ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

SAR-MSO-2018

II-2.2 การกำกับดูแลวิชาชีพด้านการแพทย์

เป้าหมาย /ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ : คุณภาพชีวิต ปลอดภัย ประสิทธิภาพ มาตรฐานและจริยธรรม

ข้อมูล /ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน (ปีงบประมาณ)

2556

2557

2558

2559

2560

2561

จำนวนข้อร้องเรียนพฤติกรรมบริการของแพทย์ (ครั้ง)

< 10 เรื่อง

24

13

11

18

10

14

จำนวนข้อร้องเรียนการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน /จริยธรรมจรรยาบรรณ (ครั้ง)

< 1 เรื่อง

38

13

5

11

4

4

ไม่เชื่อมั่นการรักษา (ครั้ง)

 

8

6

2

5

2

4

บริบท:

          องค์กรแพทย์ได้จัดตั้งเมื่อปี 2556 โดยมีธรรมนูญองค์กรแพทย์ (เอกสาร)

กระบวนการ:

บทเรียนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และวิธีการทำงานขององค์กรแพทย์:

องค์กรแพทย์ แต่งตั้งโดยคณบดี มีหน้าที่ดูแล ประสานงาน และช่วยเหลือในการปฏิบัติงานของแพทย์ ทันตแพทย์ในโรงพยาบาล ได้แก่ การรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของแพทย์และหาแนวทางแก้ปัญหาข้อร้องเรียนนั้นๆ, การเป็นตัวเชื่อมเพื่อประสานงานระหว่างผู้บริหารโรงพยาบาลกับกลุ่มแพทย์, และการช่วยเหลือสมาชิกในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาสวัสดิการ การศึกษาต่อเนื่อง เป็นต้น

นอกจากนี้ องค์กรแพทย์ยังทำหน้าที่ในการส่งเสริมให้แพทย์และทันตแพทย์มีความรักและผูกพันในองค์กร และการธำรงไว้ซึ่งอาจารย์แพทย์ที่ดี การดำเนินการที่วางแผนไว้คือ ประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อวางแนวทางการรับบรรจุบุคคลให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ จำนวนกรอบอัตรา แนวทางความก้าวหน้าในวิชาชีพ    แนวทางการพัฒนาตนเอง การจัดหาสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสม

             องค์กรแพทย์จัดให้มีการพบปะของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ จัดให้มีอาหารเช้าและอาหารกลางวัน              ณ ห้ององค์กรแพทย์ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ จัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์แพทย์ ทันตแพทย์ แพทย์ใช้ทุน และแพทย์ประจำบ้าน เช่น งานวันปีใหม่ งานวันสงกรานต์ งานวันตรุษจีน งานเลี้ยงต้อนรับอาจารย์แพทย์ใหม่ ฯลฯ เพื่อประสานสายสัมพันธ์ และให้สมาชิกได้พบปะพูดคุยในประเด็นต่างๆ รวมทั้งการปรึกษาระหว่างแผนกอย่างไม่เป็นทางการ นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี (ปีละ 1 - 2 ครั้ง) เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานขององค์กรแพทย์ในแต่ละปีให้สมาชิกทราบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อเสนอแนะ และปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อวางแนวทางการแก้ไข

          คณะกรรมการบริหารองค์กรแพทย์จัดการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อบริหารงานในองค์กรแพทย์ โดยแบ่งงาน 3 ส่วน ได้แก่

          1. ประธานอนุกรรมการมาตรฐานและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์แพทย์ปฏิบัติตามจรรยาบรรณครูแพทย์ แพทย์และทันตแพทย์ปฏิบัติตามแนวทางดูแลรักษาผู้ป่วยของศูนย์การแพทย์ฯ รับเรื่องร้องเรียนพร้อมแก้ไขปัญหา และวางแผนการลดการเกิดปัญหาในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยขอความร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพสาขาอื่นๆ

