Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel
admin

admin

Administrator

      ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับภาควิชาอื่น ๆ ของคณะแพทยศาสตร์ มศว  เมื่อเดือน มิถุนายน  พ.ศ. 2528  โดยใช้สถานที่ตั้งของภาควิชาอยู่ที่ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา วชิรพยาบาล และใช้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ มศว ชั้นปีที่ 4-5-6  โดยนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4  รุ่นแรกที่ขึ้นปฏิบัติงานในภาควิชาเริ่มในเดือน เมษายน พ.ศ. 2531 โดยมีอาจารย์นายแพทย์สุหัส  ฟุ้งเกียรติ เป็นหัวหน้าภาควิชาเป็นท่านแรก  และมีอาจารย์ประจำภาควิชาท่านแรก ได้แก่  อาจารย์นายแพทย์ประทีป  หาญอิทธิกุล  มีนิสิตแพทย์กลุ่มแรกราว  10-12  คน ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา  13  สัปดาห์
      ต่อมาหลังจากอาจารย์นายแพทย์สุหัส  ฟุ้งเกียรติ  เกษียณอายุราชการ  หัวหน้าภาควิชาท่านต่อไป  ได้แก่  อาจารย์นายแพทย์สุวัฒน์  จันทรจำนง  และได้รับอาจารย์แพทย์เพิ่มขึ้นอีก  1 ท่าน ได้แก่ อาจารย์นายแพทย์วิโรจน์  ตระการวิจิตร  และในปี พ.ศ. 2533  นิสิตแพทย์ได้ขึ้นปฏิบัติการงานในภาควิชาครบทั้ง  3  ชั้นปี (ปี 4-5-6)   ซึ่งในปี พ.ศ. 2534 เดือน มีนาคม นิสิตแพทย์ มศว รุ่นที่ 1 ก็ได้จบการศึกษาออกไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์ใช้ทุนรุ่นแรกของคณะแพทยศาสตร์ มศว  และสามารถปฏิบัติงานรักษาผู้ป่วยทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาในโรงพยาบาลต่าง จังหวัดที่ใช้ทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานของแพทยสภา
ในปี พ.ศ. 2541  เดือนมีนาคม คณะแพทยศาสตร์  มศว  ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลตำรวจ  ในการฝึกอบรมนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 เป็นปีแรกโดยส่งนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 จำนวน 18 คน ไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลตำรวจตลอดปีการศึกษาโดยไม่กลับมาปฏิบัติงานที่วชิร พยาบาล  จึงได้แต่งตั้งให้แพทย์ที่โรงพยาบาลตำรวจเป็นอาจารย์พิเศษของคณะแพทยศาสตร์ มศว ด้วยเช่นเดียวกับที่วชิรพยาบาล ในภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา มีนิสิตแพทย์ มศว ชั้นปีที่ 6  ขึ้นปฏิบัติงาน กลุ่มละ 3 คน เป็นระยะเวลา 60 วันนับเป็นสถานที่แห่งที่สองถัดจากภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาวชิรพยาบาล
       ต่อมา ในปี พ.ศ. 2543  เดือน เมษายน ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  สยามบรมราชกุมารี ที่ อำเภอองครักษ์ ได้เริ่มรับผู้ป่วยในเป็นครั้งแรก  ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา  จึงได้ส่งนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6  ซึ่งหมุนเวียนมาปฏิบัติงาน  ไปปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีด้วย  โดยสลับกันไปครั้งละ 3 คน คนละ 2 สัปดาห์  โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของอาจารย์ประจำภาควิชาที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีสองท่าน คือ อาจารย์นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์ และอาจารย์นายแพทย์เกษม เรืองรองมรกต ซึ่งได้มาพัฒนาด้านการบริการเพื่อรองรับการเรียนการสอนตั้งแต่ปลายปี 2542  จึงนับเป็นแหล่งที่สามในการฝึกอบรมถัดจากวชิรพยาบาลและโรงพยาบาลตำรวจ
