ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ได้กำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหารายวิชาให้สอดคล้องตามหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ และเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภา ดังนี้
รายวิชา จว 301 (PC 301) 2 (2-0)
- ต้องมีความรู้เกี่ยวกับพยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค/ ภาวะ / กลุ่มอาการทางจิตเวชที่พบบ่อยและ / หรือมีความสำคัญในประเทศไทยที่มักเป็นสาเหตุของอาการสำคัญหรือปัญหาที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์
รายวิชา จว 501 (PC 501) 2 (2-0)
- ต้อง มีความรู้ สามารถให้การวินิจฉัย วินิจฉัยแยกโรค / ภาวะ / กลุ่มอาการทางจิตเวชที่พบบ่อยและ / หรือมีความสำคัญในประเทศไทยที่มักเป็นสาเหตุของอาการสำคัญหรือปัญหาที่นำผู้ ป่วยมาพบแพทย์ รักษา ฟื้นฟูสภาพ ให้คำแนะนำและป้องกันได้เหมาะสมและทันท่วงที ตามสถานการณ์และสถานภาพ
- ต้องรู้ข้อบ่งชี้ของการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษและการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางจิตเวช
รายวิชา จว 511 (PC 511) 2 (0-2)
- ฝึกตรวจวินิจฉัย วินิจฉัยแยกโรค ผู้ป่วยจิตเวชในกลุ่มที่พบได้บ่อย ๆ และสามารถให้การรักษาเบื้องต้น ฟื้นฟูสภาพ ให้คำแนะนำและป้องกันได้เหมาะสมและทันท่วงทีตามสถานการณ์และสถานภาพ
ประวัติความเป็นมาของภาควิชาอายุรศาสตร์
ภาควิชาอายุรศาสตร์ได้มีการดำเนินการมาพร้อมกับการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มศว ตั้งแต่ปี 2538 โดยมีสถานที่ตั้งเริ่มแรก ณ กลุ่มงานโอสถกรรม วชิรพยาบาล และมีการย้ายสถานที่ตั้งเพื่อการบริการ การเรียนการสอนและการวิจัยมา ณ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อําเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มศว มีการบริหารงานโดยมีหัวหน้าภาควิชานับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 1 นายแพทย์อุทัย ตู้จินดา ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ 2 มิถุนายน 2529 ถึง 1 ตุลาคม 2532
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 2 แพทย์หญิงมาลี เซ็นเสถียร ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ 2 ตุลาคม 2532 ถึง 30 กันยายน 2540
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 3 ศาสตราจารย์ (พิเศษ)แพทย์หญิงภัทรา คูระทอง
ทําหน้าที่รักษาราชการแทนหัวหน้าภาควิชา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2540 ถึง 29 มกราคม 2541
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 4 นายแพทย์มานิต ลีโทชวลิต ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ 30 มกราคม 2541 ถึง 31 มีนาคม 2545
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สมพร วงศ์อมรธรรม ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ 1 เมษายน 2545 ถึง 31 พฤษภาคม 2547
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 6 นายแพทย์อรุณชัย แสงพานิชย์ ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2547 ถึง 30 กันยายน 2554
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 7 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์มนะพล กุลปราณีต ดํารงตําแหน่งตั้งแต่1 ตุลาคม 2554-2558
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 8 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ดํารงตําแหน่งตั้งแต่1 ตุลาคม 2559-2566
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 9 นายแพทย์ภูมิพันธ์ แสงพานิชย์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 30 มิถุนายน 2567
หัวหน้าภาควิชาคนที่ 10 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 - จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มศว มีอาจารย์ประจําภาควิชารวม 37 คน มีภาระงานทั้งในด้านการเรียนการสอน การบริการ และการวิจัย
ด้านการเรียนการ สอนภาควิชามีระดับการเรียนการสอนทั้งระดับแพทยศาสตร์บัณฑิตและระดับหลังปริญญา สำหรับหลักสูตรระดับหลังปริญญามีอยู่ 2 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ และหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต และที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อขอเปิดหลักสูตรใหม่ได้แก่ หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โดยมีโครงการที่จะเปิดหลักสูตรการฝึกอบรมในสาขาอื่นๆ ต่อไปในอนาคต ในทุกหลักสูตรมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งมีการทบทวน ตรวจสอบ และพัฒนามาตรฐานในด้านการเรียนการสอนอยู่อย่างสมํ่าเสมอและได้ผ่านการรับรองการประกันคุณภาพการศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถาบัน สำหรับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์นั้นมีสถานะเป็นสถาบันหลักโดยได้เริ่มดำเนินการฝึกอบรมตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 โดยมีแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ทั้งหมด 14 รุ่นจนถึงปัจจุบัน
ด้านการบริการ ภาควิชาอายุรศาสตร์มีการให้บริการในระดับตติยภูมิในสาขาวิชาต่างๆ เช่น โลหิตวิทยา โรคปอด โรคไต โรคทางเดินอาหาร โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น มีศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยการเปิดห้องสวนหัวใจซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2555 ศูนย์การล้างไตทางหน้าท้อง และการฟอกเลือด ซึ่งให้บริการให้กับผู้ป่วยในพื้นที่และเป็นศูนย์กลางการรับส่งต่อในเขตสุขภาพ ภาควิชาอายุรศาสตร์ได้เล็งเห็นความสำคัญในด้านการบริการวิชาการ จึงได้ริเริ่มการจัดประชุมวิชาการประจําปีของภาควิชามาตั้งแต่ปี 2553 และรวมถึงการประชุมวิชาการร่วมกับคณะฯ มีการจัดทำสื่อการสอนเพื่อประโยชน์ทางการเรียนรู้ทั้งในระดับบัณฑิตแพทย์และแพทย์ประจําบ้าน เช่น การจัดทำวิดีโอการตรวจร่างกาย การนําสื่อการสอนบรรจุเข้าในการเรียนรู้แบบ e-learning เป็นต้น ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มศว มีการดําเนินงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้าขึ้นเป็นลําดับโดยความร่วมมือร่วมใจของคณาจารย์ในภาควิชา องค์ประกอบต่างๆที่กล่าวมาจึงน่าจะเป็นแนวทางนําภาควิชาและคณะแพทยศาสตร์มศว ก้าวไปสู่ความสําเร็จตามปรัญชา ปณิธาน วิสัยทัศน์และ พันธกิจที่ตั้งไว้ได้