admin
Administrator
หลักสูตร
วศฉ 501 เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หน่วยกิต 1(1-0-2)
EMS 501 Emergency Medicine
ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับอุบัติการณ์ ความชุก พยาธิกำเนิด อาการและอาการแสดง การตรวจ การวินิจฉัย และแนวทางการรักษาโรค/กลุ่มอาการ/ภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อยในห้องตรวจฉุกเฉิน (Emergency room) ทางด้านศัลยศาสตร์ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ อายุรศาสตร์ ออร์โธปิดิกส์ เป็นต้น
วศฉ 611 เวชศาสตร์ฉุกเฉินปฏิบัติการทางคลินิก หน่วยกิต 2(0-4-2)
EMS 611 Clerkship in Emergency Medicine
ศึกษาวิชานี้แล้วสามารถตรวจ วินิจฉัย และกำหนดแนวทางการรักษาโรคฉุกเฉินที่พบบ่อยในห้องตรวจฉุกเฉิน (Emergency room) ได้ รู้จักการปรึกษาแพทย์ประจำบ้าน หรืออาจารย์ในด้านการวินิจฉัยและการรักษา ความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานอันได้แก่ เพื่อนนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน อาจารย์และเจ้าหน้าที่พยาบาล มีความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ป่วยโดยเฉพาะกรณีฉุกเฉิน และให้มีการสื่อสารที่ดีต่อผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย
เปิดประวัติ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ศูนย์การแพทย์เริ่มเปิดให้บริการผู้ป่วยนอกในปี พ.ศ.2542 ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้เริ่มให้บริการผู้ป่วยในช่วงนี้เป็นต้นมา ในระยะแรกนั้นมีผู้ป่วยเข้ารับบริการประมาณ 10 คนต่อวัน มีแพทย์ใช้ทุนและพยาบาลให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง มีแพทย์เฉพาะทางแผนกหลักรับปรึกษาโรคตลอดเวลา ในปีพ.ศ. 2547 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพของห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นครั้งแรก ในช่วงนี้เริ่มมีนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ขึ้นปฏิบัติงาน ในรายวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (พศก611) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ วิฑูรย์ อึ้งกิจไพบูลย์ เป็นประธานรายวิชา และมีทีมอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ร่วมกันสอนและดูแล ในปีพ.ศ. 2550 ในช่วงนี้มีการจัดตั้งหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉินเกิดขึ้น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ วิฑูรย์ อึ้งกิจไพบูลย์ เป็นหัวหน้าหน่วยงาน มีอาจารย์แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน 2 ตำแหน่ง ต่อมาปีพ.ศ. 2553 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ วิชิต วิริยะโรจน์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน อาจารย์แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน 3 ตำแหน่ง
ปัจจุบัน แพทย์หญิงนิโลบล ยาทองไชย ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2559 มีอาจารย์แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน 4 ตำแหน่ง แพทย์ใช้ทุน จำนวน 1 ตำแหน่ง และเจ้าหน้าที่สายสนันสนุน จำนวน 1 ตำแหน่ง |