          2. ประธานอนุกรรมการสวัสดิการและเสริมสร้างความสามัคคี กำหนดนโยบายสวัสดิการทีสมาชิกพึงได้รับ ส่งเสริมให้สมาชิกปฏิบัติงานอย่างมีเกียรติ มีความสุข และความมั่นคงวิชาชีพจัดการดำเนินงานในเรื่องอาหารเช้า อาหารกลางวัน เครื่องดื่มต่างๆ สวัสดิการตัดเสื้อสูทขาวอาจารย์แพทย์ จัดกิจกรรมตามประเพณีต่างๆ เพื่อส่งเสริมความสามัคคีสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกองค์กรแพทย์

          3. ประธานอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริการทางการแพทย์ กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการทางการแพทย์ตามแนวทางของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) การบริหารความเสี่ยงทางคลินิก ร่วมกับคณะกรรมการความเสี่ยงของศูนย์การแพทย์ฯ

บทเรียนเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินคุณสมบัติของแพทย์:

          • องค์กรแพทย์มีบทบาทในการตรวจสอบและประเมินคุณสมบัติของแพทย์ใช้ทุนปี1ที่เข้ามาปฏิบัติงานในโรงพยาบาล โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติร่วมกับหัวหน้าภาควิชา และงานทรัพยากรมนุษย์

          • องค์กรแพทย์ควรวางแผนเชิงรุกในการมีบทบาทร่วมตรวจสอบและประเมินคุณสมบัติของแพทย์   ตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อระเบียบเดิมที่มีอยู่ก่อนด้วย

          • องค์กรแพทย์มีหน้าที่โดยตรงในการรับพิจารณา และตรวจสอบข้อสงสัยหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับแพทย์ โดยองค์กรแพทย์สามารถตรวจสอบแล้วเข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนต่างๆ ตลอดจนกำหนดแนวทางในการแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ ซึ่งในการตรวจสอบนี้เป็นการกำหนดสิทธิ และขอบเขตบทบาทแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยไปด้วย เพื่อเป็นหลักประกันว่า แพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ

บทเรียนเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิการดูแลรักษาผู้ป่วยของแพทย์แต่ละคน:

            คณะกรรมการบริหารองค์กรแพทย์ จะเป็นผู้กำหนดแนวทางการให้บริการทางการแพทย์ที่ดี มีมาตรฐานและจริยธรรม เช่น จรรยาบรรณครูแพทย์ แล้วนำไปปฏิบัติได้จริง แพทย์ทุกคนจะถูกสุ่มให้ได้รับการประเมินการปฏิบัติงานจากบุคลากรผู้ร่วมงานเป็นระยะ ๆ นอกเหนือจากการประเมินตนเองที่ต้องทำอยู่แล้วผ่านการประชุม PCT หรือ CLT (ซึ่งต้องมีการหยิบยก incident report, sentinel event etc. มาอภิปรายแล้วหาข้อสรุป เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ) นอกจากนี้ การประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะมีการวิเคราะห์แนวทางเหล่านี้ด้วยว่า มีข้อบกพร่องอย่างไร ปฏิบัติได้จริงหรือไม่ สมควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ การกำหนดสิทธิการรักษา กระทำโดย

          1)  การดูแลรักษาผู้ป่วยทุกรายจะอยู่ภายใต้การควบคุมและรับผิดชอบของอาจารย์แพทย์เสมอ

             2) แพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรมและนิสิตแพทย์จะต้องรายงานให้อาจารย์แพทย์ทราบเกี่ยวกับผู้ป่วย     ทุกราย

          3) แพทย์ให้การดูแลรักษาตาม CPG ที่พัฒนาโดย PCT และ CLT ของหน่วยงานนั้น ๆ

          4) แพทย์ที่อยู่ระหว่างฝึกอบรมสามารถปรึกษาข้ามแผนกได้ถ้ามีข้อบ่งชี้ แต่ยังต้องรายงานให้อาจารย์แพทย์เจ้าของไข้ทราบทุกรายเสมอ

