Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel

โครงการสัมนาภาคเพื่อปรับปรุงแผนกลยุทธ์ประจำปีของภาควิชาพยาธิวิทยา ประจำปี 2567 

วันที่ 8 มีนาคม 2567 ห้องประชุมภาควิชาพยาธิวิทยา ชั้น 3 ศูนย์การแพทย์ฯ องครักษ์

วันที่ 9-10 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมเลอมอนเต้ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

simenar67

ภาควิชาพยาธิวิทยาและห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มศว 

จัดพิธีทำบุญถวายภัตตราหารเพลพระสงฆ์ จำนวน 9 รูป  เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2567 

 

Slide1 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

cover1-3

เชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19 มีชื่อทางการว่าอะไร?

  • เชื้อไวรัส Severe Acute Respiratory Syndrome-Coronavirus-2 (SARS-CoV-2) เป็นเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยมีชื่อโรคติดเชื้อชนิดนี้ว่า Coronavirus disease 2019 (COVID-19)

การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 คืออะไร

  • การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองหลังการฉีดวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อก่อโรค COVID-19 (เชื้อ SARS-CoV-2)

การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองหลังการฉีดวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อก่อโรค COVID-19 มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีความสำคัญอย่างไร?

  • การตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองหลังการฉีดวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อก่อโรค COVID-19 แบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้

           1. Antibody against spike protein of SARS-CoV-2 การวัดระดับภูมิตอบสนอง (Antibody) ต่อส่วน Spike protein ของเชื้อ SARS-CoV2 เป็นการวัดระดับภูมิตอบสนองโดยรวมที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากได้รับวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อ การวัดระดับภูมิตอบสนองชนิดนี้ เปรียบได้กับการวัดจำนวนนายทหารทั้งหมด ซึ่งอาจมีทั้งนายทหารที่ชำนาญ และไม่ชำนาญการรบต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งจะเป็นการตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองโดยรวมซึ่งอาจจะมีทั้งชนิด Non-Neutralizing(ภูมิตอบสนองที่ไม่สามารถยับยั้ง หรือป้องกันเชื้อไวรัสได้) และชนิด Neutralizing Antibody (การวัดระดับภูมิตอบสนองชนิดที่สามารถยับยั้งหรือป้องกันเชื้อไวรัสได้) ดังนั้นจึงมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถแยกได้ว่ามีส่วนของระดับภูมิตอบสนองชนิดที่สามารถยับยั้งหรือป้องกันเชื้อไวรัสได้ ในสัดส่วนเท่าใด

          2. Neutralizing Antibody การวัดระดับภูมิตอบสนอง (Antibody) แบบจำเพาะต่อชนิดที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง หรือป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายเท่านั้น โดยภูมิตอบสนองชนิดนี้ เชื่อว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ การวัดระดับภูมิตอบสนองชนิดนี้จึงเปรียบได้กับการวัดจำนวนนายทหารที่ชำนาญการรบต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 นั่นเอง

การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองชนิด Neutralizing Antibody เพื่ออะไร

  • ผู้ฉีดวัคซีน หรือผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อก่อโรค COVID-19จะมีการสร้างภูมิตอบสนองต่อส่วน Spike protein ซึ่งอาจมีหรือไม่มีภูมิตอบสนองชนิดที่สามารถยับยั้ง หรือป้องกันเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกาย (Neutralizing Antibody) ดังนั้นการตรวจหาภูมิตอบสนองชนิด Neutralizing Antibody จะสามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของภูมิตอบสนองที่สามารถยับบั้งและป้องกันไวรัสก่อโรค COVID-19นั่นเอง

การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือเชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19 เหมาะสำหรับใคร

  • ผู้ที่ต้องการทราบระดับภูมิตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนหรือหลังติดเชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19
  • การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยว่ากำลังติดเชื้ออยู่หรือไม่

ควรตรวจช่วงเวลาไหน

  • ควรเจาะเลือดตรวจหาภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีนครบตามที่กำหนด 14-28 วัน (ขึ้นกับชนิดวัคซีนที่ฉีด) แต่ไม่ควรนานเกิน 3 เดือน  

กรณีตรวจภูมิตอบสนองให้ผลบวก (Positive) ต้องใส่หน้ากากอนามัยต่อหรือไม่

  • การตรวจพบภูมิตอบสนองไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสในการติดเชื้อ หรือถ้าหากติดแล้วจะไม่แพร่เชื้อให้บุคคลอื่น ดังนั้นยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

กรณีตรวจภูมิตอบสนองให้ผลลบ (Negative) หลังฉีดวัคซีนครบตามที่กำหนดเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

      ผลการตรวจไม่พบภูมิตอบสนอง หลังจากได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • เก็บตัวอย่างส่งตรวจก่อนการสร้างภูมิตอบสนอง
  • เป็นผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  • ชนิดของวัคซีน และภาวะการตอบสนองของร่างกายในแต่ละบุคคล

ภาพและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

cover2     cover3

 

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสาร PDF

ได้ที่นี่  >>> CLICK HERE <<<

 

ทนพญ.พรพรรณ โรจนแสง

 

นักเทคนิคการแพทย์

ภาควิชาพยาธิวิทยาและห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มศว 

นายแพทย์เทอดเกียรติ ตรงวงศา หัวหน้าห้องปฏิบัติการธนาคารเลือด

งานพัฒนาคุณภาพ รพ. ศูนย์การแพทย์ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว

เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดงานแฟนซีปีใหม่ SWU Around The World 2019

ดร.สุภาพร วิวัฒนากุล หัวหน้าห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา เป็นประธานเปิดการอบรมเรื่อง

นพ.ลิขิต  รังสิรัตนกุล  หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มศว

Page 2 of 4