ZT Maju - шаблон joomla Продвижение

ทำไม “วัณโรค” ต้องเป็นที่ปอด?

 

13-1

ส่วนใหญ่ผู้คนจะรู้จักว่า โรคนี้เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นที่ปอด จากนั้นจะเกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เหมือนตามภาพยนต์ ละครต่างๆ สุดท้ายก็จะกลายเป็น “วัณโรคปอด” เหตุผลที่เรามักจะเรียกแบบนี้ เพราะว่าเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่มักจะติดต่อผ่านทางลมหายใจ ทำให้เชื้อมักเกิดที่ปอดเป็นอย่างแรก ฉะนั้นจึงกลายเป็นอาการที่ทุกคนรู้จักกัน

ปัจจุบันวัณโรคสามารถเกิดการติดเชื้อที่อวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น เยื่อหุ้มสมอง เนื้อสมอง เยื่อหุ้มหัวใจ กระดูกสันหลัง ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง มดลูก อัณฑะ หรืออาจจะบอกได้ว่าไปได้ทุกส่วนของอวัยวะในร่างกาย เชื้อตัวนี้เราเรียกว่าเป็นลักษณะของ เชื้อโรคเลียนแบบ (Great Imitator) คือสามารถเลียนแบบโรคอื่นๆ ได้หลายโรค

เชื้อแบคทีเรียของวัณโรคปอดนั้นแตกต่างจากเชื้อแบคทีเรียทั่วๆ ไป คือ สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี มีการติดต่อผ่านทางลมหายใจ และยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก กลุ่มผู้ที่ติดเชื้อ HIV ที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะพบว่าตัวเองมีเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ หรือคนไข้อาจจะรู้ตัวเองว่ามีเชื้อ HIV ในภายหลัง จากการที่มีอาการของวัณโรคก็เป็นไปได้

ส่วนใหญ่คนเราที่ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ก็อาจจะมีเชื้อวัณโรคนอนอยู่ในร่างกาย แต่ไม่แสดงตัวออกมาเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันของร่างกายกดไว้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HIV จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง เชื้อวัณโรคก็จะออกมาก่อโรคได้ทุกอวัยวะตามที่กล่าวข้างต้น

อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ใช้ยาเคมีบำบัด ผู้ที่เป็นมะเร็ง ผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ก็มีโอกาสติดเชื้อวัณโรคเพิ่มมากขึ้น แม้แต่คนที่ดูเหมือนเป็นคนปกติแข็งแรงดีก็พบว่ามีการติดเชื้อวัณโรคที่ปอด หรืออวัยวะต่างๆ ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเชื้อโรคมีการอุบัติใหม่ จากเดิมที่ว่าเกือบจะหายไปแล้ว พอมีการระบาดของเชื้อ HIV มากขึ้นเชื้อวัณโรคก็กลับมาใหม่ ยังไม่นับรวมกับเชื้อที่ดื้อยาที่มีมากขึ้นด้วยและการรักษาก็ยุ่งยากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า

อาการที่น่าสงสัยว่าเราจะติดเชื้อวัณโรคปอดมีได้หลายแบบ ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการไอ มีแต่ไข้ต่ำๆ ในช่วงบ่าย เย็น หรือกลางคืน มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวง่าย น้ำหนักลด ไม่มีแรง ทานไม่ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะคิดว่าตัวเองทำงานหนัก ไม่ได้พักผ่อน ไม่ได้นึกถึงว่าตัวเองจะเป็นวัณโรคปอดหรือปล่าว หากมีอาการดังกล่าวที่ว่านี้ หรือมีญาติ มีเพื่อนเป็นวัณโรค แนะนำให้มาตรวจกับแพทย์ก็จะสามารถทราบได้ ไม่ควรปล่อยไว้นานๆ เพราะโรคนี้ถือว่าอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตได้

ขอขอบคุณข้อมูลและคำแนะนำจาก: อ.นพ.ประวัฒน์ จันทฤทธิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ และ อ.ดร.นพ.ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร กลุ่มสาขาระบาดวิทยาคลินิกและชีวะสถิติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา: รายการพบหมอรามา ช่วง ลัดคิวหมอ วันที่ 1 มิ.ย. 2559 https://youtu.be/OKf2SFDcgYw

การประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 15

การประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 15

 

การประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 15 เรื่อง “นโยบายควบคุมยาสูบ กับ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)” Tobacco Control Policies and Sustainable Development Goals
ระหว่างวันที่ 27-29 กรกฎาคม พ.ศ.2559 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

  • เปิดรับบทคัดย่อ ถึงภายในวันที่ 26มิถุนายน 2559
  • ประกาศผลการพิจารณา ภายใน 5กรกฎาคม 2559
  • ลงทะเบียนเข้าประชุม ภายใน 15 กรกฎาคม2559
  • ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท (สำหรับนักเรียน นักศึกษา : 500 บาท)