          อาจารย์แพทย์ยังมีหน้าที่ตรวจสอบการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยแพทย์ประจำบ้าน และนิสิตแพทย์ผ่านการตรวจ progress note และ nurse note

บทเรียนเกี่ยวกับการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้:

          องค์กรแพทย์มีบทบาทในการให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารโรงพยาบาล รวมทั้งมีบทบาทในการสนับสนุนทุกการศึกษาต่อของอาจารย์แพทย์และทันตแพทย์ ซึ่งระเบียบการขอรับทุนสนับสนุนการอบรมศึกษาต่อของอาจารย์แพทย์และทันตแพทย์ดังกล่าวยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน รวมถึงเข้าร่วมให้คำปรึกษาในการบริหารของคณะกรรมการดำเนินงานของศูนย์การแพทย์

บทเรียนเกี่ยวกับการกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ:

          •องค์กรแพทย์แต่งตั้งอนุกรรมการมาตรฐานและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เพื่อเป็นกลไกในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์ โดยอนุกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่ออกระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ (ครู) แพทย์ รับเรื่องร้องเรียนและสอบสวนหาแนวทางแก้ไข องค์กรแพทย์มีการวางนโยบายใหม่เพื่อให้แพทย์ให้บริการที่มีมาตรฐานและจริยธรรม เช่น ในเรื่องการแต่งกาย การสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ เป็นต้น โดยเริ่มต้นการอบรมแพทย์ใช้ทุนที่ยังมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยน้อยให้ทราบบทบาทและเรียนรู้บทเรียนในการสื่อสารกับผู้ป่วย

          •มาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ที่องค์กรแพทย์พัฒนา เรื่องอัตราการลงตรวจตรงเวลาของแพทย์ กำหนดเวลาไม่เกิน 09.15น. โดยเปิดเพลงเป็นสัญญาณในช่วงเวลา 08.50 น.ทุกวันทำการในเวลาราชการ เพื่อให้แพทย์เตรียมพร้อมลงตรวจรักษาผู้ป่วย โดยเก็บข้อมูลจากLog-in ครั้งแรกที่ OPD ของแพทย์ และมีการบันทึกข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาปรับปรุงพัฒนาอัตราการลงตรวจของแพทย์ตามความเหมาะสมต่อไป

          องค์กรแพทย์ยังมีแนวทางในการปรับปรุงการสรุปและตรวจสอบเวชระเบียนให้ครบถ้วนและทันเวลา ผ่านการขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานการศึกษาหลังปริญญาของภาควิชาต่างๆ (เพื่อกระตุ้นให้แพทย์ประจำบ้านสรุปข้อมูลผู้ป่วยให้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น)

          องค์กรแพทย์มีส่วนร่วมแก้ปัญหาพฤติกรรมบริการของแพทย์ มีคณะอนุกรรมการที่กำกับดูแลมาตรฐานการให้บริการแก่ผู้ป่วยจะทำหน้าที่สร้างแรงจูงใจ และประเมินผลแนวทางต่างๆในการควบคุมมาตรฐานการบริการ จริยธรรมทางการแพทย์ ให้เป็นไปตามกฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการติดตามผลการปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนกฎ ข้อบังคับเหล่านั้นผ่านการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพฯ ที่องค์กรแพทย์เข้าร่วม   ประชุมด้วย

          ทั้งนี้กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นส่วนกลาง (generic code) สำหรับแพทย์ทุกแผนกและทันตแพทย์ เช่น การแต่งกายของแพทย์ การติดบัตร การลงตรวจผู้ป่วยนอก จะดำเนินการได้ โดยผ่านอนุกรรมการมาตรฐานและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริการทางการแพทย์ ส่วนระเบียบหรือแนวทางที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการวินิจฉัยและตรวจรักษา (CPG) จะดำเนินการโดย CLT ของแต่ละแผนกซึ่งประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและผู้ที่เกี่ยวข้อง

