มีคุณแม่ที่พึ่งคลอดลูกได้ 2 เดือนกว่า และพบว่าว่าลูกมีภาวะพังผืดใต้ลิ้นเกิดขึ้น แต่ไม่ได้ให้คุณหมอตัดออก เนื่องจากกลัวว่าลูกจะเจ็บ แต่ก็กังวลว่าจะมีผลเสียต่อลูกในอนาคต จึงอยากทราบว่าควรที่จะตัดพังผืดใต้ลิ้น ออกไปหรือไม่?
เพื่อให้อีกหลายๆ ครอบครัว ที่มีลูกแรกคลอด แล้วพบว่าลูกมีอาการของพังผืดเกิดขึ้นใต้ลิ้น และสงสัยว่าคืออะไร ควรตัดออกดีไหม ไปทำความเข้าใจพร้อมกันดังนี้ค่ะ
พังผืดใต้ลิ้น (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie) คือเยื่อบางๆ ที่ยึดบริเวณด้านล่างของโคนลิ้นติดไว้กับพื้นล่างของช่องปาก ใกล้ๆ บริเวณนี้จะมีกล้ามเนื้อ เส้นเลือด และระบบน้ำเหลืองที่ส่งไปเลี้ยงที่ลิ้น ถ้าเยื่อดังกล่าวหนาหรือสั้นเกินไป จะทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้การดูดนมแม่เป็นไปได้ยาก เพราะการดูดนมแม่ต้องใช้ลิ้นแลบออกมาและรีดน้ำนมจากบริเวณลานนมเข้าปาก
แต่ถ้าเป็นการดูดนมขวดจะไม่มีปัญหา เพราะเป็นการขยับเหงือกเท่านั้น เมื่อลูกดูดนมแม่ลำบาก จะส่งผลให้น้ำหนักตัวไม่ขึ้น เด็กไม่ชอบดูดนมแม่ ดูดไปหลับไปเพราะเมื่อยลิ้น หรือขอดูดนมตลอดเวลาเพราะได้น้ำนมไม่พอ แม่มีปัญหาหัวนมแตกและเจ็บมาก
ผลของลิ้นติดต่อทารก ปกติภาวะลิ้นติดจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเด็กอายุ 2-3 ปี แต่ในเด็กเล็กอาจเกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น ดูดนมไม่ได้ดี อมหัวนมแล้วมักหลุด น้ำหนักตัวไม่ค่อยขึ้นจากการได้น้ำนมไม่พอ แม่เจ็บหัวนมหรือหัวนมเป็นแผล แม่สร้างน้ำนมน้อยลงๆ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้อาจจะต้องได้รับการแก้ไขโดยการผ่าตัดที่โดยเเพทย์เฉพาะทาง
เมื่อลูกดูดนมแม่ลำบาก จะส่งผลให้น้ำหนักตัวไม่ขึ้น เด็กไม่ชอบดูดนมแม่ ดูดไปหลับไปเพราะเมื่อยลิ้น หรือขอดูดนมตลอดเวลาเพราะได้น้ำนมไม่พอ แม่จะมีปัญหาหัวนมแตกและเจ็บมาก ดังนั้นต้องขอบคุณการรณรงค์เรื่องนมแม่ เพราะทำให้วินิจฉัยภาวะพังผืดใต้ลิ้นได้เร็วขึ้น มิฉะนั้นอาจไม่ทราบว่าลูกเป็น จนถึงเวลาที่ลูกพูด จะมีปัญหาพูดไม่ชัด ร.เรือ ล.ลิง และตัวควบกล้ำ เพราะกระดกลิ้นได้ไม่ดี
ในเด็กทารกเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ให้ความสำคัญและมีการพัฒนามากขึ้น ในอดีตเราใช้การผ่าตัด ซึ่งเด็กทุกรายจำเป็นต้องดมยาสลบ ทำให้สร้างความวิตกกังวลแก่พ่อแม่ของเด็กอย่างมาก แม้ทางการแพทย์จะมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยต่อเด็กทารกก็ตาม แต่ก็อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ อีกทั้งจะต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลต่ออย่างน้อย 2 – 3 วัน ปัจจุบันเราได้ประยุกต์วิธีการผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นวิธีที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับการรักษาด้วยการดมยาสลบ และที่สำคัญที่สุดคือ หลังผ่าตัดแล้ว ทารกสามารถกลับมาดูดนมแม่ได้ทันที และไม่ต้องกังวลเรื่องแผลผ่าตัด ซึ่งจะหายเองภายใน 1 สัปดาห์ มีคุณแม่หลายท่านสงสัยว่าผ่าตัดแล้ว ลิ้นจะยาวขึ้นมั้ย คำตอบคือไม่ แต่จะทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นเป็นไปตามปกติคือ ไม่ติด เพราะเป็นการตัดเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากให้พอเหมาะอย่างไรก็ตาม ภาวะพังผืดใต้ลิ้นมีแนวโน้มที่จะยืดออกได้เอง หากยังไม่มีปัญหาการดูดนมแม่ แพทย์จะทำการนัดมาตรวจเป็นระยะๆ เนื่องจากลิ้นเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งในการพูด โดยเฉพาะปลายลิ้นที่ต้องช่วยในขณะออกเสียงควบกล้ำ ดังนั้นในเด็กโตที่มีพังผืดยึดมาถึงบริเวณปลายลิ้นก็อาจพูดไม่ได้ พูดช้า และมีปมด้อยได้
อย่างไรก็ตาม ภาวะพังผืดใต้ลิ้นมีแนวโน้มที่จะยืดออกได้เอง หากยังไม่มีปัญหาการดูดนมแม่ แพทย์จะทำการนัดมาตรวจเป็นระยะๆ เนื่องจากลิ้นเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งในการพูด โดยเฉพาะปลายลิ้นที่ต้องช่วยในขณะออกเสียงควบกล้ำ ดังนั้นในเด็กโตที่มีพังผืดยึดมาถึงบริเวณปลายลิ้นก็อาจพูดไม่ได้ พูดช้า และมีปมด้อยได้
ในลูกวัยทารกที่พบว่าตั้งแต่แรกเกิดมีภาวะของใต้ลิ้นมีพังผืดเกิดขึ้น ห
ากไม่ได้รับการผ่าตัดออกตั้งแต่ต้น ในช่วงระยะแรกอาจมีผลกระทบต่อการดูดนมแม่จากเต้า นั่นเพราะพังผืดที่ยึดอยู่ใต้ลิ้น ทำให้ลูกไม่สามารถขยับปาก และใช้ลิ้นในการดันใต้ฐานนมแม่ไม่ถนัด ทำให้ลูกดูดนมแล้วปากหลุดจากเต้านมตลอดเวลา และแม่ก็จะเจ็บระบมเต้านม
ส่วนผลกระทบต่อตัวลูกในระยะยาว คือ เมื่อลูกโตขึ้น และยังมีพังผืดยึดมาถึงบริเวณปลายลิ้น ในเด็กบางคนอาจมีปัญหาพูดไม่ได้ พูดช้า และพูดไม่ชัด โดยเฉพาะการออกเสียงตัวควบกล้ำ ร.เรือ ล.ลิง ที่สำคัญการเข้าสังคมกับเพื่อนๆ ลูกอาจถูกล้อเลียน จนเกิดเป็นปมด้อยขึ้นได้