หลักสูตร
รายวิชาที่จัดการเรียนการสอน/มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต
ภาควิชานิติเวชศาสตร์ ได้กำหนดวัตถุประสงค์รายวิชาให้สอดคล้องตามหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ มศว และเกณฑ์มาตรฐานของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2545 ได้กำหนดความรู้ความสามารถนิติเวชศาสตร์ไว้ ดังนี้
ข้อ 1.5 สามารถตรวจและให้ความเห็น หรือทำหนังสือรับรองเกี่ยวกับผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจำเลย ตามความที่กฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวน องค์กร หรือศาลใน กิจการต่าง ๆ ได้ เช่น หนังสือรับรองสุขภาพ หนังสือรับรองความพิการ หนังสือรับรองการตาย การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนและศาล เป็นต้น
ข้อ 1.6 สามารถชันสูตรพลิกศพ เก็บวัตถุพยานจากศพ ร่วมกับพนักงานสอบสวน ตามที่กฎหมายกำหนดได้ สามารถออกรายงานการชันสูตรพลิกศพ ให้ถ้อยคำเป็นพยานในชั้น สอบสวนและชั้นศาลได้” วิชานิติเวชศาสตร์จึงเป็นวิชาบังคับ ในหลักสูตรแพทยศาสตร์ของทุกสถาบัน การศึกษา
ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
รายวิชา FM 401 นิติเวชศาสตร์ 1 หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทางนิติเวชศาสตร์ในเบื้องต้น ในแง่มุมต่างๆกัน ได้แก่ การชันสูตรพลิกศพและวัตถุพยาน ความ สำคัญของการระบุบุคล สาเหตุการตายที่พบบ่อยในทางนิติเวช ความสำคัญของการตรวจผู้ป่วยยคดี และกฎหมายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพแพทย์
วิธีจัดการเรียนการสอน
เป็นวิชาในภาคทฤษฎี ร่วมกับการเรียนการสอนแบบ PBL และสัมมนากลุ่มย่อย โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ
- การเรียนการสอนเป็นแบบบรรยาย จำนวน 10 หัวข้อย่อย รวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง
- การเรียนการสอนแบบ Problem-base learning (PBL) จำนวนสองครั้ง ใช้เวลา7 ชั่วโมง
ผู้เรียน นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 124 คน
ผู้สอน อาจารย์ประจำ จำนวน 5 คน
วันเวลา ตามตารางการเรียนการสอน
สถานที่ ห้องบรรยาย 1 ชั้น 7 ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จ.นครนายก
วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจและความสำคัญของวิชานิติเวชศาสตร์ เพื่อรองรับการเรียนภาคปฏิบัติในชั้นปีที่ 5 โดยให้มีการเรียนการสอนทั้งแบบบรรยาย ร่วมกับการทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะของ PBL ผสมผสานกับการสัมมนากลุ่มย่อย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน โดยการบรรยายตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อและมีเอกสารประกอบการบ รรยาย จำนวน 15 ชั่วโมง แบ่งเป็น
1. นิติเวชศาสตร์เบื้องต้น จำนวน 4 ชั่วโมง
- ความสำคัญของนิติเวชศาสตร์
- การระบุบุคลเบื้องต้น
- สาเหตุการตายทางนิติเวช
2. สถานที่เกิดเหตุและวัตถุพยาน จำนวน 3 ชั่วโมง
- การตรวจศพและสถานที่เกิดเหตุ ณ ที่ ที่พบศพ
- การประเมินเวลาตาย
- วัตถุพยานทางนิติเวชศาสตร์
3. ผู้ป่วยคดี จำนวน 4 ชั่วโมง
- การตรวจผู้ป่วยคดี
- การตรวจผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
4. กฎหมายและจริยธรรมทางการแพทย์เบื้องต้น จำนวน 4 ชั่วโมง
- กฎหมายเบื้องต้น
- พ.ร.บ.วิชาชีพ และจริยเวชศาสตร์
2. กิจกรรมกลุ่มในลักษณะของ PBL ผสมผสานกับการสัมมนากลุ่มย่อย
จำนวน 7 ชั่วโมง
ให้นิสิตมีความสามารถค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง ทั้งจากตำราวิชาการ อาจารย์ผู้สอน หรือสื่อสาระสนเทศชนิดต่างๆ เพื่อให้นิสิตมีความสามารถในการนำเสนอผลงานการค้นคว้า ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย และสามารถร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มได้ โดยแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น
