หนังตาตก (Ptosis) เป็นภาวะที่เปลือกตาบนตกลงมาต่ำกว่าปกติ อาจตกลงมาเพียงเล็กน้อยไปจนถึงตกลงมาจนปิดรูม่านตา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ในบางรายอาจเพียงแค่ทำให้รูปลักษณ์เปลี่ยนแปลงไปแต่ไม่ส่งผลต่อการมองเห็น
หนังตาตกเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ทั้งเด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้ใหญ่ และยังเกิดขึ้นได้กับตาทีละข้างหรือพร้อมกัน 2 ข้าง นอกจากนั้น หนังตาตกอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะที่รุนแรงบางอย่างซึ่งส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ ประสาท สมองหรือเบ้าตา โดยเฉพาะหากเกิดเป็นเวลานาน
อย่างไรก็ตาม หนังตาตกเป็นภาวะที่รักษาได้หรือชะลออาการไม่ให้แย่ลงได้ โดยจะใช้การรักษาที่ช่วยให้การมองเห็นกลับมาเป็นปกติหรือช่วยให้รูปลักษณ์ของเปลือกตากลับมาเป็นปกติ
อาการหนังตาตก
อาการสำคัญที่ปรากฎเมื่อเกิดภาวะหนังตาตก มีดังนี้
เมื่อใดที่ควรพบแพทย์
หากพบว่ามีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที
สาเหตุของหนังตาตก
หนังตาตสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยอาจมีสาเหตุดังต่อนี้
การวินิจฉัยหนังตาตก
การวินิจฉัยหนังตาตก แพทย์จะถามประวัติอาการของผู้ป่วย เช่น ความถี่หรือระยะเวลาที่เกิดอาการ การมองเห็นภาพซ้อน กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดหรือกลืนลำบาก ปวดศีรษะ อาการกระตุกหรือชาตามร่างกาย นอกจากนั้น แพทย์อาจถามถึงประวัติโรคประจำตัว หรือประวัติของคนในครอบครัวที่หนังตาตกหรือโรคทางกล้ามเนื้อที่เกิดจากกรรมพันธุ์ จากนั้นแพทย์จะตรวจตาและอาจทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติ่มเพื่อหาสาเหตุ ซึ่งแพทย์อาจใช้เครื่องตรวจตา (Slit Lamp) ที่จะช่วยให้มองเห็นดวงตาได้ชัดเจนและละเอียดยิ่งขึ้น หรืออาจใช้การทดสอบเทนซิลอน (Tensilon Test) รวมไปถึงการตรวจอื่น ๆ ได้แก่
การรักษาหนังตาตก
การรักษาหนังตาตกในกรณีที่ทำให้ปิดกั้นการมองเห็นหรือส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอกอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนใหญ่จะแก้ไข้ได้โดยศัลยแพทย์พลาสติก ซึ่งจะจัดการปัญหาด้วยการผ่าตัดยกเปลือกตา และขั้นตอนการผ่าตัดจะใช้เพียงยาชาเฉพาะจุดเท่านั้น
ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด อาจขอใช้วิธีติดเทปพิเศษที่หนังตา รวมไปถึงใช้น้ำตาเทียมเพื่อหล่อลื่นดวงตา หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือการสวมแว่นตาสำหรับผู้ที่มีหนังตาตกโดยเฉพาะ
ส่วนเด็กแรกเกิดที่มีอาการหนังตาตกรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดแก้ไขทันที เพราะหากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการมองเห็นอย่างถาวร แต่หากเด็กมีอาการที่ไม่รุนแรงหรือไม่ทำให้การมองเห็นบกพร่อง แพทย์อาจแนะนำให้รอจนเด็กมีอายุ 3-5 ปี จึงจะรักษา ซึ่งการผ่าตัดเปลือกตาในเด็ก แพทย์จะใช้ยาสลบก่อนลงมือ
นอกจากนั้น หากผู้ป่วยหนังตาตกที่มีสาเหตุมากจากโรคกล้ามเนื้อ เกี่ยวกับระบบประสาทหรือมีปัญหาบริเวณดวงตา แพทย์จะรักษาโรคหรือความเจ็บป่วยนั้น ๆ ก่อน ในบางรายจะเป็นการรักษาให้หนังตาตกดีขึ้นหรือช่วยไม่ให้อาการแย่ลง
ภาวะแทรกซ้อนของหนังตาตก
ภาวะแทรกซ้อนของหนังตาตก มีทั้งภาวะแทรกซ้อนของโรคนั้น ๆ และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น ในบางรายที่เป็นมากจนหนังตาตกลงมาปิดลูกตาดำจะไปปิดกั้นการมองเห็นหรือมองเห็นไม่ชัด อย่างไรก็ตาม หนังตาตกไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่อาจทำให้ผู้ป่วยต้องเงยหน้าและยกคางขึ้นเพื่อจะได้มองเห็นชัด หรือต้องโก่งคิ้วเพื่อช่วยยกเปลือกตาขึ้นให้มองเห็นชัดขึ้น ซึ่งหากมีพฤติกรรมดังกล่าวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็อาจส่งผลกระทบต่อศีรษะและคอได้
นอกจากนั้น ในขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขหนังตาตกหรือดึงหนังตาให้สูงขึ้น อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่
การป้องกันหนังตาตก
เนื่องจากหนังตาตกไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้น จึงควรดูแลและระวังตนเองด้วยการสังเกตอาการและหมั่นตรวจสุขภาพของดวงตาเป็นประจำ เพราะจะช่วยให้ควบคุมอาการได้อย่างทันท่วงที นอกจากนั้น หากสงสัยว่าบุตรหลานของตนเองอาจหนังตาตก ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อจะได้รับการรักษาและควบคุมอาการได้ทันการณ์
หนังตาตกอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการขับขี่ยานพาหนะหรือกิจกรรมอื่น ๆ เช่น อ่านหนังสือ หรือขึ้นและลงบันได ผู้ป่วยต้องระมัดระวังอย่างมากและควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เป็นการป้องกันอันตรายและดูแลไม่ให้อาการแย่ลง
นอกจากนั้น หากพบว่าหนังตาตกทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาจใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคตาบางชนิดที่เป็นสาเหตุให้หนังตาตก ควรพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนั้น ๆ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเพิ่ม