          การปฏิบัติงานของแต่ละแผนกจะยึดมาตรฐาน CPG ที่พัฒนาขึ้นเอง จึงมั่นใจได้ว่าการให้บริการดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ผลจากการพัฒนาแนวทางการวินิจฉัยและตรวจรักษา แนวทาง generic code สำหรับแพทย์และทันตแพทย์ สามารถติดตามประเมินผลได้จากการดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของแต่ละแผนก ไม่ว่าจะเป็น 12 กิจกรรมทบทวน การทบทวนความเสี่ยงทางคลินิก การรับเรื่องร้องเรียน และคำชมเชย

          •กรณีมีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับแพทย์ เช่น กรณีแพทย์ท่านหนึ่งถูกร้องเรียนว่าปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน ได้มีการตั้งกรรมการจากองค์กรแพทย์เพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริง และส่งเรื่องให้คณบดีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อ โดยองค์กรแพทย์ถือเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ หรือข้อร้องเรียนของแพทย์กับสหสาขาอื่น

          • มีการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพแพทย์อย่างต่อเนื่อง (CQI) เรื่อง “การลดข้อร้องเรียนของแพทย์” โดยเริ่มดำเนินการในปี 2559 เป็นปีแรก ซึ่งโครงการนี้ใช้การจัดการอบรมปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ในปีนั้นๆ ให้รับทราบถึงระเบียบ ข้อบังคับ และจริยธรรมวิชาชีพ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วย (Doctor patient relationship) และการทำงานร่วมกับผู้อื่นในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดข้อร้องเรียน และลดอุบัติการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น การจัดการอบรมปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนปี1และแพทย์ประจำบ้านที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ในปี2560 เพิ่มในเรื่องเวชปฏิบัติข้อร้องเรียน และสาระน่ารู้ เรื่องแพทย์กับการโฆษณาและโซเชียลมีเดีย มีการจัดให้คำแนะนำแก่แพทย์ใช้ทุนที่เข้าปฏิบัติงานใหม่ในทุกๆปี ซึ่งองค์กรแพทย์เข้าร่วมกิจกรรมในวันปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนปี1 เข้าใหม่โดยงานแพทยศาสตร์ศึกษาจัดทำโครงการ

          • มีการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพแพทย์อย่างต่อเนื่อง (CQI) เรื่อง “การลงตรวจตรงเวลาของแพทย์” โดยมีการจัดเก็บข้อมูลการลงตรวจผู้ป่วยนอกตามเวลาที่กำหนด โดยใช้การเปิดเพลงเป็นสัญญาณ ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาเรื่องการลงตรวจของแพทย์ให้ตรงเวลา

บทเรียนเกี่ยวกับการกำกับดูแลการทบทวนและพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย:

          คณะกรรมการบริหารองค์กรแพทย์จะเป็นผู้กำหนดแนวทางการให้บริการทางการแพทย์ที่ดี มีมาตรฐานและจริยธรรม เช่น CPG,professionalism codes แล้วนำไปปฏิบัติได้จริง แพทย์ทุกคนจะถูกประเมินการปฏิบัติงานจากบุคลากรผู้ร่วมงาน และผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ นอกเหนือจากการประเมินตนเองที่ต้องทำอยู่ แล้วผ่านการประชุม PCT และ CLT (ซึ่งต้องมีการนำประเด็นของ incident report, sentinel event etc. มาอภิปรายแล้วหาข้อสรุปเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ) นอกจากนี้ การประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะมีการวิเคราะห์แนวทางเหล่านี้ด้วยว่ามีข้อบกพร่องอย่างไร ปฏิบัติได้จริงหรือไม่ สมควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ แพทย์แต่ละคนจะต้องทำการสรุปเวชระเบียนให้สมบูรณ์ในเวลาที่กำหนด การสรุปเวชระเบียนเป็นการส่งเสริมให้แพทย์ได้ทบทวนผลการดูแลรักษาผู้ป่วย นอกจากนี้ ระบบ residency training จะช่วยให้แพทย์หยิบยกปัญหาผู้ป่วยที่น่าสนใจ หรือยังมีปัญหาในการดูแลรักษาขึ้นมาอภิปรายในวงกว้าง ผ่านความคิดเห็นของอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการประชุมวิชาการต่างๆเช่น interesting case, MM conference, morning report, CLT meeting, interhospital conference เป็นต้น ผลที่ได้จากการประชุมอภิปรายจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยการออกแนวทางปฏิบัติ CPG ต่อไป

