ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ลมพิษ

urticaria-cover

 

ลมพิษ คืออะไร?

ลมพิษ คือหนึ่งในกลุ่มอาการของปฏิกิริยาตอบสนองจากโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักมีอาการเป็นผื่นบวม นูนแดงสีออกขาวที่ล้อมรอบไปด้วยผื่นสีแดง ซึ่งมีทั้งแบบขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกันไป โดยผู้ที่มีอาการลมพิษนั้น จะรู้สึกคัน ถ้าเป็นมากจะรู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนังจนสัมผัสกับสิ่งใดๆ ไม่ได้

โรคลมพิษแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามระยะเวลาและอาการ ได้แก่

1. ลมพิษชนิดเฉียบพลัน (Acute urticaria) คือลักษณะของลมพิษที่เกิดขึ้นมาและหายไปอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะใช้ระยะเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง หรือเป็นติดต่อกันไม่เกิน 6 สัปดาห์
2. ลมพิษชนิดเรื้อรัง (Chronic urticaria) คือลักษณะของลมพิษที่มีอาการเป็นๆ หายๆ ต่อเนื่องกันนานกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป แม้ว่าอาจจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็มักจะสร้างความลำบากต่อชีวิตประจำวันไม่น้อย

สาเหตุการเกิด ลมพิษ

จากผลการวิจัยพบว่า ลมพิษไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากสภาวะที่ร่างกายปล่อยสาร "ฮีสตามีน" (Histamine)และสารอื่นๆ เข้าสู่กระแสเลือดเป็นจำนวนมาก เป็นผลมาจากสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าภายนอก เช่น แสงแดด ฝุ่น หรือสารพิษต่างๆ รวมไปถึงความเครียด การรับประทานยาแก้ปวด อาหารบางชนิด หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้สาเหตุของลมพิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอาการแพ้ต่างๆ ของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายตัวเอง หรืออาการแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคไทรอยด์ หรือลูปัส (Lupus) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง

อาการของลมพิษ

อาการของลมพิษเกิดขึ้นได้รวดเร็วมาก ผิวหนังจะนูนแดง อาจมีจำนวนน้อยบ้างเยอะบ้าง และมีขนาดแตกต่างกันไป รวมทั้งมีอาการคันหรือแสบร้อนบริเวณดังกล่าว ลมพิษพบได้ทั้งบนใบหน้า แขน ขา และลำตัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคัน และแสบร้อนที่ผิวหนัง

การวินิจฉัยลมพิษ

การวินิจฉัยอาการลมพิษนั้น แพทย์จะสอบถามอาการเบื้องต้น ซักประวัติการเป็นโรคอื่นๆ หรือการเข้ารับรักษาอาการต่างๆ ของผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดลมพิษ หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการลมพิษบ่อยครั้ง แพทย์อาจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด หรือการตรวจหาสาเหตุของการแพ้ต่างๆ อย่างละเอียดยิ่งขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของลมพิษ

ภาวะแทรกซ้อนของลมพิษพบประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยลมพิษระยะเฉียบพลัน และประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยระยะเรื้อรัง โดยลมพิษอาจพัฒนาไปเป็น "แองจิโออีดีมา" (Angioedema) คือผู้ป่วยจะมีอาการบวมของเนื้อเยื่อในชั้นลึกของผิว ซึ่งรุนแรงกว่าลมพิษมาก อีกภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้คือ ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ที่มีอาการร่วมคือ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ชีพจรต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ฯลฯ ซึ่งหากไม่รักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นหากมีอาการลมพิษเรื้อรังเป็นระยะเวลานานหรือมีอาการแทรกซ้อน ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน

รักษาลมพิษได้อย่างไรบ้าง?

การรักษาลมพิษในเบื้องต้นคือ การทายาแก้แพ้บริเวณผิวหนังที่เป็นผื่นแดง จะช่วยลดอาการลมพิษได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยวิธีการรักษาจะมีทั้งแบบใช้ยาทาและยารับประทานเพื่อช่วยควบคุมอาการให้ดีขึ้นตามลำดับ เช่น คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) ไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) เซทริซีน (Cetrizine)

วิธีป้องกันลมพิษ

วิธีป้องอาการผื่นลมพิษที่ดีที่สุดคือ การหาสาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษ จะได้หลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงในการเกิดลมพิษได้มากขึ้น

วิธีป้องกันอาการลมพิษที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหรือสิ่งเร้าต่างๆ รอบตัว เช่น อาหาร ยา สารกระตุ้น หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ หากคุณมีประวัติของการเกิดลมพิษจึงควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ ระมัดระวังการใช้ยาให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ที่ต้องใช้ยาในการรักษาโรคเป็นประจำ นอกจากนี้ ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และยังเป็นการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นลมพิษ

ผู้ป่วยที่เป็นลมพิษสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ดังนี้

  • ควรออกจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
  • ไม่ควรสัมผัสกับผื่นลมพิษโดยตรง
  • ควรทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ แล้วเช็ดให้แห้ง
  • ทายาแก้อาการลมพิษหรือรับประทานยาให้ครบ
  • ไม่ควรเครียด วิตกกังวล และควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ

แม้ว่าลมพิษจะจัดเป็นผื่นชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง และไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงมากเหมือนโรคอื่นๆ แต่ปัญหาทางผิวหนังเหล่านี้ก็อาจทำให้หลายคนรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวได้ ดังนั้น ควรหมั่นหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ และหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นก็ควรหาวิธีรักษาโดยเร็วเป็นดีที่สุด

ลมพิษเป็นอาการที่สามารถเกิดได้กับทุกๆ คน โดยจากข้อมูลทางการแพทย์ มักจะพบได้มากที่สุดในช่วงอายุ 20 – 40 ปี และพบได้บ่อยในเพศชาย นอกจากนั้นผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อนก็อาจมีความเสี่ยงในการเกิดลมพิษได้ง่าย และจากสถิติทั่วไปพบว่าทุกคนต้องเคยเป็นลมพิษอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต แต่ก็จะเป็นน้อยครั้งขึ้น หากได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกต้อง ฉะนั้นท่านใดก็ตามที่มีอาการลมพิษดังที่กล่าวมา ควรจะเฝ้าระวังและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องตามที่เราได้แนะนำไว้จะดีที่สุด

ข่าวเด่นประจำวัน

เช็ค 9 อาการเสี่ยงโรคเบาหวาน

เช็ค 9 อาการเสี่ยงโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ... Read more
ข่าวเด่นประจำวัน

ข่าวเด่นประจำวัน

10 ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง... Read more
ลมพิษ

ลมพิษ

  ลมพิษ คืออะไร? ลมพิษ คือหนึ่งในกลุ่มอาการของปฏิกิริยาตอบสนองจากโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักมีอาการเป็นผื่นบวม... Read more
Joomla Templates and Joomla Extensions by JoomlaVision.Com

บริการของเรา

sev

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

องค์ความรู้หน่วยงาน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

part-01   part-02 
 
part-03   part-04  

สถิติผู้เยี่ยมชม

0220264
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
18
25
192
192
590
1156
220264

Forecast Today
72

1.59%
40.05%
0.83%
0.67%
0.05%
56.81%
Online (15 minutes ago):1
one guest
no members

Your IP:192.168.126.4
Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page