Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel

การตรวจระดับภูมิตอบสนองหลังการฉัดวัคซีนหรือการติดเชื้อ COVID-19 โดย ทนพญ.พรพรรณ โรจนแสง (นักเทคนิคการแพทย์)

Vote it
(0 votes)
Posted by  in: ประชาสัมพันธ์

cover1-3

เชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19 มีชื่อทางการว่าอะไร?

  • เชื้อไวรัส Severe Acute Respiratory Syndrome-Coronavirus-2 (SARS-CoV-2) เป็นเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยมีชื่อโรคติดเชื้อชนิดนี้ว่า Coronavirus disease 2019 (COVID-19)

การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 คืออะไร

  • การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองหลังการฉีดวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อก่อโรค COVID-19 (เชื้อ SARS-CoV-2)

การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองหลังการฉีดวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อก่อโรค COVID-19 มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีความสำคัญอย่างไร?

  • การตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองหลังการฉีดวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อก่อโรค COVID-19 แบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้

           1. Antibody against spike protein of SARS-CoV-2 การวัดระดับภูมิตอบสนอง (Antibody) ต่อส่วน Spike protein ของเชื้อ SARS-CoV2 เป็นการวัดระดับภูมิตอบสนองโดยรวมที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากได้รับวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อ การวัดระดับภูมิตอบสนองชนิดนี้ เปรียบได้กับการวัดจำนวนนายทหารทั้งหมด ซึ่งอาจมีทั้งนายทหารที่ชำนาญ และไม่ชำนาญการรบต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งจะเป็นการตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองโดยรวมซึ่งอาจจะมีทั้งชนิด Non-Neutralizing(ภูมิตอบสนองที่ไม่สามารถยับยั้ง หรือป้องกันเชื้อไวรัสได้) และชนิด Neutralizing Antibody (การวัดระดับภูมิตอบสนองชนิดที่สามารถยับยั้งหรือป้องกันเชื้อไวรัสได้) ดังนั้นจึงมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถแยกได้ว่ามีส่วนของระดับภูมิตอบสนองชนิดที่สามารถยับยั้งหรือป้องกันเชื้อไวรัสได้ ในสัดส่วนเท่าใด

          2. Neutralizing Antibody การวัดระดับภูมิตอบสนอง (Antibody) แบบจำเพาะต่อชนิดที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง หรือป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายเท่านั้น โดยภูมิตอบสนองชนิดนี้ เชื่อว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ การวัดระดับภูมิตอบสนองชนิดนี้จึงเปรียบได้กับการวัดจำนวนนายทหารที่ชำนาญการรบต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 นั่นเอง

การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองชนิด Neutralizing Antibody เพื่ออะไร

  • ผู้ฉีดวัคซีน หรือผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อก่อโรค COVID-19จะมีการสร้างภูมิตอบสนองต่อส่วน Spike protein ซึ่งอาจมีหรือไม่มีภูมิตอบสนองชนิดที่สามารถยับยั้ง หรือป้องกันเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกาย (Neutralizing Antibody) ดังนั้นการตรวจหาภูมิตอบสนองชนิด Neutralizing Antibody จะสามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของภูมิตอบสนองที่สามารถยับบั้งและป้องกันไวรัสก่อโรค COVID-19นั่นเอง

การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือเชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19 เหมาะสำหรับใคร

  • ผู้ที่ต้องการทราบระดับภูมิตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนหรือหลังติดเชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19
  • การตรวจหาระดับภูมิตอบสนองนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยว่ากำลังติดเชื้ออยู่หรือไม่

ควรตรวจช่วงเวลาไหน

  • ควรเจาะเลือดตรวจหาภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีนครบตามที่กำหนด 14-28 วัน (ขึ้นกับชนิดวัคซีนที่ฉีด) แต่ไม่ควรนานเกิน 3 เดือน  

กรณีตรวจภูมิตอบสนองให้ผลบวก (Positive) ต้องใส่หน้ากากอนามัยต่อหรือไม่

  • การตรวจพบภูมิตอบสนองไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสในการติดเชื้อ หรือถ้าหากติดแล้วจะไม่แพร่เชื้อให้บุคคลอื่น ดังนั้นยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

กรณีตรวจภูมิตอบสนองให้ผลลบ (Negative) หลังฉีดวัคซีนครบตามที่กำหนดเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

      ผลการตรวจไม่พบภูมิตอบสนอง หลังจากได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • เก็บตัวอย่างส่งตรวจก่อนการสร้างภูมิตอบสนอง
  • เป็นผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  • ชนิดของวัคซีน และภาวะการตอบสนองของร่างกายในแต่ละบุคคล

ภาพและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

cover2     cover3

 

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสาร PDF

ได้ที่นี่  >>> CLICK HERE <<<

 

ทนพญ.พรพรรณ โรจนแสง

 

นักเทคนิคการแพทย์

Last modified on Wednesday, 09 March 2022 07:31