เพื่อเป็นการแนะนำสอนให้ผู้ปฏิบัติงานเวชกรรมฟื้นฟู ได้ทราบถึงหลักการและ วิธีปฏิบัติทางการใช้เครื่องทางกายภาพบำบัด ทราบถึงโรค อาการของโรคต่างๆในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด จัดขึ้นที่แผนกกายภาพบำบัด ชั้น ๕ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯเมื่อช่วงวันที่ ๘-๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เป็นโครงการวิชาการที่จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ในการป้องกันพลัดตกหกล้มและด้านอื่น ๆในผู้สูงอายุ โดยมีผศ.พญ.กรรณิการ์ วงศ์ภาวิทย์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ฯ ฝ่ายการแพทย์ เป็นประธานเปิดโครงการวันกายภาพบำบัดแห่งชาติ ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัดและนักโภชนาการ เป็นผู้บรรยายและร่วมเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับ การดูแลตัวเองของผู้สูงอายุ เรื่อง การรับประทานอาหารและยาให้ถูกต้อง การออกกำลังกาย และวิธีป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ณ ห้องโถงเฉลิมพระเกียรติ ชั้น G อาคารศูนย์การแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2566
ซ้อมแผนปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยมีภาวะฉุกเฉิน/ฉุกเฉินวิกฤต ในขณะรับบริการกายภาพบำบัด เพื่อใช้เป็นแนวทางเพื่อให้บุคลากรทุกคนในแผนกกายภาพบำบัดปฏิบัติกรณีที่เกิดอุบัติการณ์ผู้ป่วยเกิดภาวะฉุกเฉินหรือผู้ป่วยมีภาวะฉุกเฉินวิกฤต สัญญาณชีพไม่คงที่จำเป็นต้องได้รับปฏิบัติการทางการแพทย์ทันที เช่น การช่วยกู้ชีพ ให้บุคลากรในแผนกกายภาพบำบัดสามารถปฐมพยาบาลและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยมีนพ.ปวรุศม์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา แพทย์ประจำแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด ผู้ปฏิบัติงานเวชกรรมฟื้นฟูและทีมพนักงานบริการ ได้จัดซ้อมแผนฉุกเฉิน/ฉุกเฉินวิกฤต ในขณะรับบริการกายภาพบำบัด จัดขึ้นที่แผนกกายภาพบำบัด ชั้น 5 ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2565 เวลา 14.00 น. - 16.00 น.
1) นักกายภาพบำบัดเจ้าของเคสต้องเข้าประเมินอาการและสัญญาณชีพผู้ป่วยในทันที โดยมีผู้ปฏิบัติงาน เวชกรรมฟื้นฟูประจำห้องออกกำลังกายช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว ถังและอุปกรณ์ให้ออกซิเจน
2) นักกายภาพบำบัดเจ้าของเคสประกาศ code EMR แจ้งผู้ปฏิบัติงานเวชกรรมฟื้นฟูประจำเคาน์เตอร์ห้องไฟฟ้าบำบัดให้แจ้งนักกายภาพบำบัดของห้องไฟฟ้าบำบัดด้วย code EMER และกด 12345 โทรศัพท์แจ้งงานประชาสัมพันธ์เพื่อประกาศ code CPR จากนั้นให้ช่วยนักกายภาพบำบัดที่เหลือของห้องไฟฟ้าบำบัดดูแลผู้ป่วย ที่เหลือภายในห้อง
3) นักกายภาพบำบัดห้องออกกำลังกาย 1 คน มาจุดเกิดเหตุ ช่วยปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้น เช่น คลายเสื้อผ้า ให้ออกซิเจน ทำการ CPR เป็นต้น และต้องตรวจเช็คสัญญาณชีพของผู้ป่วยต่อเนื่อง โดยมีผู้ปฏิบัติงานเวชกรรมฟื้นฟูประจำห้องออกกำลังกายเป็นผู้ช่วยเหลือ
4) นักกายภาพบำบัดของห้องไฟฟ้าบำบัด 2 คน มายังห้องออกกำลังกายโดย 1 คนเพื่อเข้าสังเกตการณ์ จดบันทึกเวลาและรายละเอียด ณ จุดเกิดเหตุ และนักกายภาพบำบัดอีก 1 คน ช่วยดูแลผู้ป่วยรายอื่นในห้องออกกำลังกายให้อยู่ในความเรียบร้อย หรืออาจตามให้ญาติเข้าช่วยดูแลผู้ป่วยในห้องให้มีความปลอดภัยมากที่สุด เฝ้าระวังการพลัดตกหกล้มหรือตกเตียงที่อาจเกิดขึ้นได้
5) นักกายภาพบำบัดเจ้าของเคสรีบโทรศัพท์รายงานแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูกรณีเป็นผู้ป่วยนอกและรายงานแพทย์เจ้าของไข้และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูกรณีเป็นผู้ป่วยใน จากนั้นกลับเข้าปฐมพยาบาลผู้ป่วยต่อจนกว่าแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู / แพทย์เจ้าของไข้ / ทีมกู้ชีพโรงพยาบาลมาถึงจุดเกิดเหตุ
6) เตรียมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยพร้อมกับให้ออกซิเจนขณะทำการเคลื่อนย้าย
เป็นการอบรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรในหน่วยงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูของศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และศูนย์ผู้สูงวัยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยมีทีมคณะกรรมการกู้ชีพของศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ ห้องกายภาพบำบัด ชั้น 5
บุคลากรของแผนกเวชศาตร์ฟื้นฟูได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยฝึกนวดหัวใจ วิธีการใช้การใช้ Ambu bag และใช้เครื่องกระตุกหัวใจ AED
ต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษากายภาพบำบัดจาก Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น นำโดยอาจารย์จาก คณะกายภาพบำบัด มศว เข้าศึกษาดูงานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด กายอุปกรณ์ และนวดแผนไทย ณ ศูนย์การแพทย์ฯ วันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 8.30-11.00 น.