ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

จุดกดเจ็บ "Trigger Point" คืออะไร ?

Trigger point 
.
Trigger Point หรือจุดปวดในกล้ามเนื้อที่เกิดการหดเกร็งจนเป็นก้อนเล็กๆ มีขนาดโตประมาณ 3-6 ซม.และไวต่อการกระตุ้น (Hyperirritability)
.
จุดกดเจ็บ trigger point เป็นความผิดปกติที่พบในกล้ามเนื้อ ที่มีความไวต่อแรงกด อาจจะปวดแผ่ร้าวไปที่จุดอื่นของร่างกาย หรือที่เรียกว่า referred pain เช่น กดที่ไหล่ แต่ไปรู้สึกที่ขมับ เป็นต้นค่ะ นี่คือขั้นร้ายแรงหน่อย ถ้ากดแล้วเจ็บตรงบริเวณที่กดนี่ถือว่าเป็นแบบ local ขั้นต่ำค่ะ
.
เราสามารถกดจนลดขั้นจากขั้นสูงที่มี referred pain มาเป็นขั้น local ก่อนที่จะหายไป ใจเย็นหน่อยเท่านั้นเองค่ะ เพราะอาจจะใช้เวลาหลายอาทิตย์ในการกด
.
การไหลเวียนของเลือดภายในกล้ามเนื้อเป็นปัจจัยกำหนดปริมาณออกซิเจนที่ผ่านเข้าไปในกล้ามเนื้อ เนื่องจากภายในกล้ามเนื้อมีเส้นเลือดแดงขนาดต่างๆแทรกอยู่ 
.
ทีนี้ถ้าเผื่อว่ากล้ามเนื้อหดตัวเป็นเวลานานๆจะจากการออกกำลังกาย จากชีวิตประจำวัน นิสัย ท่วงท่าที่ไม่ดี อะไรก็ตามแต่ จนเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ เกิดแรงกดดันต่อเส้นเลือดที่อยู่ภายใน จนทำให้การไหลเวียนของเลือดและปริมาณออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อลดลง พอเป็นแบบนี้เข้าก็ไปขัดขวางกระบวนการการสร้าง ATP พอปริมาณของ ATP ลดลง กระบวนการการหดตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อและการเก็บแคลเซียมอิออนก็เกิดความบกพร่อง นี่คือต้นกำเนิด การเกิด trigger point ค่ะ
.
ATP มีหน้าที่เก็บพลังงานที่ได้จากกระบวนการสลายอาหาร พอสลายตัวก็จะให้พลังงาน เพื่อที่จะได้พลังงานในการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหว ร่างกายเราต้องสร้าง ATP ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ ขึ้นมาทดแทนพลังงานที่ใช้ไป 
.
ต่อๆ
.
เมื่อเกิดการคั่งของแคลเซียมอิออนในปริมาณสูงการปล่อยแคลเซียมมาอย่างต่อเนื่องจากซาร์โคพลาสมิก เรติคูลัม อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการสร้างงานหรือที่เรียกว่า action potential อย่างตลอดเวลาได้เองในจุดที่เจ็บ
.
Action Potential คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ถูกกระตุ้นจะทำให้เกิด Action Potential ในบริเวณถัดไป มีผลให้ Action Potential เคลื่อนที่ไปตามยาวของเส้นใยประสาทแบบจุดต่อจุดต่อเนื่องกัน เราก็เจ็บต่อไป
.
ภาวะการขาดเลือด หรือขาดออกซิเจนจนทำให้ค่า PH บริเวณ trigger point ลดลง ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้นอีกด้วยค่ะ 
.
สรุปว่าลักษณะของ trigger point จะเหมือนอาการอักเสบของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเป็นจุดๆไป (อาการนี้จะไม่เหมือนตะคริวที่เป็นการเกร็งกล้ามเนื้อทั้งก้อน) ปมกล้ามเนื้อนี้ จะไปขัดขวางการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดบริเวณกล้ามเนื้อนั้นๆ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ (Muscular Metabolic Crisis) และส่งผลให้ปมกล้ามเนื้อพัฒนาใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ 
.
ทีนี้เราจึงต้องรักษาจุด trigger point นี้เมื่อเราพบเจอ เพราะว่าไม่งั้นแล้วเนี่ย อาจจะทำให้เกิดการวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาด หากแพทย์ที่วินิจฉัยไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เจอในหลายๆกรณีเลยค่ะ ที่ก้อน trigger point นี้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อและเส้นเอ็น ทั้งนี้เพราะการแพทย์ส่วนใหญ่ จะมองข้ามอาการปวดกล้ามเนื้อ และไปให้ความสำคัญกับระบบกระดูก ข้อต่อ และเส้นประสาท 
.
นอกจากนี้แล้วแพทย์เฉพาะทางกล้ามเนื้อสมัยใหม่บางกรณี ก็คุ้นเคยกับการรักษาที่ใช้การฉีดยาและผ่าตัดเพื่อที่จะแก้ปัญหา โดยมองข้ามไปว่าวิธีดังกล่าวเป็นการทำลายสมดุลในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงให้กับคนไข้โดยไม่จำเป็น
.
ข้อจำกัดของการกด trigger point ก็มีหลายอย่างเหมือนกันค่ะ คือต้องทำโดยที่มีความชำนาญและประสบการณ์สูง ไม่งั้นก็อาจเห็นผลไม่ชัดเจน หรือหาตำแหน่งของ trigger point ไม่เจอ 
.
ข้อจำกัดอีกอย่างคือ เจ็บค่ะ เจ็บมากด้วยเวลากด 
.
เราใช้โฟมโรลในการหาก้อนนี้ก็ได้ค่ะ ตรงที่เจ็บที่สุดที่เราสะดุดนั่นแหละค่ะ
.
วิธีการกดคือ ค่อยๆกดบริเวณกล้ามเนื้อเหนือจุดกดเจ็บ(ยังไม่ใช่จุดที่เราเจ็บ)เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบๆคลายตัว มีเลือดมาเลี้ยงรอบๆก่อน จะได้ลดอาการปวดและพอเริ่มคลาย ก็จะเริ่มกดไปที่จุด trigger point นั้นให้คลายตัว ให้เลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงจุด trigger point นั้นๆได้ 
.
หลังจากกดแล้ว ดื่มน้ำเยอะๆ นอนพักเนอะๆ เว้นซัก 2-3 วันเป็นอย่างน้อย ก่อนที่จะกดซ้ำสัก 3-4 ครั้ง จุด trigger point นี้ก็จะค่อยๆหายไปซึ่งการกินยา หรือ การนวด จะไม่ได้แก้ไขตรงจุดนี้
.
สำคัญที่สุด คือ เมื่อรักษาหายแล้ว จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะในการทำงาน ยืน เดิน นั่ง นอน ใช้คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำค่ะ

 

ยืดกล้ามเนื้อลดอาการบาดเจ็บ

 

Credit By.... www.Befitandeatwell.com

หมวดหมู่รอง

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page