Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel
admin

admin

Administrator

ตั้งแต่บัดนี้ถึง 3 ตุลาคม 2567 กำหนดสอบสัมภาษณ์ วันที่ 4 ตุลาคม 2567 เวลา 09.30-15.00 น.

หัวข้อ Pediatric Emergency Preparedness : Saving Little Lives (on-site & online ผ่านระบบ Zoom และ App Docquity) เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีความตระหนักในการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการ มีการเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ติดตามวิทยาการก้าวหน้า และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย สามารถลดข้อขัดแย้งที่เกิดจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ พร้อมทั้งเผยแพร่ แลกเปลี่ยน และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านกุมารเวชกรรม รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการแพทย์ และทางด้านวิชาการทั้งทุติยภูมิ และปฐมภูมิ ณ ห้องประชุม Convention ชั้น 3 อาคารคณะแพทยศาสตร์ มศว องครักษ์ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566  

404292445 778151584118251 3342912739418092197 n
404284185 778151604118249 3196453312354094924 n
404299409 778151544118255 8102583008334670984 n
404711594 778152087451534 6872481473582895552 n
404625892 778152680784808 2062041486440678864 n

เพื่อสื่อสาร รับฟังข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์ ณ ห้องประชุมภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ชั้น 7 อาคารคณะแพทยศาสตร์ มศว องครักษ์ วันที่ 15 สิงหาคม 2566

366726650 726867142580029 1220451754905032593 n 367445524 726867455913331 5340519450964711618 n
366679995 726867122580031 3662512626250629846 n 366699407 726867095913367 3518143352039944702 n
367436101 726867429246667 7000725724265488310 n 367471764 726867542579989 8423264920165756800 n

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ได้กำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหารายวิชาให้สอดคล้องตามหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ และเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภา ดังนี้

รายวิชา จว 301 (PC 301) 2 (2-0)                                                                                           
             - ต้องมีความรู้เกี่ยวกับพยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค/ ภาวะ / กลุ่มอาการทางจิตเวชที่พบบ่อยและ / หรือมีความสำคัญในประเทศไทยที่มักเป็นสาเหตุของอาการสำคัญหรือปัญหาที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์

รายวิชา จว 501 (PC 501) 2 (2-0)

              - ต้อง มีความรู้ สามารถให้การวินิจฉัย วินิจฉัยแยกโรค / ภาวะ / กลุ่มอาการทางจิตเวชที่พบบ่อยและ / หรือมีความสำคัญในประเทศไทยที่มักเป็นสาเหตุของอาการสำคัญหรือปัญหาที่นำผู้ ป่วยมาพบแพทย์ รักษา ฟื้นฟูสภาพ ให้คำแนะนำและป้องกันได้เหมาะสมและทันท่วงที ตามสถานการณ์และสถานภาพ
              - ต้องรู้ข้อบ่งชี้ของการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษและการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางจิตเวช

รายวิชา จว 511 (PC 511) 2 (0-2)
             - ฝึกตรวจวินิจฉัย วินิจฉัยแยกโรค ผู้ป่วยจิตเวชในกลุ่มที่พบได้บ่อย ๆ และสามารถให้การรักษาเบื้องต้น ฟื้นฟูสภาพ ให้คำแนะนำและป้องกันได้เหมาะสมและทันท่วงทีตามสถานการณ์และสถานภาพ

 

ประวัติภาควิชากุมารเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์  มศว

 