เนื้อหาการประชุม

  1. อภิปราย “นโยบายควบคุมยาสูบ กับ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
  2. Guest speaker by Kristu Jayanti เติมพลังชีวิตในการทำงาน
  3. นำเสนองานวิจัยสร้างความรู้ใหม่, งานวิจัยนวตกรรมระดับพื้นที่, งานวิจัยระดับจังหวัด
  4. นำเสนอต้นแบบการดำเนินงานควบคุมยาสูบใน Setting ต่างๆ
  5. นำเสนอความก้าวหน้าแผนยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแห่งชาติ
  6. ถอดบทเรียน อุปสรรคการผลักดัน พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  7. การส่งใบสมัครและบทคัดย่อสำหรับนำเสนอผลงานวิจัยการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยและโปสเตอร์เพื่อการควบคุมยาสูบ (Pre-conference)ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมดเขตภายในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2559 สำหรับผู้ที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอผลงาน จะได้รับการแจ้งยกเว้นค่าลงทะเบียน และผู้ที่ได้รับการตอบรับซึ่งมาจากต่างจังหวัดสามารถเบิกค่าที่พักและค่าเดินทางได้
  8. สมัครเข้าร่วมประชุม : อ่านกำหนดการและ download ใบสมัครได้ทางเวบไซด์ ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2559 ทางโทรสาร 0-2354 - 5347 หรือ E-mail :  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ ส่งไปรษณีย์มาที่ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ วิทยาเขตราชวิถี มหาวิทยาลัยมหิดล 420/1 อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 5 ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หรือกรอกทาง www.trc.or.th ได้ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคมพ.ศ 2559

การชำระเงินค่าลงทะเบียน : 1,500 บาท (สำหรับนักเรียน นักศึกษา : 500 บาท)

"ไทยไร้ควัน" แอปพลิเคชั่นเลิกบุหรี่

 เปิดตัวแอปพลิเคชั่นเลิกบุหรี่แรกของไทย “ไทยไร้ควัน”  สสส. ร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพฯ พัฒนานวัตกรรมช่วยเลิกบุหรี่

 เข้าถึงทุกที่ ทุกคนทั่วไทย หลังพบสิงห์อมควันอยากเลิกบุหรี่ 6 ล้านกว่าคน อยากเลิกบุหรี่แต่ทำไม่สำเร็จ 

                                                                    

 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวเปิดตัวแอปพลิเคชั่น “ไทยไร้ควัน” แอปพลิเคชั่นช่วยเลิกบุหรี่แรกของประเทศไทย 

โดย ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า บุหรี่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพก่อให้เกิดโรคมากมายโดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของ สสส. ในการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชน โดย สสส. มีแผน​ควบคุมยาสูบ ทำงานทั้งผลักดันด้านนโยบายสาธารณะ สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย ​พัฒนางานวิชาการและรณรงค์สังคมให้ตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่

นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลด ละ เลิกบุหรี่ในที่สุด "การสนับสนุนการให้บริการเลิกบุหรี่ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้คนที่สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันประชาชนใช้สมาร์ทโฟนและแทบเล็ตที่เข้าถึงข้อมูลเข้าสารได้

อย่างรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชั่นหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ สสส. จึงมีแนวคิดพัฒนาแอปพลิเคชั่น​เพื่อสนับสนุนการให้บริการเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพที่เข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่ม ทุกวัย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการเลิกบุหรี่มากขึ้น

และถือเป็นแอปฯ เลิกบุหรี่แรกของประเทศไทย" ดร.นพ.บัณฑิต กล่าว

 

ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา รองผู้จัดการโครงการพัฒนาบุคลากรแกนนำและโครงข่ายบริการเลิกเสพยาสูบระดับชาติ สสส. กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้สูบบุหรี่ 12 ล้านคน จากการสำรวจเมื่อปี 2557 พบว่า มีผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่ประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งการเลิกบุหรี่ด้วยตนเองมีอัตราการเลิกสำเร็จอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ช่องทางในการช่วยเหลือผู้เลิกบุหรี่ที่มีอยู่ขณะนี้ยังให้บริการไม่เพียงพอและคนสูบบุหรี่อีกจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงการให้บริการโดยสายด่วนช่วยเลิกบุหรี่ 1600 สามารถให้บริการได้ 5 หมื่นสายต่อเดือน มีอัตราการช่วยให้เลิกบุหรี่ได้นานเกิน 6 เดือนสำเร็จ 40% และคลินิกฟ้าใส สามารถให้บริการได้ปีละหมื่นราย มีอัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จ 38% 

