ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

เปิดใช้งานเครื่อ'เอกซเรย์เต้านม (mammography)

เปิดใช้งานเครื่องเอกซเรย์เต้านม (mammography)

 

ด้วยหน่วยงานรังสีวิทยาได้ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เต้านม(mammography) ระบบดิจิตอล ซึ่งช่วยให้การตรวจวินิจฉัยโรคของรังสีแพทย์เป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถสร้างภาพเอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติ ซึ่งให้ผลการตรวจวินิจฉัยที่ละเอียด

 

52033810 990342187826699 6640643421054697472 n51642163 782470932118615 8411170700156469248 n

เครื่อง เอกซเรย์ทั่วไป

เปลี่ยนเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปแบบเก่า ซึ่งเป็นระบบ CR reader เป็นระบบเอกซเรย์แบบดิจิตอล (Digital Radiography) ซึ่งช่วยให้การเอกซเรย์เป็นไปด้วยความรวดเร็วมากขึ้น โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องรอรับฟิล์ม ช่วยลดระยะเวลาการรอคอยฟิล์มได้

เรามาทำความรู้จักเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอลกันค่ะ

ระบบเอกซเรย์แบบดิจิตอล (Digital Radiography: DR) เป็นเทคโนโลยีที่มาแทนที่ระบบเอกซ์เรย์ปัจจุบันที่ใช้ฟิล์ม โดยระบบเอกซเรย์ดิจิตอล จะช่วยให้แพทย์ได้รับภาพถ่ายทางรังสีและผลวิเคราะห์จากรังสีแพทย์อย่างรวดเร็ว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคและให้การรักษาผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาการจัดเก็บและค้นหาฟิล์มเอกซเรย์ ก็ทำให้เกิดความล่าช้าของการรายงานผลเอกซเรย์ได้ ระบบเอกซเรย์ดิจิตอล เป็นการถ่ายภาพเอกซเรย์ที่ให้ภาพออกมาเป็นข้อมูลดิจิตอล สามารถแสดงผลการฉายรังสีได้ทันทีและจัดเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งมีระบบการเก็บและค้นหาข้อมูล อีกทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลการรักษาเก่าๆ ไว้ในฐานข้อมูลทำให้สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของโรคได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงพยาบาล ทำให้สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของการใช้ ระบบเอกซเรย์แบบดิจิตอล
ประหยัดค่าใช้จ่าย
– ประหยัดค่าฟิล์มทั้งที่ถ่ายครั้งเดียวได้เลยกับที่ต้องถ่ายซ้ำเนื่องจากภาพ over exposure หรือ under exposure ค่าน้ำยาล้างฟิล์ม ค่าใช้จ่ายในการบำบัดสารเคมีในน้ำยาล้างฟิล์มที่จะทิ้ง
– ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสต็อกฟิล์มและน้ำยาล้างฟิล์ม จัดเก็บฟิล์มเอ็กซ์เรย์ของผู้ป่วย
– ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องล้างฟิล์ม และห้องมืดล้างฟิล์ม

เพิ่มประสิทธิภาพ
– ลดเวลาการรอคอยผลการเอกซเรย์ เนื่องจากการล้างฟิล์มและการค้นหาฟิล์ม
– ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาเร็วขึ้น
– ภาพถ่ายเอกซเรย์ที่ได้เก็บในฐานข้อมูลของผู้ป่วยแพทย์ผู้รักษาสามารถเรียกดูเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงจากภาวะโรคและผล การรักษาช่วยในการ

วินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษา
– โรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลและไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถส่งภาพทางอินเตอร์เน็ต เพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและรวดเร็ว
– ลดการสูญหายของฟิล์มเอกซเรย์เก่าที่เกิดขึ้นในระบบเดิม
– ลดพื้นที่ที่ต้องใช้สำหรับเก็บฟิล์มและน้ำยาล้างฟิล์ม ห้องมืดสำหรับล้างฟิล์ม
– ภาพที่ได้เป็นภาพดิจิตอลมีความคมชัดมากขึ้นและไม่เสื่อมคุณภาพไปตามกาลเวลาเมื่อเทียบกับฟิล์ม

เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคและผู้ป่วยได้รับรังสีน้อยลง
– ระบบ Direct Digital X-Ray Sensor หรือ DR/Digital Radiography ให้ความคมชัดของภาพสูงในขณะที่ใช้ปริมาณรังสีในการถ่ายน้อยลง
– สามารถปรับความคมชัดของภาพได้มากขึ้นเนื่องจากเป็นภาพดิจิตอล จึงลดการถ่ายซ้ำจากการที่ภาพไม่ชัดในระบบฟิล์ม เป็นการลดปริมาณรังสีที่ได้รับ


 

แจ้งปิดปรับปรุงเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป

ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560 ทางหน่วยงานรังสิวิทยา จะทำการปิดปรับปรุงเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป เพื่อทำการติดตั้งเครื่องเอกเรย์ใหม่ และจะใช้เครื่องเอกซเรย์ทั่วไปที่อยู่ในห้อง Fluorscopy ในการให้บริการแทนเป็นการชั่วคราว

philips rentgeno diagnosti3

แจ้งเครื่องเอกซเรย์เต้านมชำรุด

bkgvonnhvjyngsxpzpiw pic 146

แจ้งเรื่องเครื่องเอกซเรย์เต้านม (mammogram) ชำรุด ทำให้ต้องปิดปรับปรุงห้องชั่วคราวเพื่อรอทางบริษัทจัดหาอะไหล่มาเปลี่ยนคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 เดือน

ทำบุญแผนกรังสีวิทยา

แผนกรังสีวิทยาจัดงานทำบุญแผนกเพื่อเป็นศิริมงคลในหน่วยงาน

DSCF0833 DSCF0876

DSCF0889 DSCF0938

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page