          • องค์การแพทย์ได้จัดให้มีการปรับปรุงระบบ EMR ให้มีการแจ้งเตือนเมื่อผู้ป่วยกลับเข้าโรงพยาบาลหลังจากจำหน่ายกลับบ้านไม่เกิน 1 สัปดาห์ โดยจะทำการเก็บข้อมูลจำแนกตามหอผู้ป่วย เพื่อประเมินความเสี่ยงและปัญหาที่ผู้ป่วยต้องกลับมา Readmit โดยจะนำข้อมูลดังกล่าวไปให้หอผู้ป่วยและภาควิชาทบทวนเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

          • องค์กรแพทย์ มีโครงการจะจัดสัมมนา (Conference) เกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีปัญหาในแนวทางการดูแลรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โดยจะพิจารณารวบรวม case ผู้ป่วยที่มีปัญหาและความเสี่ยงสูง มาร่วมกันวิเคราะห์หาบทเรียนในการพัฒนาปรับปรุงแนวทางการรักษาผู้ป่วยให้ดีขึ้นไป ซึ่งจะจัดสัมมนาเดือนละหนึ่งครั้ง เน้นการเข้าร่วม และให้ความรู้กับแพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่หนึ่ง และมีอาจารย์แพทย์ที่เกี่ยวข้อง หรือมีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ

          * องค์กรณ์แพทย์มีโครงการจัดอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้าน ในหัวข้อที่จำเป็นและประสบปัญหาบ่อยครั้งในการดูแลผู้ป่วยในช่วงพักกลางวัน โดยจะจัดอบรมทุก 2 เดือน

บทเรียนเกี่ยวกับการกำกับดูแลคุณภาพเวชระเบียน:

          คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ ฯ จะประเมินและติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรแพทย์ในส่วนของการกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ และทันตแพทย์ ผ่านการประชุมกรรมการพัฒนาคุณภาพ ฯ และกรรมการดำเนินงาน ฯ เช่น การติดตามการสรุปเวชระเบียน, ความสมบูรณ์ของ progress note, การสูญหายของเวชระเบียน, ร่วมกันกำหนดระเบียบการยืมเวชระเบียน และติดตามการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยคณะกรรมการเวชระเบียนจะติดตามดูแลการบันทึก จัดเก็บ ยืม คืน และทบทวนเวชระเบียนอย่างสม่ำเสมอ และรายงานผลการติดตามในการประชุมกรรมการพัฒนาคุณภาพ ฯ ทุกครั้ง

บทเรียนเกี่ยวกับการส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิกและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม:

          องค์กรแพทย์เข้าร่วมประชุมกรรมการพัฒนาคุณภาพฯ และกรรมการดำเนินงานฯ เพื่อรับนโยบายในเรื่องดังกล่าวมาปรับใช้กับการปฏิบัติงานของแพทย์และทันตแพทย์ นอกจากนี้ อาจเสนอความคิดเห็นขององค์กรแพทย์เพื่อให้ผู้บริหารปรับเปลี่ยนแนวทางในเรื่องดังกล่าวให้สอดคล้องกับการทำงานของแพทย์ และมีความเป็นไปได้มากขึ้น เช่น การสั่งยาทางออนไลน์ การทำ drop-down list เหตุผลของการสั่งยานอกบัญชียาหลักเพื่ออำนวยความสะดวกแก่แพทย์ และในที่ประชุมใหญ่สามัญขององค์กรแพทย์ยังเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนเสนอความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของแพทย์และทันตแพทย์ เริ่มตั้งแต่การค้นเวชระเบียนผู้ป่วยนัดไปจนถึงขั้นตอนการรับ และจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

