ผลการศึกษาและการอภิปรายผลจากการศึกษาพบว่าวัยรุ่นชายที่สูบบุหรี่มีบุคลิกลักษณะ ดังนี้
- ไม่ชอบเผชิญกับความจริงและมีแนวโน้มที่จะแยกตัวชอบคิดเพ้อฝัน (SC ค่า T = 73)
- มีภาวะซึมเศร้า ไม่พึงพอใจในชีวิตของตนเอง มองโลกแง่ร้าย ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง และมีความกังวลเกี่ยวกับอาการทางร่างกาย (D และ HS ค่า T = 70)
จากการสำรวจสุขภาพจิตของกลุ่มวัยรุ่นชายที่สูบบุหรี่ด้วยแบบคัดกรองสุขภาพจิตThaiGHQ 28 พบว่า
- ร้อยละ37.5 มีอาการซึมเศร้า
- ร้อยละ 49.17 มีอาการวิตกกังวลและนอนไม่หลับ
- ร้อยละ 10.83 มีอาการทางกาย
- ร้อยละ 2.5 มีความบกพร่องทางสังคม
อายุที่เริ่มสูบบุหรี่
ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 13-15 ปี คิดเป็นร้อยละ55.83
ปัจจัยที่ทำให้เริ่มสูบบุหรี่
- ส่วนใหญ่ถูกเพื่อนชักชวนให้เริ่มสูบบุหรี่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.33
- รองลงมาคือ คนในครอบครัวสูบ คิดเป็นร้อยละ 19.17
- อยากลองด้วยตัวเองคิดเป็นร้อยละ 12.5
การเลิกบุหรี่
- ส่วนใหญ่มีความพยายามในการเลิกสูบบุหรี่แต่ไม่สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 80.83
- ร้อยละ 19.17 ไม่เคยพยายามเลิกสูบบุหรี่
สรุปผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านจิตใจและบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่นชายได้แก่ อาการซึมเศร้า มีความเครียดและความวิตกกังวล มองโลกแง่ร้าย ไม่กล้าเผชิญกับความจริงแยกตัวและมีความคิดเพ้อฝัน โดยช่วงวัยที่เริ่มสูบบุหรี่มากที่สุดคือช่วงอายุ 13 ถึง 15 ปี รองลงมาคือ 16 ถึง 18 ปี ซึ่งปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นให้กลุ่มวัยรุ่นชายเริ่มสูบบุหรี่ คือ ถูกเพื่อนชักชวนและมีคนในครอบครัวสูบ สำหรับความพยายามในการเลิกสูบบุหรี่นั้นพบว่าส่วนใหญ่เคยพยายามเลิกสูบบุหรี่แต่ไม่สำเร็จ
12/19 2012
งานวิจัย เรื่องปัจจัยด้านจิตใจและลักษณะบุคลิกภาพของวัยรุ่นชายที่สูบบุหรี่
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Read 2037 times
admin
Administrator
Latest from admin
- ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เปิดรับสมัครแพทย์ใช้ทุน สาขาจิตเวชศาสตร์ ประจำปี 2568
- ช่วงติดโควิด-19 ทำอะไรดีนะ
- พญ.ศันสนีย์ นิซู หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์
- พญ.ศันสนีย์ นิซู รองหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ และหัวหน้าโครงการ จัดโครงการสู่ความเป็นเลิศด้านการดูแลเด็กสมาธิสั้น “สมาธิสั้น ฉันรับมือได้” ครั้งที่ 2
- โครงการสู่ความเป็นเลิศด้านการดูแลเด็กสมาธิสั้น