ผศ.นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า ช่องทางเลิกบุหรี่ที่มีอยู่จำกัด จึงเป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมที่เข้าถึงประชาชนได้ง่ายและสะดวก โดยพัฒนาแอปพลิเคชั่นสนับสนุนการให้บริการเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพให้บริการผ่านสมาร์ทโฟน และแทบเล็ตชื่อว่า แอปพลิเคชั่น “ไทยไร้ควัน” สำหรับประชาชนทั่วไปเป็นเครื่องมือนำทางในการเลิกบุหรี่แบบง่ายๆ ดาวน์โหลดได้ฟรีใน​ระบบปฏิบัติการ Andriod และ IOS​ นอกจากนี้ ยังอีก 2 แอปฯ ที่ยกระดับคุณภาพการให้บริการเลิกบุหรี่แก่ประชาชน

1.แอปพลิเคชั่น “​คลินิกฟ้าใส” ​สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ใช้วิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการในคลินิกฟ้าใสทั่วประเทศแบบ real-time และ

2.แอปพลิเคชั่น “Handbook of Smoking Cessation (for Provider)” 

สำหรับบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ ใช้เป็นคู่มือเพิ่มความรู้แบบง่ายๆ ในการให้บริการเลิกบุหรี่แก่ผู้ที่รับบริการ โดยสองแอปฯ นี้ ดาวน์โหลดได้ใน​ระบบปฏิบัติการ Andriod เท่านั้น “แอปฯ ไทยไร้ควัน เสมือนเป็นแผนที่นำทางหรือจีพีเอสให้เลิกบุหรี่ได้ แม้จะมีการสนทนาโต้ตอบกันน้อยกว่าการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์หรือการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่จะเป็นเป็นตัวช่วยให้แก่ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ ได้เริ่มต้นเลิกบุหรี่ด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธีมากขึ้นและจะนำไปสู่การเลิกบุหรี่อย่างจริงจังด้วยบริการอื่นๆต่อไปหากจำเป็น นอกจากนี้ ​​ยังมีแอปฯ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา​ คือ แอปฯเพื่อใช้ส่งต่อผู้สูบบุหรี่ที่บำบัด โดย สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 ร้านยาปลอดบุหรี่และคลินิกฟ้าใส เพื่อให้เข้ารับการบำบัดได้ง่ายขึ้น คาดว่าจะพัฒนาเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน 2559 และแอปฯ Online web-based Self-study เพื่อใช้สอนนิสิตแพทย์ปีที่ 6 และนิสิตักศึกษาวิชาชีพสุขภาพต่างๆในการให้การบำบัดผู้สูบบุหรี่ คาดว่าจะพัฒนาเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2559” ผศ.นพ.สุทัศน์ กล่าว

 

นายวิทยา อัศวเสถียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอพไพ จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่น กล่าวว่า แอปฯ ไทยไร้ควัน มีรูปแบบการใช้งาน คือ

1.รวบรวมข้อมูล เทคนิค คำแนะนำการเลิกบุหรี่ที่ถูกต้องและได้ผลสำหรับการเลิกบุหรี่

2.มีระบบการเตือนความจำ เช่น ช่วงเวลาที่มักเผลอสูบบุหรี่หลังทานอาหาร เข้าห้องน้ำ และเมื่อเข้าสู่พื้นที่ที่เคยสูบบุหรี่ จะมีข้อความเตือนขึ้นเพื่อย้ำว่าอยู่ในช่วงเลิกบุหรี่

3.บันทึกข้อมูลว่ามีการสูบุหรี่หรือไม่ จะทำให้ทราบว่า ปัจจัยไหนที่ทำให้กลับมาสูบบุหรี่อีก

4.ถ่ายรูป วิดีโอแชร์ข้อมูลไปยังเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่น เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ จะทำให้เกิดการโต้ตอบกับผู้อื่น ในประเด็นของเทคนิคที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ รวมทั้งทำให้ได้รับกำลังใจจากผู้อื่น

5.กดโทรไปยังสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 เพื่อขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้ฟรี และ 

6.ค้าหาคลินิกฟ้าใสใกล้บ้านเพื่อติดต่อขอรับบริการเลิกบุหรี่

ดังนั้น แอปฯไทยไร้ควัน จึงนับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้สูบบุหรี่ที่ประสงค์อยากเลิก เน้นความสะดวก ใช้งานง่าย เพียงแค่พลิกฝ่ามือขึ้นมา กดใช้งานแอปฯนี้ ก็เสมือนมีผู้เชี่ยวชาญประจำตัวคอยชี้แนะวิธีการง่ายๆในการเลิกบุหรี่ได้แล้ว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaihealth.or.th/Content/30688-%22%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7

%E0%B8%B1%E0%B8%99%22%20%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B8%B

1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88.html                 

คลังเอกสารคุณภาพฝ่ายการพยาบาล

2-10-2566 10-28-57

ขั้นตอนการเข้ารับบริการ

flow

Zo2 Framework Settings

Select one of sample color schemes

Google Font

Menu Font
Body Font
Heading Font

Body

Background Color
Text Color
Link Color
Background Image
 
Top of Page