บทเรียนเกี่ยวกับการกำหนดหรือรับรองนโยบายที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย:

          มาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ที่องค์กรแพทย์ต้องพัฒนาขึ้นมาเอง ยกตัวอย่างเช่น การลงตรวจ OPD การสรุปและตรวจสอบเวชระเบียน การติดบัตรประจำตัว การแต่งกาย การสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ        การมีส่วนร่วมแก้ปัญหาพฤติกรรมบริการของแพทย์ เป็นต้น องค์กรแพทย์ทำการสำรวจเวลาออกตรวจของแพทย์แต่ละคนผ่านหัวหน้าภาควิชา โดยสอบถามเวลาออกตรวจ OPD ตามความเป็นจริง เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำป้ายติดหน้าห้องตรวจ และเพื่อให้ผู้ป่วยทราบเวลาออกตรวจที่แท้จริง

บทเรียนเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรม แพทย์เวรที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ:

          แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านจะไม่มีสิทธิรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลเอง ผู้ป่วยทุกรายต้องมีอาจารย์แพทย์เป็นแพทย์ประจำผู้ป่วย (attending staff) แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านต้องปรึกษาอาจารย์แพทย์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ ฯ จะติดตามการทำงานของทุก ๆ CLTว่าที่ผ่านมาว่าในแต่ละเดือนมีปัญหาการดำเนินงานอย่างไรบ้าง ตัวชี้วัดบ่งการบอกพัฒนาคุณภาพไปได้มากน้อยเพียงใดได้พัฒนาและรับรอง CPG ไปบ้างหรือไม่ CPG ดังกล่าวมีส่วนช่วยในการตัดสินใจทางคลินิกและการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างเหมาะสมหรือไม่ ขณะเดียวกัน ข้อร้องเรียนต่าง ๆ ก็จะส่งมาที่องค์กรแพทย์เพื่อติดตามว่ามีแพทย์ที่ทำเวชปฏิบัติอย่างไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ มีมาตรฐานและจริยธรรมแห่งวิชาชีพหรือไม่

ผลการพัฒนาที่สำคัญ:

มาตรฐาน

Score

ประเด็นในแผนการพัฒนา 1-2 ปี ข้างหน้า

37. องค์กรแพทย์

3.5

มีบทบาทเด่นชัดยิ่งขึ้นในการเป็นผู้นำและชี้ทิศทางเรื่องคุณภาพ และความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย,มีการประเมินและปรับปรุงระบบกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมทางการแพทย์

ข่าวเด่นประจำวัน

บริการของเรา

การใช้กัญชาทางการแพทย์

ขอเชิญ Download PowerPoint 
กัญชาทางการแพทย์ โดย นพ.นพพร ชื่นกลิ่น

Untitled-2

marijuana

เมนูอาหารประจำสัปดาห์

15577225d406ac8

องค์ความรู้หน่วยงาน

CQI การลงตรวจของแพทย์

Continuous Quality Improvement(CQI)...

SAR-MSO-2018

II-2.2 การกำกับดูแลวิชาชีพด้านการแพทย์...

การจัดการข้อร้องเรียนแพทย์

CQI การจัดการข้อร้องเรียนแพทย์...
Joomla Templates and Joomla Extensions by JoomlaVision.Com

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

part-01   part-02 
 
part-03   part-04  

สถิติผู้เยี่ยมชม

0203719
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
7
11
59
61
167
668
203719

1.82%
45.60%
6.24%
0.70%
0.07%
45.58%
Online (15 minutes ago):7
7 guests
no members

Your IP:192.168.126.4
Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page