1. Practice in Clinical Forensic Medicine (PBL1) จำนวน 3 ชั่วโมง
2. Practice in Forensic Medicine (PBL2) จำนวน 4 ชั่วโมง
รูป แบบการเรียน นิสิตจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อย และได้รับมอบกรณีศึกษาล่วงหน้า เพื่อค้นหาคำตอบตามคำถามในแต่ละกรณี และนำคำตอบที่ได้มานำเสนอในที่ประชุม โดยอาจารย์จะร่วมแนะนำแนวทางและอภิปรายสรุป
การประเมินผลการเรียนรู้
1. ประเมินผลจากพฤติกรรมการระหว่างตลอดระยะเวลาที่มีการเรียนการสอน แบ่งเป็น
1. การเซ็นชื่อเข้าเรียน ความตรงต่อเวลา พฤติกรรมระหว่างการเรียนการสอน และการให้ความร่วมมือในการประเมินการเรียนการสอน
2. พฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรมกลุ่ม
2. ประเมินผลการเรียนรู้ โดยอาศัยการวัดผลผ่านข้อสอบชนิดต่างๆ
3.2.1 ข้อสอบปรนัย (MCQ) จำนวน 40 ข้อ
3.2.2 ข้อสอบอัตนัย (Short Answer) จำนวน 10 ข้อ
3.2.3 ข้อสอบอัตนัย ตอบคำถามโดยวิเคราะห์จากภาพถ่าย
(Spot diagnosis) จำนวน 5 ข้อ
รายวิชา FM 521 นิติเวชศาสตร์เชิงปฏิบัติการ 2 หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษา รายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับวิชานิติเวชศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ในแง่มุมที่หลากหลาย อาทิเช่น นิติพยาธิวิทยา นิติเวชคลินิก นิติพิษวิทยา นิติเซโรโลยี เป็นต้น ทั้งยังมีการศึกษาดูงานภาคปฏิบัติ ณ สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้นิสิตมีประสบการณ์เพิ่มเติมจากการเรียนรู้ในภาคทฤษฎี เช่น การตรวจศพ การตรวจผู้ป่วยคดี การตรวจผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เทคนิควิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน ณ สถาบันต่างๆ เป็นต้น
วิธีจัดการเรียนการสอน
แบ่งการเรียนการสอนเป็นสองภาคส่วน ได้แก่
1. การศึกษาภาคทฤษฎี ในรูปแบบการเรียนการสอนแบบบรรยายตามหัวข้อ จำนวน 23 หัวข้อ ครอบคลุมรายละเอียดทางนิติเวชศาสตร์ในทุกแง่มุมที่แพทย์เวชปฏิบัติควรทราบ
2. การศึกษาดูงานเชิงปฏิบัติการ ณ สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อศึกษาดูงานด้านการชันสูตรศพ ผู้ป่วยคดี การเขียนรายงานชันสูตรบาดแผล การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งสอดแทรกเนื้อหาการบรรยายประกอบเพิ่มเติม การศึกษาดูงาน ณ ศาลอาญากรุงเทพใต้ และกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการสัมมนากลุ่มย่อย
ผู้เรียน นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 จำนวน 120 คน แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 20-25 คน ต่อรอบ
ผู้สอน อาจารย์ประจำ จำนวน 5 คน
อาจารย์พิเศษ จำนวน 27 คน
วันเวลา ตามตารางการเรียนการสอน
สถานที่ สัปดาห์ที่ 1 ณ ห้องบรรยาย 1 ชั้น 7 ศูนย์การแพทย์ฯ
สัปดาห์ที่ 2 ณ สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อ ให้นิสิตสามารถนำความรู้ทางด้านนิติเวชศาสตร์ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมต่อไปได้อย่างมีความรู้ ความสามารถ และมีความมั่นใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การเรียนการสอนบรรยายในห้องเรียน โดยการบรรยายตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ และมีเอกสารประกอบการบรรยาย จำนวน 29.5 ชั่วโมง แบ่งเป็น
I. นิติพยาธิ (Forensic Pathology)
1. ทบทวนวิชานิติเวชศาสตร์ การชันสูตรพลิกศพและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
(Review to Forensic Medicine, Medicolegal work and Scene Investigation)
2. การระบุบุคล (Practical in Identification)
