ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

องค์ความรู้หน่วยงาน

ภาวะพังผืดใต้ลิ้นของลูกแก้ไขได้

Share on Facebook
 
Tweet on Twitter
พังผืดใต้ลิ้น
 
 

ตั้งแต่วินาทีแรกที่ลูกคลอดออกมาพยาบาล กุมารแพทย์ จะเช็กความสมบูรณ์ของลูกว่ามีปัญหาอะไรหลังคลอดหรือไม่ หาก ไม่มีก็สามารถให้ลูกเข้าเต้ากินนมแม่ได้ทันที ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีอาการหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกทุกคนนั่นคือภาวะ พังผืดใต้ลิ้น ที่หากไม่รักษาตั้งแต่แรก อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวทารกได้ในระยะสั้นและระยะยาว

พังผืดใต้ลิ้น คืออะไร?

มีคุณแม่ที่พึ่งคลอดลูกได้ 2 เดือนกว่า และพบว่าว่าลูกมีภาวะพังผืดใต้ลิ้นเกิดขึ้น แต่ไม่ได้ให้คุณหมอตัดออก เนื่องจากกลัวว่าลูกจะเจ็บ แต่ก็กังวลว่าจะมีผลเสียต่อลูกในอนาคต จึงอยากทราบว่าควรที่จะตัดพังผืดใต้ลิ้น ออกไปหรือไม่?

เพื่อให้อีกหลายๆ ครอบครัว ที่มีลูกแรกคลอด แล้วพบว่าลูกมีอาการของพังผืดเกิดขึ้นใต้ลิ้น และสงสัยว่าคืออะไร ควรตัดออกดีไหม ไปทำความเข้าใจพร้อมกันดังนี้ค่ะ

พังผืดใต้ลิ้น (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie) คือเยื่อบางๆ ที่ยึดบริเวณด้านล่างของโคนลิ้นติดไว้กับพื้นล่างของช่องปาก ใกล้ๆ บริเวณนี้จะมีกล้ามเนื้อ เส้นเลือด และระบบน้ำเหลืองที่ส่งไปเลี้ยงที่ลิ้น ถ้าเยื่อดังกล่าวหนาหรือสั้นเกินไป จะทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้การดูดนมแม่เป็นไปได้ยาก เพราะการดูดนมแม่ต้องใช้ลิ้นแลบออกมาและรีดน้ำนมจากบริเวณลานนมเข้าปาก

แต่ถ้าเป็นการดูดนมขวดจะไม่มีปัญหา เพราะเป็นการขยับเหงือกเท่านั้น เมื่อลูกดูดนมแม่ลำบาก จะส่งผลให้น้ำหนักตัวไม่ขึ้น เด็กไม่ชอบดูดนมแม่ ดูดไปหลับไปเพราะเมื่อยลิ้น หรือขอดูดนมตลอดเวลาเพราะได้น้ำนมไม่พอ แม่มีปัญหาหัวนมแตกและเจ็บมาก

ผลของลิ้นติดต่อทารก ปกติภาวะลิ้นติดจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเด็กอายุ 2-3 ปี แต่ในเด็กเล็กอาจเกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น ดูดนมไม่ได้ดี อมหัวนมแล้วมักหลุด น้ำหนักตัวไม่ค่อยขึ้นจากการได้น้ำนมไม่พอ แม่เจ็บหัวนมหรือหัวนมเป็นแผล แม่สร้างน้ำนมน้อยลงๆ   ซึ่งเด็กกลุ่มนี้อาจจะต้องได้รับการแก้ไขโดยการผ่าตัดที่โดยเเพทย์เฉพาะทาง

พังผืดใต้ลิ้น ที่มีข้อบ่งชี้ว่าเด็กมีลิ้นติดที่ควรได้รับการแก้ไข

  1. เจ็บหัวนมหรือมีร่องรอยฟกช้ำหรือเป็นแผล
  2. หัวนมผิดรูปไป หลังจากให้ลูกดูดนมแล้ว
  3. มีรอยกดหรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังลูกดูดนมแล้ว
  4. ลูกมักดูดไม่ได้ หรือดูดแล้วหลุด เลยทำให้ดูดได้แต่ลม
  5. ได้ยินเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากปากลูกขณะดูดนมแม่
  6. น้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้นหรือขึ้นช้า

อาการแสดง  

  1. ลูกแลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปากหรือเหงือกบน
  2. ไม่สามารถกระดกปลายลิ้นขึ้นไปสัมผัสเพดานปากได้
  3. ไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นไปด้านข้างได้
  4. เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นจะแบนไม่มน หรือเป็นเหลี่ยม ไม่แหลมมนอย่างทั่ว ๆ ไป
  5. ปลายลิ้นอาจเป็นร่องหยักเข้ามา หรือเป็นรูปหัวใจ

Reliance-on-lactation-counsultants-diagnosis-640x235

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page