       ในปี พ.ศ.2545 เดือนเมษายน คณะแพทยศาสตร์ มศว ได้ย้ายสถานที่ปฏิบัติงาน มาที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างเต็มรูปแบบ โดยสอนนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ทุกภาควิชาที่ศูนย์การแพทย์ ฯ ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาจึงได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ทั้งหมด ณ อาคารศูนย์การแพทย์ฯ มีนิสิตแพทย์ ปี 4 รุ่นแรกที่ใช้สถานที่ใหม่  จำนวน 88 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน หมุนเวียนกันมาปฏิบัติงาน จัดห้องเรียนภาคบรรยายและห้องประชุมภาควิชาที่ชั้น 8 ห้องเรียนหัตถการ ห้องคลอดและห้องผ่าตัดที่ชั้น 3 ห้องตรวจผู้ป่วยนอกฝากครรภ์และผู้ป่วยนอกนรีเวชที่ชั้น 2 ใช้ระยะเวลาเรียนทั้งหมด 11สัปดาห์ ส่วนนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ยังคงใช้สถานที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์ ฯ วชิรพยาบาลและโรงพยาบาลตำรวจ เช่นเดิม จนในปี 2550 การเรียนการสอนของนิสิตแพทย์จึงย้ายฐานการสอนออกจากวชิรพยาบาล เหลือเฉพาะโรงพยาบาลตำรวจที่เป็นสถาบันสมทบเท่านั้น และมีการเพิ่มการรับนิสิตเพิ่มขึ้นจนเป็นปีละ 120 คน การวางแผนการรองรับการเพิ่มจำนวนของนิสิตแพทย์ได้มีการเตรียมศูนย์การแพทย์ ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน เพื่อร่วมเป็นสถาบันสมทบอีกแห่งหนึ่งในปี 2551 และได้ส่งนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ไปหมุนเวียนในปี 2552  ซึ่งทำให้นิสิตแพทย์ได้รับการฝึกทักษะและดูแลผู้ป่วยที่หลากหลายขึ้น
การพัฒนาการเรียนการสอนหลังปริญญาก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จนในปี 2552 ได้รับการรับรองหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา(หลัก สูตรแพทยสภา 42 เดือน) โดยมีการฝึกอบรมร่วมกับสถาบันสมทบคือ โรงพยาบาลภูมิพล
       สำหรับการพัฒนาด้านอาจารย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เรื่อยมา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ได้รับสมัครและบรรจุอาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ   โดยจากเดิมมีจำนวนเพียง 4 ท่าน จนปัจจุบันมีจำนวนอาจารย์แพทย์ทั้งหมด  14  ท่าน และได้มีการสนับสนุนให้คณาจารย์ในภาควิชาได้ไปอบรมศึกษาต่อในต่างประเทศ เพื่อรองรับหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติในอนาคต
       เมื่อมีการย้ายการเรียนการสอนมาที่ศูนย์การแพทย์ ฯ มีการแต่งตั้งหัวหน้าภาคของภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาจากอาจารย์แพทย์ที่ ปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์ ฯ  ดังนี้
      1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์วิเชียร มโนเลิศเทวัญ
      2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
      นอกจากงานการเรียนการสอนนิสิตแพทย์แล้ว  ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ยังดำเนินงานตรวจรักษาผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทางสูติศาสตร์นรี เวชวิทยา มีการเปิดให้บริการคลินิกเฉพาะทาง คลินิกครรภ์เสี่ยงสูง คลินิกมะเร็งนรีเวช คลินิกวัยทอง ศูนย์เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ คลินิกนอกเวลาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา มีการส่งเสริมการทำวิจัยของทั้งอาจารย์ แพทย์ใช้ทุน และบุคลากรในภาควิชาอย่างต่อเนื่องและจัดอบรมฟื้นฟูความรู้ทางวิชาการเป็น ประจำร่วมกับการจัดประชุมประจำปีของคณะ  และยังส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมดีงามของไทยโดยจัดงานวันแม่เป็นประจำ ทุกปีตั้งแต่ปี 2548 เพื่อส่งเสริมให้โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโรงพยาบาลสายใยครอบครัว เพื่อให้ได้มาตรฐานสากลสมตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะแพทยศาสตร์ มศว ที่ตั้งไว้


Page 2 of 2