3. การบาดเจ็บจากวัตถุไม่มีคมและการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง (Practical in
Blunt force injury and Craniocerebral injury)
4. การบาดเจ็บจากวัตถุมีคม (Practical in Sharp force injury)
5. การบาดเจ็บจากกระสุนปืนและการบาดเจ็บจากวัตถุระเบิดและวินาศภัย
(Firearm injury and Blast Injury)
6. การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร (Transportation injuries)
7. การตายจากการขาดอากาศ (Asphyxial death)
8. การตายจากสาเหตุทางกายภาพ (Fire, Thermal, Electrocution and Lightning
injury)
9. กลุ่มการตายอย่างกะทันหันจากโรคทางธรรมชาติ (Sudden Death due to
Natural Diseases)
10. กลุ่มการตายที่พบในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ (Environmental Death)
11. กลุ่มการตายที่เป็นปัญหาในแง่กฎหมายอื่นๆ (Other Topics in Medicolegal
death)
12. กลุ่มการตายจากการได้รับสารพิษจากพืชและสัตว์มีพิษ (Death from Plants and
Animal Toxins)
13. การเสียชีวิตในเด็กและทารก (Murder of Infants and Children)
II. นิติเวชคลินิก อาชญากรรมทางเพศ กฎหมายและจริยธรรมทางการแพทย์
14.นิติเวชคลินิก (Clinical Forensic Medicine)
15. ความผิดทางเพศ (Practical in Sex Crime)
16. กฎหมายเบื้องต้น (Basic Law)
17. พ.ร.บ.วิชาชีพ และ จริยธรรมวิชาชีพ (Medical Acts and Ethics)
III. นิติพิษวิทยา (Forensic Toxicology)
18. สารกำจัดศัตรูพืช (Practical in Pesticide)
19โลหะหนักและยาที่เกี่ยวข้องทางนิติเวชศาสตร์ (Heavy Metal and Drug related
to Forensic Medicine)
20. แอลกอฮอล์ (Alcohol)
21. ก๊าชพิษและสารระเหย (Toxic gases and Volatile substances)
22. ฝิ่นและอนุพันธ์ฝิ่น (Opiated and Opioid)
23. สารกลุ่มแอมเฟตามีน และสารเสพติดอื่นๆ (Amphetamine and Other Abused
Substances)
24. นิติพิษวิทยาประยุกต์ (Practical in Forensic Toxicology)
2. การศึกษาดูงานเชิงปฏิบัติการ ณ สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อศึกษาดูงานด้านต่างๆ จำนวน 34 ชั่วโมง โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 แนะนำวิชานิติเวชศาสตร์
2.2 ศึกษาการชันสูตรศพ
2.3 ฝึกปฏิบัติงานชันสูตรศพร่วมกับการทำรายงานกลุ่ม
2.4 ฝึกปฏิบัติงานชันสูตรศพร่วมกับการทำรายงานบุคคล
2.5 พิษวิทยา
2.6 นิติจิตเวช
2.7 ชีวเคมี
2.8 การปฏิบัติงานพิษวิทยา
2.9 การปฏิบัติงานภาพเชิงซ้อนและมานุษยวิทยากายภาพ
2.10 การปฏิบัติงานด้านชีวเคมี
2.11 ศึกษาดูงานศาลอาญากรุงเทพใต้
2.12 ศึกษาดูงาน กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2.13 การสัมมนากลุ่มย่อยเรื่องการเขียนรายงานชันสูตร
2.14 การอภิปรายกรณีศพที่น่าสนใจทางนิติเวช
3. การ ฝึกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้ร่วมกับอาจารย์แพทย์เวรประจำวัน ในการตรวจชันสูตรบาดแผลผู้ป่วยคดี ผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการตรวจชันสูตรพลิกศพ ณ ที่ที่พบศพ ตลอดระยะเวลาทั้งสิ้น 2 สัปดาห์ ที่มีการเรียนการสอน
การประเมินผลการเรียนรู้
1. ประเมิน ผลจากพฤติกรรมการระหว่างตลอดระยะเวลาที่มีการเรียนการสอน ได้แก่ การเซ็นชื่อเข้าเรียน ความตรงต่อเวลา พฤติกรรมระหว่างการเรียนการสอน และการให้ความร่วมมือในการประเมินการเรียนการสอน
2.โดยการสังเกตการณ์ของคณาจารย์ เกี่ยวกับความสนใจในการเรียนการสอนและการทำหัตถการ
3. ประเมินผลการเรียนรู้ โดยอาศัยการวัดผลผ่านข้อสอบชนิดต่างๆ
3.2.1 ข้อสอบปรนัย (MCQ)
3.2.2 ข้อสอบอัตนัย (Short Answer)
3.3.3 ข้อสอบอัตนัย ตอบคำถามโดยวิเคราะห์จากภาพถ่าย (Spot Diagnosis)
4. คะแนนจากการทำรายงานกลุ่มและรายงานบุคคล
5. ตัดสินผลการสอบโดยอิงเกณฑ์ตามมาตรฐาน โดยให้เกรด แบบ A B+ B C+ C และ I