกฎาคม 2552 มีอาจารย์ประจำกลับมาปฏิบัติงานเพิ่มอีก 1 ท่าน คือ อ.นพ.อภิชัย แผลงศร ภาควิชาได้จัดการเรียนการสอนปีที่ 4 และปีที่ 5 ภาคทฤษฎี ที่ศูนย์การแพทย์ฯ อย่างสมบูรณ์โดยเริ่มในปีการศึกษา 2552 รอบที่ 2 เป็นต้นมาเดือนธันวาคม 2554 นายแพทย์ปิยะ ดุรงคเดช ได้ลาออกจากการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเมื่อวันที่  5 มีนาคม 2555 มีอาจารย์มาบรรจุเพิ่ม 1 ท่าน คือ นายแพทย์วาทิตต์  รุจิราวรรณ  รวมมีแพทย์นิติเวชปฏิบัติงานจำนวน 5 คน

        ปัจจุบัน ภาควิชานิติเวชศาสตร์มีอาจารย์ประจำ จำนวน 5 ท่าน ได้จัดการเรียนการสอนรายวิชา นว 401 จำนวน 1 หน่วยกิต จัดขึ้นที่ศูนย์การแพทย์ฯ โดยอาจารย์ประจำ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และ รายวิชา นว 521 จำนวน 2 หน่วยกิต จัดที่ศูนย์การแพทย์ฯ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และสถาบันนิติเวช โดยอาจารย์พิเศษ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ในปีการศึกษา 2556มีอาจารย์นิติเวชมาร่วมสอน สังกัดศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ โรงพยาบาลชลประทาน คือ นพ.ยุตติ อมรเลิศวัฒนา ในรายวิชา นว 401 และ รายวิชา นว 521 ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 แพทย์หญิงวรัทพร สิทธิจรูญ หัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ ได้ครบวาระดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาค  ภาควิชาจึงได้ประชุมและเสนอชื่อ แพทย์หญิงศิรินทร์ บุษยามานนท์ เป็นหัวหน้าภาคคนปัจจุบัน โดยได้รับการแต่งตั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557


รายชื่อหัวหน้าภาควิชาในอดีตถึงปัจจุบันดังนี้    
                                            

1. พล.ต.ต.นพ.ไพฑูรย์ หลิมรัตน์ พ.ศ. 2529 – 2531

2. พล.ต.ท.นพ.ประเวศ คุ้มภัย พ.ศ. 2531 – 2533

3. พล.ต.ต.นพ.ทัศนะ       สุวรรณจูฑะ พ.ศ. 2533 – 2538

4. พล.ต.ต.นพ.วิชิต     สมาธิวัฒน์ พ.ศ. 2538 – 2546

5. พล.ต.ท.นพ.เลี้ยง หุยประเสริฐ พ.ศ. 2546 – 2548

6. พล.ต.ต.ณรงค์ศักดิ์     เสาวคนธ์ พ.ศ. 2548 – 2552

7. ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล พ.ศ. 2552 – 2553 (รักษาราชการแทน)

8. แพทย์หญิงวรัทพร สิทธิจรูญ พ.ศ. 2553 – 2557

9. แพทย์หญิงศิรินทร์ บุษยามานนท์ พ.ศ. 2557 – วันที่ 17 พ.ย.2558

10. นพ.อภิชัย แผลงศร 
วันที่ 17 พ.ย. 2558- ปัจจุบัน

 

 

Page 3 of 3