          จากประกาศของทบวงมหาวิทยาลัย วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2528  เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ           ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ฉบับที่ 8 พ.ศ.2528 และลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2528 ซึ่งประกอบด้วย 17 ภาควิชา  และถือว่าเป็นวันเกิดภาควิชากุมารเวชศาสตร์  โดยมีแพทย์หญิง-           เพ็ญศรี  ภังคานนท์ เป็นหัวหน้าภาควิชาคนแรก  และเช่นเดียวกับภาควิชาทางคลินิกอื่นๆ  ใช้สถานที่ ที่วชิรพยาบาล(ชื่อในสมัยนั้น) เป็นฐานการเรียนการสอนโดยมีหน่วยกิตรวม 18 หน่วยกิต การเรียนการสอนเป็นแบบ Competency – based  เมื่อมีโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช-กุมารี ในปีพ.ศ.2541 จึงได้เริ่มย้ายฐานการเรียนการสอนของภาควิชาฯ มาในปีพ.ศ.2543  เมื่อมีผู้ป่วยเข้ารับ   การรักษาในโรงพยาบาล จนถึง พ.ศ.2546 นิสิตแพทย์เวชปฏิบัติภาควิชากุมารเวชศาสตร์ชั้นปีที่ 6 ทั้งหมดได้มาเรียนได้ที่ศูนย์การแพทย์ฯ  โดยหมุนเวียนขึ้นปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลตำรวจ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลรวม 6 เดือน การเรียนการสอนได้พัฒนาการปรับปรุงมาโดยตลอด  จนในปีพ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์  ได้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ PBL โดยเริ่มขึ้นที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์เป็นภาคแรก 

          นอกจากเนื้อหาวิชาการแล้ว ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ยังมีการเรียนการสอนเน้นจริยธรรมและเจตคติ ทางการแพทย์ร่วมด้วย และได้ดำเนินการบริหารการเรียนการสอนผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทางกุมารเวชศาสตร์ (ดูการประเมินผลบัณฑิตแพทย์ และกระบวนการผลิตบัณฑิตแพทย์) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์   มีการประชุมปรับปรุงหลักสูตร การเรียนการสอนและการวัดประเมินผลให้ทันสมัยสอดคล้องกับเกณฑ์แพทยสภา สมศ.และ ก.พ.ร. เป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ในภาพรวมแล้วภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ได้พัฒนาและปรับปรุงด้านการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัยและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตลอดเวลา ผ่านมา 29 ปี จากนิสิตแพทย์รุ่นแรก 40 คน จนปัจจุบันมีนิสิตแพทย์ทั้งหมด 180 คนต่อชั้นปี (โดยนิสิตแพทย์ 60 คนเรียนที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประธาน) มีความก้าวหน้ามาโดยตลอด แม้จะมีอุปสรรค์มากมาย ในฐานะหัวหน้าภาคฯ รู้และเข้าใจว่าคณาจารย์ภาควิชาฯได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อลูกศิษย์ที่จะจบเป็นแพทย์ที่ดีมีคุณธรรมและมีความรู้ทางด้านกุมารเวชศาสตร์ที่จะออกไปรับใช้สังคม ดั่งปณิธานตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มศว ในด้านบุคลากรอาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ เริ่มแรกมีอาจารย์เพียง 1 ท่าน ส่วนที่เหลือเป็นอาจารย์พิเศษ จนถึงปัจจุบันมีจำนวนอาจารย์รวมทั้งสิ้น 21 ท่าน และภาควิชาสนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์ศึกษาต่อยอดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านคุณภาพการศึกษา จากการประเมินโดยผู้ประเมินภายในและภายนอกอยู่ในเกณฑ์ดีมากทุกปี ทำให้มั่นใจได้ว่ามาตรฐานการเรียนการสอน การบริการทางวิชาการและการวิจัย มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของสังคม

 

รายนามหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ดังต่อไปนี้

 

1.   พญ.เพ็ญศรี                ภังคานนท์       พ.ศ.2528 2532

2.   พญ.สุพรรณี                วีรุตมเสน        พ.ศ.2532 2540

3.   รศ.พญ.เกศรา              อัศดามงคล      พ.ศ.2540 2545

4.   ว่าที่ร้อยเอก นพ.วิศิษฐ์    ตู้จินตา           พ.ศ.2545 2548

5.   ผศ.พญ.จันทนา            พันธ์บูรณะ       พ.ศ.2548 2552

6.   รศ.นพ.ไพโรจน์             จงบัญญัติเจริญ  พ.ศ.2553 – 2560

7.   ผศ.นพ.สรวุฒิ               พงศ์โรจน์เผ่า    พ.ศ.2561 – ปัจจุบัน